ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 51' 21.8444"
16.8560679
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 26' 0.8884"
102.4335801
เลขที่ : 160823
หลวงปู่สาย เขมธฺมโม
เสนอโดย หนองบัว วันที่ 26 กันยายน 2555
อนุมัติโดย nongbualamphu_admin วันที่ 26 กันยายน 2555
จังหวัด : หนองบัวลำภู
0 242
รายละเอียด

หลวงปู่สาย เขมธฺมโม เจ้าอาวาสวัดป่าพรหมวิหาร บ้านภูศรีทอง หมู่ ๗ ตำบลโนนเมือ ง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู หลวงปู่สาย เขมธฺมโม นามเดิม ชื่อ สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ (ตรงกับแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปี จอ ) ที่ บ้านดอนกลาง ตำบลกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด บิดา ชื่อ นายทอก แสงมฤค มารดาชื่อ นางเคน แสงมฤค มีพี่น้อง ๗ คน หลวงปู่สาย เขมธฺมโม เป็นบุตรคน ที่ ๕ จบการศึกษา ชั้น ป.๓ ที่ โรงเรียนวัดบ้านนาชม ( ในสมัยก่อนนั้นถ้าเรียนสำเร็จ ชั้น ป. ๒-๓ ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีเพียรพยายามมากเป็นที่ยกย่องเชิดชูเกียรติของชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากการศึกษาสมัยนั้นยังไม่ครอบคลุมเหมือนสมัยนี้ สมัยก่อนสถานศึกษาโรงเรียน และครูมีน้อยมากและหาสถานศึกษาเล่าเรียนได้ยากมาก) ต่อมาเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมบาลีไวยากรณ์ เรียนปาติโมกข์ และเรียนหมอลำกลอน ในชีวิต ครอบครัว สมรสกับนางปาน ผายม มีบุตร ๒ คน และได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ บ้านหนองหิน (บ้านดอนอีไข)อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหลัก หมอลำกลอนเป็นอาชีพเสริม

อุปสมบท ครั้งที่ ๑ บวชตามประเพณี (เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์) เพื่อทดแทนพระคุณของบิดามารดา ได้ศึกษาทางธรรมจนสำเร็จนักธรรมตรี บวชครั้งนี้ บวชอยู่ ๑ พรรษา

อุปสมบท ครั้งที่ ๒ บวชเพื่อแก้บนเนื่องจากป่วยด้วยโรคหัวใจ ( ขณะที่ป่วยได้รักษาอาการของโรคหลายวิธีไม่หาย เมื่อบน (บนบาน) ว่าถ้าหากหายป่วยแล้วจะบวชแก้บนอาการป่วยนั้นกลับหายไปอย่างอัศจรรย์) บวชครั้งนี้ บวชอยู่นาน ๖ พรรษา

อุปสมบท ครั้งที่ ๓ บวชเมื่อเห็นว่าชีวิตทางโลกมีแต่ปัญหาและความทุกข์นานาประการ ครั้นเมื่อเทียบ

กับเพศบรรพชิต (พระภิกษุ) มีความแตกต่างกันมาก จึงได้ขออนุญาตภรรยาและลูกๆ ทุกคนอนุโมทนาด้วย หลวงปู่สาย เขมธฺมโม อุปสมบทที่วัดบุญญานุสรณ์ (สังกัด ธรรมยุต) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ โดยมี พระครูประสิทธ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวัณโณปมคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูโสภณคณานุรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า เขมธฺมโม แปลว่า

“ผู้มีธรรมอันเกษม”หลวงปู่สาย เขมธฺมโม ได้มุ่งปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สายหลวงปู่มั่น

ภูริทัตฺโต ครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่ให้คำแนะนำในการปฏิบัติ คือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งหลวงปู่สาย เขมธฺมโม ให้ความเคารพมากต่อองค์หลวงตามหาบัว มาก

การปฏิบัติธรรมของหลวงปู่สาย เขมธฺมโม เป็นไปโดยลำพัง หากติดขัดปัญหาในการปฏิบัติธรรมต่างๆ ท่านจะไปกราบเรียนถามองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งองค์หลวงตาฯ ก็ได้ให้ความเมตตาตอบข้อสงสัยในปัญหาและแนะอุบายในปฏิบัติภาวนาอยู่เสมอ เมื่อได้อุบายธรรมแล้วหลวงปู่สาย เขมธฺมโม ก็ได้ออกปฏิบัติธรรมต่อไป เดินธุดงค์ในสถานที่ต่างๆ กระทั่งรับนิมนต์มาอยู่ที่ภูเก้า (ภูน้อย-ภูพนัง) และได้สร้างวัดป่าพรหมวิหาร ขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ที่บ้านภูศรีทอง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู หลวงปู่สาย เขมธฺมโม ได้สร้าง

พัฒนาวัดป่าพรหมวิหาร ได้แสดงหลักธรรมคำสอนโปรดพุทธศาสนิกชนโดยการแสดงธรรมโดยตรง และจัดพิมพ์

เป็นหนังสือแสดงธรรมหลักคำสอนให้ผู้สนใจได้ศึกษาปฏิบัติจำนวนมาก หลวงปู่สาย เขมธฺมโม จึงเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดต่างๆในทุกภาค เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (บันทึกข้อมูล เมื่อ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕)

สถานที่ตั้ง
วัดป่าพรหมวิหาร
หมู่ที่/หมู่บ้าน 7 บ้านภูศรีทอง
ตำบล โนนเมือง อำเภอ โนนสัง จังหวัด หนองบัวลำภู
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู
บุคคลอ้างอิง นายพาที แก่นนาคำ
ชื่อที่ทำงาน สวจ.หนองบัวลำภู
ถนน หนองบัวลำภู-เลย
ตำบล ลำภู อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จังหวัด หนองบัวลำภู รหัสไปรษณีย์ 39000
โทรศัพท์ 042316729 โทรสาร 042316730
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/nongbualamphu
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่