ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 49' 55.9225"
14.8322007
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 11' 43.8241"
102.1955067
เลขที่ : 164878
ประวัติหมู่บ้านหนองไผ่พัฒนา
เสนอโดย am(Pornthip) วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
0 420
รายละเอียด

จากอดีตประมาณ 70 กว่าปี บริเวณทิศเหนือของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่ รอบหนองน้ำนี้จะมีพืชตระกูลไผ่ คือไผ่ป่า โจด เพชร เป็นจำนวนมากชาวบ้านทั่วไปจากทั้งในและนอกหมู่บ้านจึงเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่าหนองไผ่ซึ่งปัจจุบันนี้ที่บริเวณดังกล่าว เป็นที่นาของนายหมิว โตกระโทก ชาวบ้านท่าอ่างได้ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองทำมาหากินอยู่สภาพหนองน้ำและป่าไผ่จึงไม่มีร่องรอยปรากฏให้เห็น

ก่อนจะมาเป็นหมู่บ้านแห่งนี้ แรกเริ่มเดิมทีจะมีชาวบ้านจากบ้านท่าอ่างและบ้านบึงทับปรางค์ได้มาหักร้างถางป่าสร้างเป็นที่ไร่ที่นาเพื่อประกอบอาชีพแล้วต่อมาก็สร้างที่อยู่อาศัยในที่ไร่ที่นาของตนที่สร้างไว้ ในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งทั้งหมด 3 กลุ่ม คือที่หนองไผ่ ที่หนองโสน และที่ดอนพระราม ต่อมาบ้านทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวได้ขยายใหญ่ขึ้น ทางการจึงมีประกาศให้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นด้วยการรวมบ้านทั้ง 3 กลุ่มเป็นหมู่บ้านชื่อว่าบ้านดอนพระราม หมู่ที่ 11 ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา กลุ่มบ้านหนองไผ่และดอนพระรามอยู่ใกล้กันต่อมาก็ขยายใหญ่จนเชื่อมชิดติดกัน ส่วนกลุ่มหนองโสนซึ่งมีระยะห่างจากกลุ่มหนองไผ่และดอนพระรามประมาณ 2 กม. ได้มีชุมชนขยายใหญ่ขึ้นเข้าหลักเกณฑ์จึงขอแยกจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ชื่อว่าบ้านหนองโสน หมู่ที่ 14 ตำบลและอำเภอเดิม

ของดีของหมู่บ้านคืองานหล่อหินทราย ซึ่งมีแหล่งผลิตและจำหน่ายอยู่ในเขตหมู่บ้านทั้ง 3 คือ หนองไผ่พัฒนา ดอนพราหมณ์ และหนองโสน แต่เนื่องจากคนในหมู่บ้านหนองโสนเป็นคนนำมาเผยแพร่เป็นคนแรกจึงให้เกียรติแก่คนในหมู่บ้านเป็น “กลุ่มงานหล่อหินทรายหนองโสน”เป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลท่าอ่าง

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านหนองไผ่พัฒนา
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล ท่าอ่าง อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายธนวัฒน์ อาสมะ
เลขที่ 110 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล ท่าอ่าง อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30190
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่