ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 9' 20.0002"
17.1555556
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 8' 2"
104.1338889
เลขที่ : 167258
ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนคร
เสนอโดย ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
2 1286
รายละเอียด

ต้นฉบับตำนานพงศาวดารเมืองสกลนคร
ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ)ประเภทตำนาน-พงศาวดารวัสดุที่ทำเขียนด้วยดินสอดำลงในกระดาษฟุลส์แก๊ป
ลักษณะตัวอักษรเป็นภาษาไทยผสมอักษรไทยน้อยเป็นบางคำ
สาระความเป็นมาของเอกสารตำนานพงศาวดารสกลนครเมื่อปีพ.ศ.2400พระสุนทรธนศักดิ์ปลัดมณฑลอุดรซึ่งมาทำหน้าที่ข้าหลวงเมืองสกลนครในสมัยนั้นได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรอบรู้เรื่องเมืองสกลนครขึ้นคณะหนึ่งเพื่อตรวจค้นตำนานนิทานพงศาวดารเมืองสกลนครในการเขียนส่งไปให้กระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯรวบรวมเป็นหนังสือ คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยอำมาตย์โทพระยาประจันประเทศธานี(โง่นคำพรหมสาขาณสกลนคร)อดีตเจ้าเมืองสกลนครอายุ79ปีรองอำมาตย์เอกพระยาอนุบาลสกลเขต(เมฆพรหมสาขาณสกลนคร)ปลัดเมืองสกลนครอายุ68ปีรองอำมาตย์โทพระยาอนุบาลศุภกิจ(คำสายศิริขันธ์)กรมการผู้รักษาเจดีย์เชิงชุมอายุ68ปีกรมการคณะนี้ได้ช่วยกันเขียนพงศาวดารเมืองสกลนครขึ้นเพื่อมอบให้ข้าหลวงเมืองสกลนครจากคำบอกเล่าของนายประพันธ์จันทะกล่าวว่าคณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมกันที่ศาลากลางเมืองสกลนครกลางสนามมิ่งเมืองในปัจจุบันได้ใช้เวลาประมาณ3-4วันให้ช่วยกันเล่าเหตุการณ์หรืออ้างจากบันทึกคนอื่นที่จดมาโดยพระบริบาลศุภกิจซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือไทยที่คล่องที่สุดเป็นผู้จดและเรียบเรียงส่วนพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำ)เนื่องจากเคยดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมาก่อนจึงเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลได้มากที่สุดเมื่อมีการจดบันทึกแล้วเสร็จกรรมการทั้ง4คนก็ลงชื่อในฉบับที่ให้เจ้าเมืองเป็นหลักฐานในวันที่26ตุลาคม2460เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทยบ้านเลขที่601ก.ถนนกำจัดภัยอ.เมืองจ.สกลนครต่อไปและกรรมการแต่ละคนก็ได้คัดลอกเป็นของตนไว้คนละฉบับฉบับของพระยาบริบาลศุภกิจในเวลาต่อมาคุณเดิมวิภาคยัพจนกิจได้นำมาปรับปรุงเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือฝั่งขวาแม่น้ำโขงและเปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือประวัติศาสตร์อีสานในส่วนฉบับของพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำพรหมสาขาณสกลนคร)ได้มีการเขียนเพิ่มเติมจากฉบับร่างส่งกรุงเทพฯโดยได้เขียนด้วยดินสอดำลงในกระดาษฟุลส์แก็ปความยาว89หน้าเป็นเรื่องราวของเมืองสกลนครตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงรัชสมัยรัชกาลที่6จึงยุติเมื่อศูนย์วัฒธรรมจังหวัดสกลนครได้รับต้นฉบับมาจากทายาทพระยาประจันตประเทศธานีจึงอ่านและแปลข้อความทั้งหมดส่งโรงพิมพ์โดยสมาคมไลออนสกลนครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ในปีพ.ศ.2523เนื่องจากพงศาวดารฉบับนี้เนื้อหาบางส่วนได้เพิ่มเติมโดยพระยาประจันตประเทศธานีมีหลายตอนที่แตกต่างจากฉบับของพระยาศุภกิจและยังนำเนื้อเรื่องในส่วนที่เป็นตำนานที่มีอยู่ในอุรังคนิทานมาเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารฉบับนี้ฉนั้นจึงเรียกชื่อเอกสารนี้ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนครฉบับพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำ-พรหมสาขาณสกลนคร)โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น3ตอนดังมีใจความโดยสรุปดังนี้
ตอนที่1แยกวงศ์ตระกูลมาจากกรุงอินทปัฐนคร(เขมร)กล่าวถึงกำเนิดเมืองหนองหารหลวงโดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนครได้พาครอบครัวบ่าวไพร่มาสร้างเมืองขึ้นที่ริมหนองหารตรงท่านางอาบในปัจจุบันขุนขอมมีราชบุตรชื่อพระยาสุรอุทกกุมารในเวลาต่อมาเมื่อเจริญวัยไปกครองบ้านเมืองได้ทะเลาะวิวาทกับธนมูลนาคจำทำรบพญานาคมีความโกรธแค้นจึงแปลงร่างเป็นฟานเผือกนายพรานได้ยิงลูกดอกอาบยาพิษจนธนมูลนาคถึงแก่ชีวิตก่อนตายธนมูลได้สาปแช่งให้ผู้ที่กินเนื้อตนวิบัติฉิบหายและฝูงพญานาคได้มาทำลายบ้านเมืองให้ล่มจมหนองหารรวมทั้งพระยาสุรอุทกก็ถึงแก่ความตายเมื่อเมืองหนองหารล่มไปนั้นเจ้าภิงคารเจ้าคำแดงได้พาไพร่-พลว่ายน้ำข้ามฝั่งมาตั้งเมืองใหม่ในบริเวณไม่ห่างจากวัดพระธาตุเชิงชุมสถาปนาเมืองหนองหารขึ้นใหม่ครั้งนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจ้าได้เสด็จจากเมืองศรีโคตรบูรมาฉันข้าวที่ภูกำพร้าแล้วเสด็จมาที่คูน้ำลอดเชิงชุมท่ามกลางการต้อนรับจากพระยาสุวรรณภิงคารพระนางเจงเวงและเจ้าคำแดงทรงพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตว่าจะมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับรอยพระบาทอีกในอนาคตรวมถึง5พระองค์เหตุการณ์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพระมหากัสสปเถระได้พาพระอรหันต์500รูปได้เดินทางผ่านเมืองหนองหารหลวงเพื่อไปสร้างที่ประดิษฐานอุรังคธาตุที่ภูกำพร้าชาวหนองหารหลวงจึงได้แข่งขันสร้างอุโมงค์เจดีย์2แห่งคือพระธาตุภูเพ็กและพระธาตุเจงเวงเพื่อขอแบ่งอุรังคธาตุแต่ได้เพียงพระอังคารมาบรรจุที่พระธาตุเจงเวงเท่านั้น
ตอนที่ 2แยกตระกูลมาจากเมืองกาฬสินธุ์เนื้อหาสาระในช่วงนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งมีอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์อพยพครอบครัวมารักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่หลายปีพระเจ้าแผ่นดินสยามจึงได้ตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานีเปลี่ยนนามจากเมืองหนองหารเป็นเมืองสกลทวาปีในปีพุทธศักราช2370เจ้าเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพจึงโปรดให้ยกทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามแต่เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังทหารกระสุนดินดำเป็นการกระทำที่จัดขึ้นอำนาจอาญาศึกจึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองไปประหารชีวิตที่หนองไชยขาวไพร่พลจึงอพยพกลับเมืองกาฬสินธุ์ส่วนเมืองสกลทวาปีจึงร้างจากผู้ปกครองเมืองชั่วคราว
ตอนที่ 3แยกวงค์ตระกูลมาจากเมืองนครพนมข้อความในตอนนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่สงพระหรหมราชา(ม้ง)เจ้าเมืองนครพนมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์และกลุ่มพี่น้องเมืองมหาไชยกองแก้วซึ่งเป็นกลุ่มสัมกับเจ้าอนุวงค์หนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ในเขตเมืองญวนในการปราบกบฎของพระยาราชสุภวดีในเวลาต่อมาอุปฮาดติเจา(คำสาย)ราชวงค์(คำ)และท้าวอินน้องชายราชวงค์(คำ)ได้เข้ามอบตัวขอพึ่งบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัวจึงแต่งให้ราชวงค์(คำ)เป็น
พระประเทศธานีเจ้าเมืองสกลคนแรกเมื่อเจ้าเมืองสิ้นชีวิตจึงโปรดเกล้าแต่งตั้งพระยาประเทศธานี(ปิด)เป็นเจ้าเมืองคนต่อมาส่วนราชวงค์(คำ)ผู้มีความดีความชอบในการส่งเสบียงอาหารช่วยสงครามปราบฮ่อได้โปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายเป็นพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำ)เป็นต้นตระกูลพรหมสาขาณสกลนครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวโดยสรุปในช่วงที่3จะเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นอย่างย่อๆเรียงตามลำดับเหตุการณ์นั้นๆปีที่เกิดเหตุการณ์นับว่ามีประโยชน์ต่อความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตของเมืองสกลนครได้ดีพอสมควร
สภาพของเอกสารเอกสารอยู่ในสภาพชำรุดไปตามกาลเวลาโดยเฉพาะตัวอักษรที่เขียนด้วยดินสอดำเลือนลางมาก
สถานที่เก็บศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎสกลนคร ภาพและข้อมูลจากhttp://kanchanapisek.or.th/A>

หมวดหมู่
เอกสารหนังสือ
สถานที่ตั้ง
สถานที่เก็บ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎสกลนคร
ตำบล ธาตุนาเวง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร
บุคคลอ้างอิง ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร อีเมล์ sathap_ws@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042-716247
เว็บไซต์ province.m-culture.go.th/sakonnakhon
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่