ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 26' 17.9999"
16.4383333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 50' 20"
102.8388889
เลขที่ : 149985
ความเชื่อเกี่ยวกับว่านกุมารทอง
เสนอโดย soonthorn วันที่ 10 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 10 สิงหาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
5 1511
รายละเอียด

ความเชื่อ: ว่าน กุมารทองรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือว่านแสงอาทิตย์ สมัยโบราณนั้นว่านกุมารทองนับว่าเป็นว่านที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเด่นในด้านเมตตามหานิยม เรียกลูกค้า เรียกโชคลาภเข้าร้าน ร้านค้าใดปลูกเลี้ยงไว้ กิจการงานจักเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งยังช่วยป้องกันบ้านเรือน นิยมปลูกคู่กับว่านนางคุ้ม ว่ากันว่าว่านชนิดนี้มีเทวดาเจ้าที่คุ้มครอง ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงจึงนิยมนำไปปลูกไว้ใกล้ๆกับศาลพระภูมิ หากปลูกเลี้ยงและปฏิบัติอย่างถูกวิธี อธิษฐานขอสิ่งใดจะสมดังหมายทุกประการ และหากผู้ใดปลูกเลี้ยงว่านได้เจริญงอกงามเมื่อใดว่านออกดอกจะได้ลาภก้อนใหญ่ หากจะใช้ในด้านคงกระพันชาตรี โบราณว่าให้เคี่ยวดอกว่านกับน้ำมะพร้าว ทาตามเนื้อตัวจะคงกระพันยิ่งนัก ว่านกุมารทองนั้นถ้าจะให้ดีต้องปลูกในวันเกิดของผู้เลี้ยง และก่อนรดน้ำทุกครั้งต้องเสกน้ำด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ

ลักษณะของว่านกุมารทอง: หัว ว่านมีลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ มีจุดสีแดงออกคล้ำแต้มหัวว่านส่วนบนและโคนลำต้นไปจนถึงเกือบปลายยอด เมื่อยังอ่อนจะมีฐานรากสีขาวเป็นแท่นรอง ใบเหมือนใบขนุนแต่ใหญ่กว่าเป็นมันเงาคล้ายว่านมหาลาภ

วิธีปลูกว่านกุมารทอง: เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ปลูกลงดินต้องเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ปลูกลงกระถางต้องทำทางระบายน้ำให้ดี ว่านนี้ควรปลูกในวันเกิดของผู้ปลูก ก่อนรดน้ำควรเสกน้ำรดด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน ร้านสวนนพรัตน์พันธุ์ไม้ ถนน กลางเมือง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จากการสัมภาษณ์นางอมร พุทธชาติ
บุคคลอ้างอิง สุนทร ศรีหนองบัว อีเมล์ soonthorn_7474@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 043 - 245013 โทรสาร 043-245014
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่