ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 5' 20.5573"
17.0890437
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 49' 20.3588"
103.8223219
เลขที่ : 171327
ศูนย์อินแปง
เสนอโดย สถาป วงศ์สีดา คนญ้อแท้ๆๆ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
0 1699
รายละเอียด

ศูนย์อินแปง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ที่มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง มีสมาชิกเครือข่าย ๘๔ หมู่บ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเลิงที่อยู่รอบๆ ภูพาน มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ชุมชน ได้แก่ กลุ่มเด็กฮักถิ่น และทำกิจกรรมการแปรรูปผลผลิต การรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านการอนุรักษ์และการขยายพันธุ์พืช โดยมีพ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว เป็นแกนนำสำคัญของกลุ่ม ฯ

อินแปง เกิดจากแนวคิดที่ว่า “การพัฒนาแบบเอาปัญญามาก่อนเงิน” โดยคนในชุมชนจะร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของทุนและทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ อาทิ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ดิน น้ำ ป่า ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นจึงร่วมกันกำหนดเป็นแผนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการผลิตให้พออยู่พอกิน ถ้าเหลือจึงขายหรือแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 132 ป่าพื้นที่รวมทั้งสิ้น 150,000 ไร่

ทั้งนี้ ผลจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในศูนย์อินแปงตลอดกว่า 10 ปี ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นเมืองบริเวณเทือกเขาภูพานได้กลับคืน ยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดี และสมควรที่จะสนับสนุนให้ชุมชนอื่นๆได้เข้าไปเรียนรู้แนวคิด และกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์อินแปง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับชุมชนอื่นต่อไป


ผู้นำกลุ่มอินแปงพ่อเล็ก " หรือ นายเล็ก กุดวงศ์แก้วเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นอินแปงนั้นเดิมทีแล้วมีชื่อว่า "กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน" แต่ภายหลังพ่อบัวศรี ศรีสูงปราชญ์ชาวบ้านมหาสารคามผู้ล่วงลับไปแล้วได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "อินแปง"ปราชญ์ชาวบ้านมหาสารคามผู้ล่วงลับไปแล้วได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "อินแปง"

คำว่า "อิน" ตามหลักพระพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ใหญ่
คำว่า "แปง" แปลว่า สร้าง

กล่าวคือ ผู้ใหญ่สร้าง และความหมายโดยรวมก็คือเราเป็นผู้ใหญ่เราควรสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เพื่อลูกเพื่อหลานน่าจะเป็นคำแปลที่เข้าท่ามากที่สุด

"อินแปง" เป็นกลุ่มประชาชนจากหลายพื้นที่อพยพมาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ ชุมชนบ้านบัว ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร มาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ ชุมชนบ้านบัว ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนครแต่เมื่อความเจริญเข้ามา ทำให้บ้านบัวและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งตั้งอยู่ที่ตีนเขาภูพานนั้นได้ลดความอุดมสมบูรณ์ลงไปมากเนื่องจากชาวบ้านเข้าไปถางป่าปลูกปอปลูกมันกัน


"เมื่อมันเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงเกิดคำถามว่า

การพัฒนาที่พูดถึงกันนี้แปลก เพราะคำว่าพัฒนาน่าจะแปลว่าเจริญขึ้น ดีขึ้นมีความสุขขึ้น แต่นี่พัฒนาอย่างไรไม่ทราบ แทนที่จะรวยขึ้น กลับจนลงเป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีเงินพอซื้อข้าวกิน ลูกหลานหนีเข้าเมืองไปรับจ้างเป็นทุกข์กันทั้งบ้านทั้งเมือง"
"อะไรที่อยู่ในป่าพอขายได้ก็เอาไปขายหมด ตั้งแต่ไม้ที่ลักลอบตัดสัตว์ป่าที่ลอบล่า ไปถึงพืชผักป่านานาชนิด เช่น ยอดหวาย หน่อไม้ ผักหวานไข่มดแดง เห็ด ผลไม้ป่า และผักป่าทุกชนิดที่เอาไปขายได้ก็เก็บกันไปหมดไม่มีเหลือเก็บไม่ทันใจก็ตัดโค่นไม้ลงมา อยากได้ปลา แทนที่จะเอาแหไปทอดเอาเบ็ดไปตกไม่ ทันใจก็เอาไฟฟ้าไปช็อต"
"เก็บกินก็น่าจะพอ แต่ถ้าหาและเก็บขายจะไม่ มีวันพอขาย หากินกันล้างผลาญแบบนี้ ธรรมชาติผลิตตามไม่ทัน ไม่นานป่าก็เตียน อาหารธรรมชาติในป่าซึ่งเป็นตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เกต ใหญ่ของชาวบ้านก็เริ่มร่อยหรออยากได้ยอดหวายสักสองยอด ผักหวานสักกำมาแกงก็ต้องเดินเป็นครึ่งๆ วัน.."ความคิดที่ชาวบ้านได้มาตั้งวงสนทนากัน
สิ่งเหล่านี้เองได้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่กำลังรุนแรงขึ้น
ชาวบ้านจึงเกิดแนวความคิดร่วมกัน ในการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นกับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นช่วงแรกชาวบ้านเหล่านี้ได้ไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายพื้นบ้านแล้วกลับมาเพาะขยายพันธุ์เอง มีการจัดตั้งเป็นกองทุนกลาง มีการเลี้ยงหมูดำเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิหมู่บ้าน ไปซื้อหมูมาแจก ให้แก่สมาชิกเลี้ยง
และให้ส่งลูกหมูคืนเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ ต่อไปซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี

หลักการอันแน่วแน่ ในการที่จะพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน ได้ถูกสืบทอดด้วยยุทธวิธีต่างๆคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชน เข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้แก่กลุ่มอินแปงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้นโดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเกษตรกรรม (ส.ป.ก.),ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ ชุมชนที่ 3, สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร และได้ประสานความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเกษตรกรรมนิเวศน์ภูพานโดยมีชุมชนที่เข้าร่วมเครือข่าย 22 ชุมชน จำนวน 289 คนโดยส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน

การศึกษาและวิจัยการขยายพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่มีอยู่รอบเทือกเขาภูพานและการแปรรูปพืชผักผลไม้พื้นบ้านโดยเฉพาะไวน์มะเม่าที่ราชมงคลสกลนคร (รม.) นำมาถ่ายทอดให้แก่กลุ่มแม่บ้านอินแปง เวลานี้ผลิตขายทำรายได้กว่า 70,000 บาท/เดือน

ในปีต่อๆ มา กลุ่มก็เพิ่มความเข้มแข็งขึ้นไปอีก เมื่อหน่วยงานต่างๆได้เข้ามาให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็น การผลิตยาสมุนไพรพื้นบ้านจากญี่ปุ่น จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทย์ฯ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) จากกระทรวงเกษตรฯกระทรวงวิทย์ฯ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) จากกระทรวงเกษตรฯและจากกองทุนทางสังคม (MENU 5) ปัจจุบันเครือข่ายอินแปงได้ขยายเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี'42มีสมาชิกในเครือข่ายพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน 3 จังหวัด คือ สกลนคร กาฬสินธุ์ และอุดรธานี รวม 600 ครอบครัว และยังมีการขยายเครือข่ายต่อไป

ศูนย์อินแปง : โทร 042715257

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 235 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 บ้านบัว
ตำบล กุดบาก อำเภอ กุดบาก จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศูนย์อินแปง
บุคคลอ้างอิง นายสถาป วงศ์สีดา อีเมล์ sathap_w@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
จังหวัด สกลนคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่