นางทา เชิดชนเป็นภูมิปัญญาด้านเครื่องสักการะล้านนา
1.ประวัติภูมิปัญญาช่างฝีมือพื้นบ้าน (ผู้ให้การสัมภาษณ์)
ชื่อนางทานามสกุลเชิดชนประธานกลุ่ม
วันเดือนปีเกิด1มกราคม2491อายุ65ปี
ตำแหน่ง-
การศึกษาประถมศึกษาปีที่4อาชีพเกษตรกร(ทำนา)
ที่อยู่41หมู่ที่8ตำบลป่าแดดอำเภอป่าแดดจังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์08-7304-7651โทรสาร-
2.แหล่งที่ผลิต/กลุ่มผู้ร่วมผลิต/พิกัดสถานที่
แหล่งที่ผลิตอยู่ที่บ้านเลขที่41หมู่ที่8ตำบลป่าแดดอำเภอป่าแดดจังหวัดเชียงราย
กลุ่มผู้ร่วมผลิตนางสุทัศน์แซ่อึ้งและผู้สูงอายุบ้านหมู่ที่8ตำบลป่าแดด
วันเดือนปีเกิด24ธันวาคม 2509อายุ45ปี
ตำแหน่ง-
การศึกษาประถมศึกษาปีที่4อาชีพเกษตรกร (ทำนา)
ที่อยู่107หมู่ที่8ตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์08-7304-7651โทรสาร-
พิกัดสถานที่
Zone4748พิกัดX0604409พิกัดY2155751
3.ขั้นตอนการผลิต/วิธีทำ
1.1.การทำขันหมากเบ็ง |
ขันหมากเบ็งคือ กรวย หรือ ซวย ใบตองที่ประกอบขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมสันฐานกลมและประดับด้วยดอกไม้ดอกไม้ใช้มักจะเป็นดอกไม้ขาว เช่นดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก แต่ห้ามใช้ดอกสีขาวอย่างดอกจำปา และที่สำคัญไม่ควรใช้ดอกไม้แดง เพราะถ้าหากใช้ดอกไม้แดงจะเป็นเครื่องบูชาผีไท ขันหมากเบ็งที่นิยมทำและใช้ในการประกอบพิธีกรรมทั้งทางพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์จะมีอยู่2ชนิดคือ แบบ5ชั้นคือ ซ้อนทับกรวยใบตองและประดับดองไม้ขึ้นไป5ชั้น อันมีความหมายถึงขันธ์ทั้ง5หรือ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ 1.รูป คือ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด อันได้แก่ร่างกายและพฤติกรรม สสารและพลังงานด้านวัตถุ 2.เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง5และใจ 3.สัญญา คือ ความกำหนดได้ หมายรู้ อันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ 4.สังขาร คือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต 5.วิญญาณ คือ การรับรู้ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้สัมผัส ได้กลิ่นได้รับรสซึ่งทั้งหมดก็เป็นการรวบรวมขันธ์ทั้ง5และสำรวมเพื่อน้อมบูชาพระรัตนตรัย แบบ8ชั้นคือ ซ้อนทับกรวยใบตองและประดับดอกไม้ขึ้นไป8ชั้นอันมีความหมายที่แสดงถึง ธาตุทั้ง4ที่รวมกันทั้ง8ชั้นเป็นร่างกายทั้ง32ประการซึ่งก็หมายถึงการนอบน้อมกายทั้งหมดเพื่อสักการะบูชา |
|
|
วิธีทำ |
เช็ดใบตองให้สะอาดและฉีกใบตองดังนี้ ·ทำกรวยข้าว ฉีกกว้าง5 ½นิ้ว จำนวน1แผ่น ·เกล็ดประกอบกรวย ฉีกกว้าง2นิ้ว จำนวน20แผ่น (สำหรับกรวย5ชั้น) ·พันกลีบปิดเกล็ดกรวย ฉีกกว้าง8นิ้วจำนวน1แผ่น |
|
1.การม้วนกรวยนำใบตอง2แผ่นที่ฉีกไว้มาประกบกันให้ทางปลายอ่อนทั้ง2แผ่นสลับกัน แล้วม้วนให้เป็นกรวย ให้ปลายอ่อนอยู่ข้างนอก ตัดปากกรวยให้เรียบใช้ไม้กลัด ความสูงจากยอดประมาณ5 ½นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง2 ¾นิ้ว– 3นิ้ว |
|
.การพับกลีบมือซ้ายถือข้างอ่อนจับริมใบตองตอนกลาง มือขวาพับเฉแบ่งเป็นสี่ส่วนแล้วปิดริมซ้ายตลบลงมาทับรอยพับตรงกลาง พับทั้งหมด20แผ่น
2 |
|
3.การพับกลีบประกอบตัวแม่มีทั้งหมด4แถวโดยมือซ้ายจับตัวแม่ มือขวาจับกลีบที่พับไว้ทาบกับตัวแม่ใช้ไม้กลัด ทับซ้อนกลีบเป็นชั้นๆจำนวน4แถวๆละ5ชั้นหรือ8ชั้น |
|
4.การพับผ้านุ่ง หรือ การมอบพับผ้านุ่งโดยพับครึ่งใบตองพันรอบฐานปิดโคนกลีบสุดท้ายกว้าง4นิ้ว ใช้ไม้กลัดหรือลวดเย็บและตัดแต่งฐานให้เรียบร้อย ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ เช่น ดอกรัก ดอกพุด (นิยมใช้ดอกไม้สีขาว)หรือดอกดาวเรือง |
|
|
2.วัสดุที่ใช้ในการผลิต
1.ใบตองกล้วยตานี
2.กาบกล้วย
3.ไม้ไผ่
4.ต้นกล้วย
3
5.ขี้ผึ้ง
6.ดอกไม้ประเภทต่างๆ
7.ใบพลู
8.ใบเล็บครุฑ
9.ใบพุดซ้อน ใบสน
10.หมากแห้ง
11สำลี/ดอกฝ้าย
2.การประดิษฐ์หมากสุ่มแบ่งได้เป็น2กลุ่ม สรุปได้ดังนี้ คือ
1.1.รูปแบบดั้งเดิม คือหมากสุ่มที่มีโครงสร้างลักษณะรูปทรงพุ่มแบบง่ายๆ โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และใช้เวลาในการทำไม่นานหมากสุ่มรูปแบบดังกล่าวนี้มีโครงสร้างที่ทำมาจากการนำไม้ไผ่ผ่าซีกมาเหลาให้มีขนาดเล็กแล้วนำไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้ไม้ไผ่สามารถ ดัดให้โค้งงอได้จากนั้นจึงนำมาขัดหรือสานและมัดต่อกันจนได้ลักษณะโครงสร้างตามต้องการ ส่วนฐานรองรับโครงสร้างนี้จะทำจากต้นกล้วย ต้นคาที่ตากแห้งสนิทหรือฟางข้าว ซึ่งหากเป็นเขตรอบนอกเมืองจะนิยมใช้วัตถุดิบสองประเภทหลังมากกว่าเพราะหาได้ง่าย และสามารถทำไว้ล่วงหน้าได้ เมื่อทำโครงสร้างเสร็จแล้วก็จะนำหมากแห้งที่ร้อยเป็นสายด้วยเชือกปอมาเรียงซ้อนกันบนโครงสร้างให้สวยงามจากนั้นจึงตกแต่งด้วยข้าวตอกดอกไม้และบุหรี่ยาสูบของชาวล้านนา
1.2.รูปแบบประยุกต์ เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากรูปแบบดั้งเดิมโดยจะทำให้มีลักษณะรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม โครงสร้างของหมากสุ่มรูปแบบนี้มาจากการดัดเชื่อมเหล็กจนได้ลักษณะตามต้องการ ความแตกต่างของหมากสุ่มรูปแบบนี้อยู่ที่ฐานรองรับซึ่งจะใช้ขันโตกหรือพานที่ทำจากไม้หรือโลหะ เพราะการใช้ขันโตกหรือพานเป็นฐานจะช่วยให้ขั้นตอนในการประกอบหมากสุ่มใช้เวลาน้อยลงเมื่อทำโครงสร้างเสร็จแล้วก็จะมีวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำหมากสุ่มรูปแบบดั้งเดิมเพียงแต่หมากสุ่มรูปแบบประยุกต์นี้จะมีความสวยงาม แข็งแรง และทนทานต่อการนำไปใช้ในงานพิธีการต่างๆมากกว่าหมากสุ่มรูปแบบดั้งเดิม
3.การประดิษฐ์ต้นดอก
เป็นการนำใบเล็บครุฑมามัดเป็นช่อ วิธีการมัดจะใช้หนังยางผูกมัดติดกับไม้เสียบให้แน่น แล้วนำมาเสียบลงบนโครงสร้างต้นกล้วยที่เตรียมไว้ให้เป็นลักษณะทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูมหรือรูปวงรี โดยต้องเสียบให้แน่นๆจากนั้นใช้กรรไกรตัดพุ่มต้นดอกเพื่อให้เรียบเสมอกัน ขั้นตอนสุดท้ายคือการประดับตกแต่ง ซึ่งสมารถแบ่งได้เป็น2ส่วน ส่วนแรกเป็นการตกแต่งฐาน ส่วนที่สองเป็นการตกแต่งต้นดอกด้วยดอกไม้มงคล ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามฤดูกาล เช่น ดอกพุดซ้อน ดอกบัว รวมทั้ง เมี่ยง ใบพลูทาด้วยปูนแดง ที่จับจีบหรือม้วนอย่างสวยงาม ส่วนยอดบนสุดของต้นดอกจะประดับดัวยกรวยใบตอง มาลัยดอกไม้สด คล้ายหมากสุ่ม หมากเบ็ง
4.การประดิษฐ์ต้นเทียน
ต้นเทียนว่าเป็นการนำขี้ผึ้งบริสุทธิ์มาผึ่งแดดให้นิ่ม ปั้นคลึงให้มีขนาดความยาว3-5นิ้วมีไส้ฝ้ายอยู่ด้านในเป็นเทียนแท่งแบบพื้นเมือง นำมาผูกติดกับก้านไม้ไผ่ก้านละ2เล่ม ปักเรียงบนโครงสร้างให้เป็นระยะให้สวยงามโดยไม่กำหนดจำนวนขั้นตอนต่อมาคือการใช้ด้ายผูกมัดเทียน จำนวน2เล่มเข้าด้วยกันไว้ในตำแหน่งปลายไม้ การ
4
ประดิษฐ์เครื่องสักการะต้นเทียนนั้นจะใช้เทียนให้ครบตามจำนวน คือ54คู่ หรือเท่ากับเทียนจำนวน108เล่ม โดย
จำนวนเทียนทั้ง108เล่มนั้นมาจากหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา คือ56ตามคุณพระพุทธ38ตามคุณพระธรรมและ16ตามคุณพระสงฆ์ หลังจากผูกเทียนติดปลายไม้เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะนำใบไม้ เช่นใบเล็บครุฑใบพุดซ้อน ใบสน มาปักรอบแกนกลางของโครงสร้างหลังจากนั้นจึงนำเทียนที่ผูกติดกับปลายไม้ไว้แล้วมาปักลงบนโครงสร้างที่เตรียมไว้ด้านการประดับตกแต่งก็จะคล้ายกับการตกแต่ง หมากสุ่ม หมากเบ็งและต้นดอก
5.การประดิษฐ์ต้นผึ้ง
เป็นการนำขี้ผึงบริสุทธิ์ มาผึ่งแดดพอให้อ่อนตัว แล้วปั้นทีละกลีบ เรียงซ้อนหรือเข้าดอกแบบดอกเอื้องผึ้ง ปักเรียงบนโครงไม้ใส่ใบสลับให้สวยงามรูปทรงขนาดเดียวกับต้นดอกบนยอดมีกระทงเจิมใส่ดอกไม้ข้างในทำให้ดูสวยงามขึ้นการประดิษฐ์ต้นผึ้ง เมื่อทำฐานเสร็จแล้วก็ถึงขั้นตอนการทำโครงสร้างต้นผึ้งซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการทำโครงสร้างของหมากเบ็ง คือ ใช้กาบกล้วยเป็นโครงสร้างทั้งหมดจากนั้นใช้ใบตองพันลงบนโครงสร้างกาบกล้วยทุกเส้น แล้วใช้กรรไกรตัดใบไม้มาประกอบให้เต็มโครงสร้าง ใบไม้ที่ใช้มี อาทิ ใบปริก ใบแก้ว ใบสน ใบพุดซ้อน ใบเล็บครุฑเป็นต้น จากนั้นก็จะทำดอกผึ้ง โดยนำขี้ผึ้งเป็นแผ่นไปผึ่งแดดจนอ่อนตัวลง แล้วใช้กรรไกรตัดให้มีขนาดตามขนาดของกลีบดอกไม้ที่ต้องการจะปั้น ซึ่งในอดีตจะนิยมปั้นขี้ผึ้งให้เป็นรูปดอกเอื้องผึ้ง ปัจจุบันนอกจากจะปั้นเป็นดอกเอื้องผึ้งแล้วยังทำเป็นดอกกุหลาบ ดอกแก้ว ดอกพุดซ้อน ดอกเข็ม เป็นต้นจำนวนดอกไม้ที่จะปั้นไม่มีการกำหนดแน่นอน เสร็จแล้วนำดอกผึ้งที่ได้มาปักลงบนโครงสร้างที่เตรียมไว้การประดับตกแต่งนอกจากจะประดับด้วยดอกไม้สดแล้ว สำหรับส่วนยอดก็ทำเช่นเดียวกับการตกแต่งหมากสุ่ม หมากเบ็ง
4.เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
1.กรรไกร
2.มีด
3.ชาม
4.ไม้สำหรับกลัด
5.พาน
5.ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต
แต่ละประเภทใช้เวลาในการประดิษฐ์1–2ชั่วโมง
6.รายได้/ค่าตอบแทน/ราคาที่จำหน่าย
ราคาที่จำหน่าย ประเภทละ300บาท หรือแล้วแต่ขนาดใหญ่เล็กและรูปแบบ
7.ประโยชน์/หน้าที่ใช้สอย
ใช้ในงาน/กิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน/ในอำเภอ/และร่วมงานกิจกรรมต่างๆ ที่มีการแสดงถึงเคารพสักการะ
8.ลักษณะการเรียนรู้และการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและจากการที่มีความชอบอยู่แล้ว
9.การยกย่องจากสถาบันหรือการยอมรับของช่างในกลุ่ม/ชุมชนเดียวกัน
ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆที่ร่วมงาน/กิจกรรมและเป็นผู้ถ่ายทอดให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ สืบทอด
คำสำคัญ
เครื่องสักการะล้านนา ป่าแดด