ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 32' 17.9999"
16.5383333
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 3' 18"
104.0550000
เลขที่ : 139673
ผญา : ภาษิตโบราณอีสาน จังหวัดกาฬสินธุ์
เสนอโดย นางจันทร์ฉาย สำราญเนตร วันที่ 17 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : กาฬสินธุ์
1 4620
รายละเอียด

ผญา:ภาษิตอีสาน

คำว่าผญามาจากปัญญาหรือปรัชญา ซึ่งหมายถึงความฉลาด ความรอบรู้ หรือ รู้รอบ ผญาหรือปัญญานี้ มีนักปราชญ์โบราณอีสานได้กล่าวไว้ว่าเงินเต็มพาบ่ท่อผญาเต็มปูมพระพุทธเจ้ายกย่องปัญญาว่ามีปัญญาดีกว่ามีทรัพย์ เพราะทรัพย์มีมากเท่าไหร่ เมื่อใช้แบบไม่มีสตินานเข้าก็หมดไป ส่วนปัญญายิ่งใช้ยิ่งเกิดแสงสว่างที่เกิดจากพระอาทิตย์ พระจันทร์ ไฟฟ้า ตะเกียงหรือแสงสว่างอื่นใด ก็สู้แสงสว่างของปัญญานั้นไม่ได้เพราะแสงปัญญาส่องทลุปรุโปร่งไปในภูเขาเลากาในฟ้าใต้ดิน ส่องไปทุกหนทุกแห่งไม่มีอะไรขัดขวางได้ ปัญญาเป็นแก้วสารพัดนึก

ผญาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทางภาษาของอีสาน ที่ได้มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สาเหตุความเป็นมาของ “ผญา”สันนิษฐานว่า คงเนื่องมาจากศาสนา ซึ่งเป็นคำสั่งสอนให้คนประพฤติดีประพฤติชอบ และเนื่องมาจากธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและระเบียบสังคมไทยเราตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าคนไทยในโบราณเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน มีนิสัยร่าเริงและละเอียดอ่อน โดยสังเกตจากวรรณคดีอีสานส่วนมากแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง โดยเฉพาะคำกลอนหรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโคลงสารหรือกลอนอ่าน เช่น เรื่องสังข์สินชัย กาฬเกด ท้าวก่ำกาดำ พระสุนธนาชาดก จำปาสี่ต้น ผาแดงนางไอ่ นางผมหอม เป็นต้นและคนในสมัยโบราณเมื่อพูดจากันบางครั้งจะพูดคล้องจองกัน ผู้เฒ่าผู้แก่คนสูงวัยจะพูดจาสั่งสอนใครก็มักจะพูดเป็นภาษิต คติเตือนใจ เป็นคำคล้องจอง สั้นบ้างยาวบ้างตามความสามารถของแต่ละบุคคล แม้แต่การอวยพร การพูดจาทักทายของหนุ่มสาวมักไม่พูดออกมาความในใจออกมาตรง ๆ เป็นคำพูดธรรมดา แต่จะนิยมพูดเป็นคำคล้องจอง เป็นคำพูดที่แสดงความโดยนัย ผู้เป็นคู่สนทนาต้องตีความเอง ดังตัวอย่างบทผญา ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้

ไผว่ากาฬสินธุ์ฮ้าง ซิจูงแขนเพิ่นไปเบิ่ง วัฒนธรรมมีมากล้น มันซิฮ้างได้จั๋งใด๋

ความหมาย อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา จนกว่าจะได้เห็นด้วยตาของตนเอง

มีความฮู้เต็มพุงเพียงปาก สอนโตเองบ่ได้ไผซิย่องว่าดี” ความหมาย มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

ครั้นเจ้าได้ขึ้นขี่ซ้าง กั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าสุลืมชาวนาผู้ขี่ควายคอนกล้าความหมาย อย่าลืมชาติกำเนิดตนเอง เมื่อได้ตำแหน่งสูงขึ้น

บัวกะอาศัยน้ำ ปลากะเพิงวังตม บ่าวกับนายกะเพิ่งกันโดยด้าม

อันว่าเสือสาง ซ้าง กวาง ฟานอาศัยป่า ป่าอาศัยสิ่งฮ้ายจึงหนาแน่นมืดมุง

เฮาอาศัยพวกพ้องน้องนุ่งสหายเกลอ เขากะอาศัยเฮาจึงเป็นเมืองบ้าน

คนหากอาศัยกันฮวมกันเป็นหมู่ บ่มีไผอยู่ฝั่งทอนท้อผู้เดียวได้แหลว

ความหมาย พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน หรือ การทำงานแบบบูรณาการ

คำสำคัญ
กาฬสินธุ์ ผญา
สถานที่ตั้ง
บ้านบุงคล้า
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕ บ้านบุงคล้า ถนน อำเภอโพนทอง - กุฉินารายณ์
ตำบล บัวขาว อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จากการสัมภาษณ์นายเพิ่ม รัฐไชย
บุคคลอ้างอิง นางจันทร์ฉาย สำราญเนตร อีเมล์ tawanchai_9005@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถนน กาฬสินธุ์
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46000
โทรศัพท์ 034815805-6 โทรสาร 043-811-394
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่