ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 30' 55.1664"
14.5153240
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 58.2538"
100.5161816
เลขที่ : 157949
โบราณสถานวัดตะนุ หรือวัดตะนุทรงธรรม
เสนอโดย สำนักศิลปากรที่๓อย วันที่ 13 กันยายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 14 กันยายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 4560
รายละเอียด

โบราณสถานวัดตะนุ หรือวัดตะนุทรงธรรม

ตั้งอยู่ที่ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สิ่งสำคัญประกอบไปด้วย อุโบสถ หอระฆัง และเจดีย์ราย ๓ องค์ โดยมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ปัจจุบันทั้งอุโบสถ เจดีย์และกำแพงแก้วคงเหลือเพียงส่วนฐานเท่านั้น ทางด้านทิศตะวันตกของอุโบสถนอกเขตกำแพงแก้วมีหอระฆังทรงสี่เหลี่ยมซ้อนหลดหลั่นกัน ๔ ชั้น

ประวัติความเป็นมา

โบราณสถานวัดตะหนุไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน แต่จากการดำเนินงานทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุโบราณสถานได้ในสมัยอยุธยาตอนต้น-กลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ โดยโบราณสถานในระยะแรกประกอบไปด้วยอุโบสถและเจดีย์ประธาน ต่อมาจึงได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลายราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ โดยสร้างเจดีย์ราย และกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถและเจดีย์ จากนั้นจึงสร้างหอระฆังเพิ่มเติมราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๓

วัดตะนุ หรือวัดตะนุทรงธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานแล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑ ตอนพิเศษ ๘๐ง วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๐ เป็นโบราณสถานที่มีพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๘๓ ตารางวา

การดำเนินงานทางโบราณคดีได้รับการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีและบูรณะโบราณสถาน เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดตะนุ
ตำบล หันสัง อำเภอ บางปะหัน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
บุคคลอ้างอิง ภัทราวดี ดีสมโชค อีเมล์ pathravaded@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 035242448 โทรสาร 053242501
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่