ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 19' 49.566"
14.3304350
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 46.6014"
100.5296115
เลขที่ : 160749
สะพานประตูเทพหมี
เสนอโดย kosinanon วันที่ 26 กันยายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 26 กันยายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
1 4226
รายละเอียด

สะพานประตูเทพหมีหรือสะพานวานรปัจจุบันอยู่ในบริเวณบ้านพักอาจารย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องฟ้าจำลอง

ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สะพานนี้ก่อด้วยอิฐเป็นวงโค้งรูปกลีบบัว สำหรับเป็นช่องให้เรือผ่านข้ามคลองประตู

เทพหมี เชื่อถนนบ้านแหฝั่งตะวันออกกับถนนพระงามฟากตะวันตก(ถนนบ้านแขกใหญ่)

บริเวณหน้าวัดอำแม ใกล้บ้านเฉกอะหมัด สันนิษฐานกันว่า สะพานวานร มีช่องให้เรือผ่าน

๓ ช่อง จากจำนวนช่องทั้งหมด ๕ ช่อง เป็นสะพานขนาดใหญ่ ความยาวโดยประมาณของ

สะพาน ๑๐-๑๒ เมตร เท่ากับความกว้างของคลอง

เดอ ลา ลูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งได้เดินทางเข้ามายังประเทศสยามในรัชสมัยของ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเรื่องของถนนและสะพานไว้ว่า...ถนน (ในหมู่บ้านชาว

ต่างประเทศ)กว้างและเป็นเส้นตรงในที่บางแห่งก็ปลูกต้นไม้และปูด้วยแผ่นอิฐตะแคง

ถนนส่วนใหญ่มักมีลำคลองควบขนานเป็นเส้นตรงไปด้วย จึงทำให้เปรียบเทียบเมืองสยาม

ได้กับเมืองเวนิช ตามคลองหลอดนั้นมีสะพานเรือกเล็กๆ ไม่สู้มั่นคงนัก ทอดข้ามเป็นอันมาก

บางแห่งก็มีสะพานก่ออิฐถือปูนสูงมาก และฝีมือหยาบเต็มที..(เดอ ลาลูแบร์ ๒๕๑๐,หน้า ๒๖)

ลาลูแบร์ เป็นราชทูตชาวฝรั่งเศสได้เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศสยาม

ในสมัยพระนารายณ์มหาราช และได้เขียนบันทึกรายละเอียดเรื่องต่างๆเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา

ไว้มากมาย

สะพานวานรหรือสะพานเทพหมี เป็นสะพานที่เชื่อมถนนสองสายเข้าด้วยกัน คือ ถนนบ้านแห

ฟากตะวันออก ซึ่งเป็นชุมชนถักแห ข่ายดักปลา กับถนนพระงามฟากตะวันตกเชื่อมต่อกับ

สะพานบ้านดินสอ ก็คือสะพานหน้าวัดบรมพุทธารามในปัจจุบัน และไปจรดถนนศรีสรรเพชญ์

เส้นทางสายนี้น่าจะเป็นเส้นทางสำคัญในประวัติศาสตร์อีกสายหนึ่ง เนื่องจากเป็นถนนมีสถานที่

สำคัญหลายแห่งเช่น วัดอำแม บ้านแขกใหญ่เจ้าเซ็น(เฉกอะหมัด) บ้านเจ้าพระยาพระคลัง

(โกษาปาน) วัดพระงาม วัดบรมพุทธารามเป็นต้น และถนนสายนี้ ถ้าดูจากภาพเขียนกรุงศรีอยุธยา

ซึ่งเขียนขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๒๐๘ และมีการคัดลอกโดยนักเขียนแผนที่ของบริษัท VOC จะเห็นว่า

มีการเชื่อมต่อกับถนนจีน ซึ่งแล่นผ่านชุมชนชาวจีน ทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา โดยแนวถนนนี้

เกือบจะขนานกับกำแพงเมือง ผ่านคลองนายก่าย (คลองมะขามเรียง) ศาลเจ้าแม่ทับทิมไปถึง

วัดหอรัตนไชย

สะพานประตูเทพหมีปรากฏหลักฐานในการได้รับการบูรณะในครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพล

ป. พิบูลสงคราม พ.ศ.๒๕๐๐ โดยมีข้อความในเอกสารจดหมายเหตุในการตั้งงบประมาณในการ

บรูณะสะพานเทพหมีโดย ใช้คนงาน ๒๐ คน ทำงาน ๖๐ วัน เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท(หอจดหมาย

เหตุแห่งชาติ.ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๗ : ๘๒) มีบันทึกกล่าวถึงสะพานในพระนครมีอยู่ถึง ๓๐ แห่ง

เป็นสะพานไม้ ๑๕ แห่ง สะพานอิฐ ๑๔ แห่ง และสะพานศิลาแลง ๑ แห่งในจำนวนสะพานทั้งหมด

ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สะพานอิฐบ้านแขกใหญ่ หรือสะพานวานร

(สะพานคลองประตูเทพหมี) เป็นสะพานข้ามคลองเชื่อมระหว่างประตูเทพหมีกับคลองฉะไกรน้อย

บริเวณวัดอำแม ใกล้บ้านเฉกอหะหมัด ชาวบ้านนิยมเรียกว่าสะพานบ้านแขกใหญ่ลักษณะเป็น

สะพาน ๓ ช่องโค้งเพื่อให้เรือสัญจรผ่านไปมาได้ โดยมีช่องโค้งใหญ่อยู่กลาง และช่องโค้งเล็ก

๒ ช่องด้านข้าง ช่องโค้งดังกล่าวมีลักษณะเป็นโค้งกลีบบัวและใช้อิฐเรียงสันตั้ง เป็นอิทธิพลแขก

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์(เอกสารสัมมนาทางวิชาการเรื่อง กรุงศรีอยุธยา:อู่อารยธรรม ๒๕๓๓,

หน้า ๑-๔)

โดย...วัฒนธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
สะพานประตูเทพหมี (อยู่ด้านหลังศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา)
ถนน ปรีดี-พยมยงค์
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
งานวิจัยประวัติความเป็นมาของโบราณในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บุคคลอ้างอิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันทิพา มาลา
ชื่อที่ทำงาน สถาบันอยุธยาศึกษา
เลขที่ 96 ถนน ปรีดี-พนมยงค์
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 08-9115-5181
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่