ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 31' 0.1063"
6.5166962
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 28' 16.1728"
101.4711591
เลขที่ : 17247
สิละหรือบือดีกา
เสนอโดย กนกวรรณ พรหมทัศน์ วันที่ 25 มกราคม 2554
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554
จังหวัด : ยะลา
0 444
รายละเอียด

สิละ หรือ บือดีกา ศิลปะการต่อสู้ไทยมุสลิมแบบโบราณ สิละ , ซีละ หรือไทยมุสลิมทางภาคใต้เรื่ยกว่า ดีกา , บือดีกา เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้น ให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวอย่างสงาม ซึ่งเป็นสิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม การต่อสู้แบบสิละนี้มีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้ว โดยกำเนิดขึ้นที่เกาะสุมาตราต่อมาผู้สอนเองมีการดัดแปลงแก้ไขให้เข้าทันยุค สมัย คำว่า สิละ บางครั้งเขียนหรือพูดเป็น ซีละ หรือ ซิละ เข้าใจว่ารากศัพท์มาจาก ศิละ ภาษาสันสกฤตเพราะดินแดนชวามลายูในอดีตเป็นดินแดนของอาณาจักศรีวิชัยซึ่งมี วัฒนธรรมอินเดียเป็นแม่บทสำคัญ ดังปรากฎคำสันสกฤตอยู่ ชึ่ง สิละนั้นหมายถึง การต่อสู้ด้วยน้ำใจนักกีฬา ผู้เรียนวิชานี้ต้องมีศิลปะมีวินัยที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้ป้องกันตัว มิใช่ไปทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ก่อนการฝึกสิละผู้เรียนจะต้องเตรียมข้าวของเพื่อไหว้ครูก่อนประกอบด้วย ผ้าขาว ข้าวสมางัด ด้ายขาว และแหวน 1 วงมามอบให้กับครูฝึก ผู้เรียนจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ระยะเวลาในการเรียน 3 เดือน 10 วัน (หรือ 100 วัน)จึงถือว่าจบหลักสูตร โดยมีครูผู้สอน 1 คนต่อศิษย์ผู้เรียน 14 คน ในรุ่นหนึ่งๆคนที่เก่งที่สุดจะได้รับแหวนจากครูและได้รับเกียรติเป็นหัวหน้า ทีมและสอนแทนครูได้ ดั้งนั้นจะเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยจะเข้าไหว้ครูทีละคนซึ่งแต่ละสำนักจะมีการไหว้ครูแตกต่างกันออกไป ระหว่างนี้นักสิละจะทำปากขมุบขมิบกล่าวคาถาเป็นภาษาอาหรับและขอพร 4 ประการ หลังจากนั้น นักสิละทั้งสองฝ่ายจะทำการเคารพกันก่อนลงมือต่อสู้ เรี่ยกว่า สาลามัต คือสัมผัสมือกันแล้วมาแตะที่หน้าผากจึงเริ่มการแสดงท่าทางลวดลายการร่ายรำ ต่อสู้ตามศิลปะสิละ โดยระหว่างการต่อสู้มีกฎห้ามว่า อย่าใช้นิ้วมือแทงตาคู่ต่อสู้ ไม่กำมือแน่น ห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย การแต่งกายของนักสิละ ประกอบด้วย ผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรี่ยกว่าผ้าซอเกตลายสดสวยทับพร้อมกับผ้าลือปักคาดสะเอว หรือใช้เข็มขัดคาดแทนให้กระชับ และเหน็บกริชตามฉบับนักสู้ไทยมุสลิม เครื่องดนตรีประกอบการแสดงสิละมี กลองมลายู 1 คู่ ฆ้อง 1 ใบ และปี่ชวา 1 เลา สิละของไทยมุสลิมภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. สิละยาโต๊ะ(ตก) คือการต่อสู้อาศัยการรุกและรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไปเลย ส่วนมากใช้ในการประชันฝีมือ 2. สิละตารี (รำ) คือการต่อกรด้วยความชำนิชำนาญในจังหวะลีลาร่ายรำ ใช้ในการแสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง 3. สิละกายอ (กริช) คือการต่อสู้ใช้กริชประกอบการร่ายรำไม่ใช่การต่อสู้จริงๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ส่วนมากมักจะแสดงในเวลากลางคืน

สถานที่ตั้ง
ตำบล อาซ่อง อำเภอ รามัน จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่