กระดาษสา บ้านไร่
สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 86/2 ม.5 ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120
โทร 086 9139524, 053311530
เดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยรถส่วนตัวตามถนนสายชม.- ฮอด เลี้ยวซ้ายสี่แยกไฟแดงตลาดมะจำโรงขับตรงไปตามทางเรื่อย ๆ ประมาณ 3 กม.จะมีป้ายทางแยกเข้า อบต.มะขุนหวานเลี้ยวไปตามป้ายทางไปอบต. ทางเข้าที่ทำการกลุ่ม จากเดิมประธานกลุ่ม คือ นาง นงนุช แก้วเรือนดีและ นาง นงลักษณ์ แก้วเรือนดี เป็นบุคคลที่ชอบงานในด้านหัตถกรรมมาก่อนประกอบกับที่บ้านได้คลุกคลีกับการทำกระดาษสามาพร้อมกับการเจริญเติบโตก็ว่าได้จึงมีความผูกพันธุ์คุ้นเคยกับกระดาษสาเป็นอย่างดี หลังจากที่มารดาได้เสียชีวิตไปทางบ้านจึงได้หยุดทำกระดาษสาเป็นแผ่นและเปลี่ยนมาทำผลิตภัณฑ์แทนโดยซื้อกระดาษสาจากแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและมาตรฐานจากในท้องถิ่นซึ่งในท้องถิ่นก็มีการผลิตกันอยู่แล้วเนื่องจากเป็นอาชีพที่เก่าแก่ ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านเนื่องจากมีใจรักงานในด้านศิลปะจึงได้คิดออกแบบผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาขึ้นและได้ทำไประยะหนึ่งมีผู้ที่สนใจและแวะเวียนมาไถ่ถามและหาซื้อติดมือไปเป็นของฝากที่ระลึกจึงเป็นจุดที่ทำให้ผู้ที่สนใจอยากเข้ามาร่วมทำบ้างจากนั้นจึงได้จัดตั้งกลุ่มได้มอมหมายให้ประธานกลุ่ม นางนงนุช เป็นผู้ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันป่าตองเพื่อขอจัดตั้งกลุ่มเมื่อสำนักงานพัฒนาชุมชนมาดูงานและการดำเนินงานเบื้องต้นเห็นว่ากลุ่มมีแนวความคิดที่ดีและการรวมตัวเป็นไปอย่างถูกต้องน่าจะได้รับการส่งเสริมให้เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งต่อไปจึงรับจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพสตรีผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 2544 มีสมาชิก 28 คนลงหุ้นเป็นทุนดำเนินการ หุ้นละ 100 บาทจำนวน 28 หุ้น รวมเป็นเงิน 2,800 บาทพร้อมกับการออมเงินของสมาชิกไปพร้อมกันและได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้น
ปัจจุบันทางกลุ่มมีเงินออมรวม 213,425 บาท หุ้นละ50 บาท โดยตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจากการกู้ยืมของสมาชิก คิดดอกเบี้ย.30 บาทต่อระยะเวลาการกู้ยืม 10 เดือนและคิดเป็นอัตราส่วน คือ
- 50 % ปันผลให้สมาชิกกลุ่ม
- 30 % เป็นทุนสำรองของกลุ่ม
- 10 % เป็นทุนช่วยเหลือกิจกรรมชุมชน
- 10 % เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุอุปกรณ์
ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มทำขึ้นมีความละเอียดและประณีตซึ่งหากผู้ที่ไม่มีใจรักงานและขาดความอดทนจะไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพได้เพราะเนื่องมาจากเป็นงานในด้านหัตถกรรมประเภทของใช้ของที่ระลึกเราต้องคำนึงถึงคุณภาพจึงหาสมาชิกที่มีฝีมือ ค่อนข้างยาก ทางกลุ่มก็เลยเห็นว่าแล้วแต่ความสมัครใจของสมาชิกถึงจะ มีสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมน้อยแต่ชิ้นงานก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปีและได้รับรางวัลจากการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด เพราะต้องการสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน
ลักษณะที่โดดเด่นของกระดาษสา อ.สันป่าตอง ต.ทุ่งต้อม ผลิตภัณฑ์เป็นโทนสีธรรมชาติไม่มีการย้อมสีเป็นน้ำตาลทั้งหมด
- เน้นความเป็นธรรมชาติ
- ไม่มีการฟอกสี
- การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองโดยไม่ซ้ำแบบใคร
- มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย
- มีลวดลายที่ละเอียด
- มีความประณีตรูปทรงสะอาด
ขั้นตอนการผลิต
นำปอสาแห้งมาแช่ในน้ำ 1 คืนหรือมากกว่านั้นพอนิ่มล้างน้ำให้สะอาด ตั้งเตาต้มน้ำให้เดือดใส่โซดาไฟ แล้วใส่ปอสาลงไปต้มประมาณ 2 ชม.หมั้นกลับปอสาทุก 30 นาทีหากปอสาสุกให้ตักขึ้นแช่น้ำและล้างให้สะอาดให้หายลื่น วิธีฟอกสีต้มน้ำให้เดือดเติมซิลิเกดและไฮโดเจนน้ำปอสาลงต้มจนขาว
กระดาษที่ใช้จะเน้นสีธรรมชาติที่ไม่มีการฟอกสีสีที่ได้จะเป็นสีน้ำตาลจากต้นกล้วย และขั้นตอนการทำต้องพิถีพิถัน และรูปทรงสวยงามเน้นรูปแบบที่ไม่ซ้ำใครเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มเอง
การควบคุมคุณภาพ ที่ใช้ในการผลิต
การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรวจสอบและควบคุมคุณภาพโดยจะทำการควบคุมตรวจสอบตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการผลิต จนถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนส่งถึงมือลูกค้า
รางวัลผลงาน
1. รางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา พ.ศ.2544
2. OTOP PRODUCTCHAMPION ระดับ5 ดาว ปี พ.ศ.2546
3. OTOP ONE TAMBONONE RODUCT คัดสัน 5 ดาว
4. รางวัลพิเศษ อันดับ สองประกวดพัฒนาแนวคิดพัฒนารูปแบบสุดยอดผลิตภัณฑ์เด่นจังหวัด ( PSO)
5. รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝก‘การรณรงค์ใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ’พ.ศ.2550
6. มผช. 43/2546
7. หนังสือรับรองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย พ.ศ.2545
8. หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 120/2545
9. หนังสือจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548ทะเบียน 6 –50 – 12– 90 /1 –0008
OTOP 5 ดาว มผช. 43/2546