ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 30' 30.1669"
14.5083797
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 13' 39.4273"
102.2276187
เลขที่ : 164938
กลุ่มเฟอร์นิเจอร์บ้านซับสะเดา
เสนอโดย นิ๊งหน่อง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
1 1065
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

เริ่มต้นเมี่อปี ๒๕๔๘ นำสินค้าไปขายในงานธงฟ้า ของดีอำเภอครบุรี – เสิงสาง บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอครบุรี ต้นกำเนิดจาการการขุดดิน แล้วพบเจอรากไม้/ต่อไม้ แล้วนำมาแต่งให้สวยงาม โดยนำมาปรับแต่งตามลักษณะ และยังนำมาประดิษฐ์เป็นหลายอย่างอาทิเช่น ม้านั่ง โต๊ะ เตียง ตู้ และอื่นๆตามที่ลูกค้าสั่งทำ

ผู้ริเริ่ม คือ นายนุกูล เชิดพิมลกิตต์ ประกอบกับสมาชิกมีความรู้ ความชำนาญด้านช่างไม้จึงสามารถนำมาประยุกต์ ตามรูปแบบของรากไม้ เพื่อให้ดูสวยงาม อาศัยภูมิปัญญาเดิม ความชำนาญเดิม และมีการศึกษารูปแบบจากภายนอกชุมชน /สื่อ/ เอกสาร/รูปภาพ และพัฒนาฝีมือเพิ่มโดยดำเนินการบริหารจัดการในระบบกลุ่ม ชื่อว่า “กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนด้านหัตถกรรมหรือกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ในการขึ้นทะเบียน สินค้า OTOP

ปัจจุบันรากไม้ในพื้นที่ไม่ค่อยมี จึงใช้ไม้ตามหัวไร่ปลายนา และซื้อไม้เก่ามาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีผลิตภัณฑ์โดยใช้ไม้ตามหัวไร่ปลายนา และซื้อไม้เก่ามาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีผลิตภัณฑ์โดยไม้ที่ใช้ไม่ผิดกฎหมาย เช่น ไม้มะขาม มะม่วง สะเดา ขนุน ไม้ยาง เป็นต้น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มีความงดงาม ตามธรรมชาติโดยรูปแบบเป็นไปตามลักษณะของวัตถุดิบ(สีและลายของไม้) ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นเป็นหนึ่งเดียวและมีชิ้นเดี่ยวในโลก ราคาไม่แพง ฝีมือปรานีต สภาพมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้นาน

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

๑. อบรมด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การบริหารจัดการทุน

๒. OTOP 2 ดาว ปี ๒๕๕๓

๓. ได้ผ่าน มผช.

๔. ตราผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน นครราชสีมา

ความสัมพันธ์กับชุมชน

๑. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีงานทำมากขึ้น

๒. สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน

๓. ครอบครัวอบอุ่น

๔. ใช้ทรัพยากรให้มีมูลค่า

๕. มีการรวมกลุ่ม สร้างความสามัคคี

๖. มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน /สู่สากล

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑ ไม้เก่า ไม้ใหม่

๒. กบใสไม้ เลื่อย สว่าน น็อต สว่าน รถถังขัดไม้ มอเตอร์วงเดือน หินเจีย แล็คเกอร์ ทินเนอร์ น้ำมันสน

๓. กาวลาเท็ค กระดาษทราย ตะปู ตลับเมตร เหล็กอัดพื้น น้ำเที่ยง เหล็กฉาก ค้อน ตะปู สิ่ว แปรงขนกระต่าย

ขั้นตอนการผลิต

๑. ออกแบบ

๒. ไสไม้ตามรังวัดที่ต้องการ

๓. ใช้สว่านเจาะไม้ให้เป็นรูลึก ตามแบบที่ต้องการไม้เดือย คานล่าง คานบนให้ได้ตามจุด (ตามแบบ)

๔. ทับผนังเผื่อปูโต๊ะ เพื่อมิให้เห็นส่วนที่เป็นตะปู และปูพื้นของโต๊ะ กว้าง X ยาว ตามแบบ

๕. เตรียมลดถังขัด พร้อมกระดาษทราย เบอร์ ๔๕,๖๐,๘๐,๑๐๐

๖. ทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง

๗. ใช้แล็คเกอร์ขาวทาลงพื้นทั่วทุกส่วน เพื่อทนความร้อนและลงสีตาม

๘. เคลือบเงาด้วยแล็คเกอร์จะพ่น/ทาด้วยแปรงขนกระต่าย

๗. ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ – ๖๐ นาที ก็สามารถนำไปใช้ได้

๘. ถ้าต้องการใช้สีทาต้องทา ๓ ครั้ง ใช้เวลา ๑๒ ชั่วโมง

๙. ทิ้งไว้เย็นประมาณ ๒ วัน แล้วนำออกมาตกแต่งพร้อมรอจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

๑. ทำผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากท้องตลาด เช่นความหนา เลือกลวดลายไม้ ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่น ลายน้ำใหญ่)

๒. ถ้าไม้เป็นรู ใช้ไม้ปะรู

๓. ทำด้วยใจรัก มีจินตนาการ ผลิตภัณฑ์จึงออกมาสวยงาม

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านซับสะเดา บ้านเลขที่ ๕๐ หมูที่ ๑๑ ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ๓๐๒๕๐ มีนายนุกูล เชิดพิมลกิตต์ เป็นประธาน โทร. ๐๘๗ – ๒๕๓๑๐๒๗ / ๐๘๐ – ๖๒๙๓๕๕๖

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๑. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี

๒. ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านซับสะเดา

๓. Internet

๔. การเดินทางไปสู่กลุ่ม

จาก นม. – อ.ครบุรี ระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร

จาก อำเภอครบุรี - ที่ทำการกลุ่มฯ 165 กิโลเมตร

มีรถโดยสารสองแถว บริการ เช้า – เย็น

สถานที่ตั้ง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านซับสะเดา
เลขที่ ๕๐ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๑ บ้านใหม่
ตำบล บ้านใหม่ อำเภอ ครบุรี จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
บุคคลอ้างอิง นางฝากฝัน อรรณพานุรักษ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
เลขที่ ๑ ที่ว่ากา หมู่ที่/หมู่บ้าน ๓ บ้านแชะ
ตำบล แชะ อำเภอ ครบุรี จังหวัด นครราชสีมา
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่