ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 3' 31.6595"
15.0587943
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 46' 49.1228"
104.7803119
เลขที่ : 150227
ผ้าไหม ผ้ากาบบัว ชาวบ้านบอน อำเภอสำโรง
เสนอโดย waiphod วันที่ 11 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 15 สิงหาคม 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1192
รายละเอียด

รายละเอียดข้อมูล

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้ากาบบัว บ้านบอน ตำบลบอน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่บ้านบอนหมู่ที่ 2 ตำบลบอน ซึ่งเล็งเห็นในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จึงได้สืบสานการทอผ้าไหมด้วยมือการมัดหมี่ เข็นด้าย การย้อมสี การพัฒนาลวดลายให้สวยงามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้มีการสืบทอดสู่เยาวชนรุ่นหลังและโรงเรียนในชุมชนมีการส่งเสริมให้นักเรียนเล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน ทำให้เกิดการรักและหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นตนเอง และเกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชน

สำหรับการผลิตผ้าไหมกาบบัว มี ๕ ขั้นตอน คือ ๑) การย้อมสี ๒) การเตรียมทางเครือ ๓) การเตรียมทางทอ (ต่ำ) ๔) การเก็บขิด ๕) การต่ำหรือการทอ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเพรีนิยมของแต่ละพื้นที่ สำหรับผ้าไหมกาบบัวบ้านบอนจะมีเอกลักษณ์ คือผ้าไหมลายมัดหมี่ หมี่ขอ

หมี่ขั้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบโดยการประยุกต์ลวดลาย หมี่ขอ ร่วมกับผ้าไหมลายกาบบัวเป็นผ้าไหมกาบบัวลาย หมี่ขอ ซึ่งอำเภอสำโรงเห็นว่าเป็นผ้าที่มีลายเอกลักษณ์คิดค้นโดยชาวอำเภอสำโรงจึงประกาศให้เป็นผ้าลายเอกลักษณ์ของอำเภอสำโรง

สถานที่ตั้ง
ศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๒ ต.บอน ถนน วาริน - กันทรลักษ์
ตำบล บอน อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลบอน
บุคคลอ้างอิง นายไวพจน์ อ่อนวรรณะ อีเมล์ waiphod@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสำโรง
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ ถนน พระภิบาล
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34360
โทรศัพท์ ๐๔๕-๓๐๓๐๙๙
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่