ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : - Longitude : -
No. : 175463
ตำบลบางคูวัด
Proposed by. kodchanan ruenchaichon Date 7 January 2013
Approved by. mculture Date 29 March 2016
Province : Pathum Thani
0 1816
Description

ตำบลบางคูวัด

ตำบลบางคูวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีลำคลองไหลผ่านพื้นที่หลายหมู่บ้าน เช่น คลองบางคูวัด คลองซอก คลองปลายบัว คลองหนามแดง คลองไกร คลองชมพูเดช คลองพระโอย คลองสายยู คลองเกาะเกรียง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘.๔๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๑,๕๓๘ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับเขตตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ทิศใต้ ติดกับเขตตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ทิศตะวันออก ติดกับเขตตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตตำบลคลองพระอุดม อำเภอ

ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

มีเทศบาลตำบลบางคูวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำกับดูแล โดยสำนักงานฯ ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองบางคูวัด ด้านทิศตะวันออกของลำคลอง หมู่ที่ ๗ โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี ๙ กิโลเมตรแบ่งการปกครองเป็น ๑๒ หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ ๑ บ้านปลายบัว มีประชากรจำนวน ๒,๑๑๖ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๒ บ้านคลองโพธิ์ มีประชากรจำนวน ๔๓๓ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๓ บ้านคุ้งวัด มีประชากรจำนวน ๒๑๗ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๔ บ้านคลองบางคูวัดมีประชากร มีประชากรจำนวน ๑๐๑ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๕ บ้านเกาะเกรียง มีประชากรจำนวน ๑,๓๘๐ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๖ บ้านบางตะไนย์ มีประชากรจำนวน ๙๓๙ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๗ บ้านศาลเจ้า มีประชากรจำนวน ๒,๗๓๘ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๘ บ้านไผ่ล้อม มีประชากรจำนวน ๗๙๗ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๙ บ้านตีนเลน มีประชากรจำนวน ๒๙๘ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๑๐ บ้านบางนางบุญ มีประชากรจำนวน ๓,๓๑๕ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๑๑ บ้านฝั่งกลาง มีประชากรจำนวน ๕๙๓ ครัวเรือน

หมู่ที่ ๑๒ บ้านพระโอย มีประชากรจำนวน ๑๑๓ ครัวเรือน

ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างตามโรงงานในเขตตำบล และอาชีพทำการเกษตรในบางส่วน มีโรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางตูวัด ๔ แห่ง คือ

โรงเรียนอนุบาลปาริชาติ

โรงเรีโรงเรียนสาธิตปทุม

โรงเรียโรงเรียนพิทักษ์นครินทร์

โรงเรียโรงเรียนอนุบาลสุขใจ

สถาบันและองค์กรทางศาสนามีวัดจำนวน ๕ แห่ง

๑) วัดบางคูวัดใน เจ้าอาวาสชื่อ พระครูสุธรรมาภิรัต

๒) วัดบางคูวัดกลาง เจ้าอาวาสชื่อ พระสมุทรสัญญา ฐานมงคโล

๓) วัดบางคูวัดนอก เจ้าอาวาสชื่อ พระอธิการขวัญ นาตธรรมโม

๔) วัดเกาะเกรียง เจ้าอาวาสชื่อ พระเกรียงศักดิ์ ธัมมเตโช

๕) วัดบางตะไนย์ เจ้าอาวาสชื่อ พระครูปราโมทย์ สารคุณ

ศาลเจ้าจำนวน ๓ แห่ง

ศาลเจ้าพ่อสามศาล อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๖

๒) ศาลหลวงปู่ยิ้ม อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๗

๓) ศาลหลวงปู่ทุ่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๑๐

ตำบลบางคูวัดมีเส้นทางคมนาคมที่ใช้สัญจรของประชาชน ทั้งทางน้ำและทางบก ปัจจุบันมีทางยกระดับจากรังสิตมาลงที่สี่แยกบางคูวัด สู่ถนนสาย ๓๔๕

แหล่งน้ำธรรมชาติ

มีคลองธรรมชาติจำนวน ๑๒ แห่ง ประกอบด้วย

หมู่ที่ ๑ คลองหงสา และคลองปลายบัว

หมู่ที่ ๒ คลองซอก

หมู่ที่ ๓ คลองกรวย

หมู่ที่ ๕ คลองเกาะเกรียง

หมู่ที่ ๖ คลองบางตะไนย์

หมู่ที่ ๗ คลองคลองบ้านใน

หมู่ที่ ๘ คลองไกร คลองหนามแดง และคลองกง (หมู่ที่ 1 เชื่อมต่อหมู่ที่ 8)

หมู่ที่ ๙ คลองตีนแลน

หมู่ที่ ๑๐ คลองบางนางบุญ (บางกะจีน)

หมู่ที่ ๑๑ คลองขุด

หมู่ที่ ๑๒ คลองบุ้ง คลองชมพูเดช และคลองพระโอย

ศาสนาสถาน มีจำนวน ๔ แห่ง ได้แก่

๑. วัดเกาะเกรียง

วัดเกาะเกรียง ตั้งอยู่เลขที่ 28 บ้านเกาะเกรียง หมู่ 5 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา มีปูชนียวัตถุ

ที่สำคัญ ได้แก่พระประธานประจำอุโบสถ คือ “หลวงพ่อขาว” ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 59 นิ้ว วัดเกาะเกรียง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2365 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2364 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

การบริหารการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระคืน

2. พระเหรียญ

3. พระผี๋

4. พระสงวน

5. พระประพันธ์

6. พระใบฏีกาพะยอม ฐานวีโร

7. พระอธิการเกรียงศักดิ์ ธมมเตโช

๒. วัดบางคูวัดกลาง

ตั้งอยู่เลขที่ 42 บ้านตีนเลน หมู่ที่ 4 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา

มีปูชนียวัตถุ ที่สำคัญ ได้แก่

พระประธานประจำอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง 56 นิ้ว สูง 71 นิ้ว มีปูชนียวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ เจดีย์

วัดบางคูวัดกลาง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2353 วัดบางคูวัดกลางไม่มีประวัติความเป็นมาของวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2353

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ

1. พระครูปัญญารัต

2. พระอธิการบุญธรรม

3. พระอธิการสอน

4. พระครูใบฎีกาอ้อน พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2545

5. พระอธิการสัญญา ฐานมงคโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

๓. วัดบางคูวัดนอก

ตั้งอยู่เลขที่ 20 บ้านบางคูวัด หมู่ที่ 3 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวา มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่

พระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524

วัดบางคูวัดนอก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2316 สันนิษฐานว่าชาวมอญจะเป็นผู้สร้าง จากหลักฐานรูปทรงเจดีย์ รูปทรงแบบมอญ ชาวบ้านเรียกว่า วัดนี้อีกนามหนึ่งว่า “วัดปากคลอง” ส่วนชื่อวัดบางคูวัดนอกตั้งตามชื่อคลอง คือ “คลองคูวัด” และบริเวณวัดตั้งอยู่ริมคลอง 9 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2533 มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ

1. พระเย็น โกญชาญโย ถึง พ.ศ. 2490

2. พระอธิการแซง พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2501

3. พระอธิการนึก พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2522

4. พระอธิการฉาย พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525

5. พระอธิการขวัญ นาคธมโม

๔. วัดบางคูวัดใน

วัดบางคูวัดใน ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านใน ถนนบ้านใน หมู่ที่ 7 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ

พระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 42 นิ้ว สูง 59 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2313

วัดบางคูวัดใน ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยชาวกรุงศรีอยุธยา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน สมัยกรุงศรีอยุธยา เสียกรุงแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 โดยได้ร่วมกันก่อสร้างวัด โดยตั้งชื่อวัดว่าวัดบางคูวัดใน ตามชื่อหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดคูนาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2313

มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระทองอยู่

2. พระแดง

3. พระยม

4. พระฉ่ำ พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2498

5. พระครูวิสารท์ พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2517

6. พระอธิการชื่น ฐานจาโร พ.ศ. 2520 ถึง พ.ศ. 2527

7. พระครูธรรมาภิวัต พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน

๕. วัดบางตะไนย์

วัดบางตะไนย์ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านบางตะไนย์ ถนนราษฎรบำรุง หมู่ที่ 6 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 85 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางประทานพร ขนาดหน้าตักกว้าง 53 นิ้ว สูง 85 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 ปูชนียวัตถุอื่นๆ พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง และสมัยเชียงแสน 2 องค์ เจดีย์ทรงมอญ 1 องค์ วัดบางตะไนย์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2364 โดยชาวมอญอพยพมาจากเมืองหงสาวดีได้ร่วมกันก่อสร้าง และขนานนามว่า วัดตะไนย์ (คำว่าตะไนย์ เป็นภาษามอญ แปลว่า ต้นข่อย) ซึ่งสอดคล้องกัน เนื่องจากสมัยนั้นบริเวณที่ตั้งวัดเต็มไปด้วยต้นข่อย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระอธิการกริต

2. พระอธิการคืน พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ. 2482

3. พระอธิการสุก พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2498

4. พระครูปราโมทย์สารคุณ พ.ศ. 2489 ถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อขาว

เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในโบสถวัดเกาะเกรียงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประชาชนเคารพนับถือเป็นอันมากสร้างด้วยศิลาทราย สร้างเมื่อไรไม่สามารถกำหนดได้ลอยน้ำมาและจมอยู่หน้าวัดเกาะเกรียง ชาวบ้านจึงช่วยกันอันเชิญมาประดิษฐานอยู่ในอุโบสถมาเป็นพระประธานของวัดเกาะเกรียง

Category
Ethnic
Location
จังหวัดปทุมธานี
Tambon บางคูวัด Amphoe Mueang Pathum Thani Province Pathum Thani
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ( ศาลากลางหลังเก่า )
Reference kodchanan ruenchaichon Email kodchanan2011@hotmail.co.th
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Road เทศปทุม
Tambon บางปรอก Amphoe Mueang Pathum Thani Province Pathum Thani ZIP code 12000
Tel. 025811237 Fax. 025934406
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่