หนังสือบุดขาว ลักษณะทั่วไป เป็นพับซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีดำ
(เก่ามาก) ขนาดกว้หนังสือบุดขาว ลักษณะทั่วไป เป็นพับซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีดำ
จังหวัดนครศรีธรรมราชหลักฐานทางวัฒนธรรมในลักษณะนี้บ่งบอกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในอดีตผู้คนใช้ภูมิปัญญา ในการรวบรวมเก็บรักษาข้อมูล สำหรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ในระยะเวลาอันยาวนาน
หนังสือบุด ก็คือ สมุดข่อย หนังสือไทย หรือกระดาษสา (พับสา) นั่นเอง เพียงแต่ปักษ์ใต้เรียกว่า หนังสือบุด แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ บุดดำ และบุดขาว
บุดดำ จะเป็นวิชามาร เช่น ไสยเวทย์ มนต์ดำ ฯลฯ
บุดขาว จะเป็นวิชาเทพ เช่น ตำรายา การแพทย์โบราณ ฯลฯ
ส่วนอักษรที่ใช้ ถ้าไม่เป็นอักษรขอม ก็เป็นอักษรไทยโบราณ โดยมีรูปยันต์และภาพประกอบเป็นบางหน้าบางตอน...
หนังสือบุดดำบุดขาวนี้ มักจะวางไว้ที่บริเวณโต๊ะหมู่บูชา หรือบางครั้งก็อาจอยู่บนหิ้งสูงขึ้นไป
สมัยแรกบวชผู้เขียนไปวัดใด เมื่อเจอก็มักจะนำมาเปิดดูด้วยความอยากรู้อยากเห็นเสมอ... ที่เป็นอักษรขอมก็ตั้งไว้ที่เดิม ส่วนที่เป็นอักษรไทยผู้เขียนมักจะมานั่งแกะอ่าน แต่ก็อ่านได้นิดหน่อยแล้วก็เก็บไว้ที่เดิม.... ประมาณนั้น
เฉพาะหนังสือบุดดำที่เป็นอักษรไทย ผู้เขียนก็เคยอ่านหลายฉบับ แต่เพราะทั้งอักษรและภาษาเป็นของโบราณ จึงไม่ค่อยเข้าใจนัก... ทั้งบางตอนก็ฉีกขาดหรือลบเลือนไปบ้าง การทำความเข้าใจจึงยากยิ่งขึ้น...