ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 36' 55.4346"
18.6153985
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 53' 53.5121"
98.8981978
เลขที่ : 154559
ชุมชนลัวะ
เสนอโดย paanrada วันที่ 31 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 31 สิงหาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 1624
รายละเอียด

อำเภอสันป่าตอง เป็นอำเภอหนึ่งที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายหนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมหรือที่เรียกว่า“ลัวะ” ซึ่งชาวลัวะมีประวัติความเป็นมาทั้งในรูปแบบตำนานและความรับรู้ของคนในท้องถิ่นว่าเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมตำนานของชาวลัวะที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือตำนานขุนหลวงวิลังคะซึ่งเป็นกษัตริย์ของชาวลัวะที่หลงรักพระนางจามเทวีปฐมกษัตรีย์แห่งนครหริภุญชัยเหตุการณ์นี้เกิดในราวพุทธศตวรรษที่๑๓ผลสุดท้ายขุนหลวงวิลังคะแพ้พระนางจามเทวี และกองทัพชาวลัวะก็แตกพ่ายไปกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆบ้างก็หนีขึ้นเขาโดยปรากฏพบชุมชนชาวลัวะตั้งแต่เชิงดอยสุเทพไปจนถึงอำเภออมก๋อยอย่างไรก็ตามเมื่อพญามังรายทรงสร้างเวียงเชียงใหม่ก็ยังทรงให้เกียรติชาวลัวะในฐานะที่เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะเดิมคือในการเสด็จเข้าเวียงทางประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือก) ทรงให้ลัวะจูงหมาเดินนำเข้าเวียงก่อนธรรมเนียมนี้ยังปฏิบัติมาจนถึงในสมัยพระเจ้ากาวิละหลังจากรวบรวมกาลังพลขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ก็ให้ลัวะจูงหมานำเข้าเวียงทางประตูหัวเวียงดังที่เคยปฏิบัติมาซึ่งเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนลัวะและกลุ่มชนที่เข้ามาอยู่ใหม่

หมู่บ้านชาวลัวะในสันป่าตอง

ปัจจุบันในชุมชนชาวลัวะในพื้นที่อำเภอสันป่าตองมีการกลืนกลายทางวัฒนธรรมมากทำให้ปัจจุบันบางหมู่บ้านที่เคยเป็นชุมชนลัวะมาก่อนไม่มีการพูดสำเนียงแบบลัวะอีกต่อไปอย่างไรก็ตามชาวลัวะในอำเภอสันป่าตองยังมีความเชื่อเรื่องประวัติความเป็นมาของตนแตกต่างกันไปทั้งเรื่องราวจากตำนานฝ่ายผู้นำศาสนาในท้องถิ่นหรือจากเรื่องเล่ามุขปาฐะของกลุ่มตนหมู่บ้านชาวลัวะในอำเภอสันป่าตองที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ด้านภาษาพูดของตนอยู่ ได้แก่บ้านเปียงบ้านหนองปึ๋งบ้านอุเม็งบ้านหัวรินส่วนหมู่บ้านชาวลัวะที่มีการกลายทางวัฒนธรรมบ้างคือไม่พูดสำเนียงลัวะแต่บรรพบุรุษของตนเป็นลัวะได้แก่บ้านทุ่งสะโตกบ้านหนองพันเงินบ้านร้องธารบ้านกิ่วแลหน้อยบ้านกิ่วแลหลวงบ้านใหม่ม่วงก๋อนบ้านดงบ้านขุนคงและบ้านป่าจู้เป็นต้น

ประชากรดั้งเดิมของชุมชนเป็นคนพื้นเมือง เชื้อสายลัวะ ซึ่งตั้งรกรากตามกลุ่มเครือญาติ แต่ปัจจุบันมีบุคคลต่างถิ่นได้เข้ามาอาศัยอย่างถาวร หมู่บ้านป่าจู้ เกิดขึ้นมากว่า ๔๐๐-๕๐๐ ปีมาแล้วเดิมทีเรียกกันว่า หมู่บ้าน ผาจุ๊ เป็นภาษาคำเมือง หมายถึง การที่มีก้องหินขนาดใหญ่มาอยู่ชิดกันเนื่องจากสมัยก่อนสภาพหมู่บ้านเป็นป่าละเมาะชาวบ้านมีปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร “เจ้าศรีหมื่น วณีสอน” ซึ่งในสมัยท่านเป็นนายอำเภอบ้านแม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสันป่าตอง)จึงเรียกประชุมเพื่อตกลงขุดลอกลำเหมือง แต่ในระหว่างที่ขุดลอกลำเหมือง เจอก้อนหินขนาดใหญ่ขวางร่องน้ำ บริเวณนั้นก็เป็นใจกลางของหมู่บ้านป่าจู้ในปัจจุบัน

จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์และเอกสารทางวิชาการหลายเล่ม ตลอดจนได้สัมภาษณ์ผู้รู้และผู้สูงอายุในหมู่บ้าน พบว่าประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การใช้ภาษา และการแต่งกายบางอย่าง พบว่ามีการปะปนผสมผสานไปกับวัฒนธรรมล้านนาของคนเชียงใหม่ ตามยุคสมัยทางสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านป่าจู้
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล มะขามหลวง อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง paanrada ounjan อีเมล์ pugkatoon@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่