ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 6' 30.5507"
15.1084863
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 21' 16.7742"
105.3546595
เลขที่ : 166762
นางจันทร์มี ละดาดก
เสนอโดย nang15 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 559
รายละเอียด

ชื่อ นางจันทร์มี ละดาดก

ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ - 2477 อายุ 78 ปี ที่อยู่ปัจจุบันเลขที่ 169 หมู่ที่ 1 บ้านคำก้อม ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ 045-850031

ความสำคัญ เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปะหัตถกรรม การทอผ้ากาบบัว ผ้าไหม เรียนรู้จากมารดาและบรรพบุรุษ มีการดัดแปลงลายมัดหมี่ในการทอ เป็นลายคมห้า ลายดอกจันทร์ ได้มีการถ่ายทอดให้กับกลุ่มแม่บ้านในชุมชน

ผ้ากาบบัวเป็นชื่อผ้าที่ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมโบราณอีสานหลายเรื่อง คำว่า"กาบ"ในภาษาอีสานมีความหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของต้นไม้บางชนิด เช่น เปลือกหุ้มต้นกล้วย เรียก กาบกล้วย หุ้มไม้ไผ่ เรียก กาบลาง กลีบหุ้มดอกบัว เรียกกาบบัว(สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ : ปรีชา พิณทอง) ผ้ากาบบัวอาจจะทอด้วยไหมหรือฝ้าย โดยมีเส้นยืน ย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ"ซิ่นทิว"ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นพุ่งจะเป็นไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่และขิด

โดยนัยแห่งคำอธิบายตามพจนานุกรมนี้"กาบบัว"จึงหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของดอกบัว มิใช่กลีบบัวที่หุ้มรอบเกสรบัวที่อยู่ชั้นใน (หรือจะพูดแบบภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่า กาบบัวคือกลีบบัวชั้นนอกสุดที่แก่จัดเกือบร่วงโรย นั่นเอง) ดังนั้น จึงมีข้อคิดเห็นที่สนับสนุนในการเรียกผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบลว่าผ้ากาบบัวดังนี้

1. กาบบัว มีพื้นผิวเป็นเส้นทางตั้ง ขึ้นเด่นชัด สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการทอลายผ้าได้อย่างงดงาม ตรงข้ามกับกลีบบัวที่ยังไม่ปรากฏลายเส้นนูน

2. กาบบัว มีสีตามธรรมชาติชัดเจน สอดคล้องกับการย้อมสีจากพืชพรรณธรรมชาติ ให้ได้สีตามต้องการ แต่กลีบบัวยังไม่ปรากฏสีเด่นชัด

3. ผ้ากาบบัว เป็นผ้าที่มีมาแต่โบราณในอุบลฯ จึงใช้ชื่อเดิม เพื่ออนุรักษ์ประวัติผ้าชนิดนี้ไว้มิให้เสื่อมสูญ

4. ชื่อผ้ากาบบัวนอกจากมีความเหมาะสมกับชื่อจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ยังมีความหมายถึงเชื้อสายบรรพบุรุษที่สืบเนื่องมาจาก"นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"อีกด้วย

ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล นางภัคจิรา มูลศรี นักวิชการวัฒนธรรมชำนาญการ

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
บ้านพัก
เลขที่ 169 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 1/บ้านคำก้อม ซอย - ถนน -
ตำบล ฝางคำ อำเภอ สิรินธร จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านคำก้้อม
บุคคลอ้างอิง นางภูมี จิตรจันทร์
ชื่อที่ทำงาน ที่ทำการผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคำก้อม
เลขที่ 73 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 1/บ้านคำก้อม ซอย - ถนน -
ตำบล ฝางคำ อำเภอ สิรินธร จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34350
โทรศัพท์ 083-4696734
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่