ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 28' 50.9812"
18.4808281
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 47' 59.5176"
98.7998660
เลขที่ : 175313
พระเจ้าทันใจ วัดม่อนฤาษี
เสนอโดย kittiporn_j วันที่ 3 มกราคม 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 7 มกราคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 1812
รายละเอียด

พระเจ้าทันใจ วัดม่อนฤาษี

พระเจ้าทันใจ หมายถึงพระพุทธรูปที่สามารถสร้างเสร็จภายใน 1 วัน พุทธศาสนิกชนจึงเชื่อว่ามีพระพุทธานุภาพ ที่จะสามารถบันดาลให้เกิดโชคลาภ และความสมปรารถนาได้ทันอกทันใจเมื่ออธิษฐานขอพรซึ่งวัดสำคัญทางภาคเหนือนิยมสร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า“พระเจ้าทันใจ”ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน 1 วัน กล่าวคือ จะเริ่มพิธีตั้งแต่หลังหกทุ่มเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนเวลา 18.00 น.) ของวันถัดไป ถ้าสร้างไม่เสร็จถือเป็นพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น มักจะมีขั้นตอน และพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน การสร้างพระพุทธรูป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้สำเร็จภายใน 1 วัน จึงถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระพุทธานุภาพ และอานุภาพแห่งเทพยดาที่บันดาลให้พิธีกรรมสำเร็จโดยปราศจากอุปสรรค ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงถือว่าพระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปที่จะบันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้อธิษฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ การสร้างพระเจ้าทันใจนั้น มีลักษณะที่แปลกกว่าการสร้างพระพุทธรูปอื่นๆ กล่าวคือจะมีการบรรจุหัวใจพระเจ้า คล้ายกับหัวใจของมนุษย์ ตลอดจนการบรรจุวัตถุมงคลสิ่งของมีค่าไว้ในองค์พระพุทธรูปด้วย และในช่วงระยะเวลาที่กำลังปั้น จะต้องมีการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ตลอดทั้งคืนจนสว่างด้วยพระเจ้าทันใจ วัดม่อนฤาษี

วัดม่อนฤาษี ต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 50160 โทร. 053-369512

สถานที่ตั้ง
พระเจ้าทันใจ วัดม่อนฤาษี
ตำบล ดอยหล่อ อำเภอ ดอยหล่อ จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระเจ้าทันใจ วัดม่อนฤาษี
บุคคลอ้างอิง kittiporn jareansub อีเมล์ buppha_p@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน culture office doi lo
ตำบล ดอยหล่อ อำเภอ ดอยหล่อ จังหวัด เชียงใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่