เป็นเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ ว่ามีตายายคู่หนึ่ง มีอาชีพค้าขายของชำ ของใช้ในครัวเรือน เมื่อขายได้ยายก็เอาเงินไปซื้อทองคำมาเก็บไว้ในบ้าน โดยซ่อนไว้ในหมอนที่ใช้อยู่ทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งหมอนได้หายไปจากบ้าน ยายก็เกิดความเสียดายพยายามหาหมอนดังกล่าวอยู่นาน แต่ก็ไม่พบ ต่อมาพวกหาปลาได้ไปพบหมอนยายเข้า สงสัยว่าทำไมหมอนจึงหนักผิดปกติ จึงฉีกหมอนดูพบทองซ่อนอยู่ในหมอน จึงอุทานคำว่า “หมอนทอง” ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้คำอุทานนั้นเรียกเป็นชื่อตำบลมาจนถึงปัจจุบัน ตำบลหมอนทองมีชื่อหมู่บ้านดังนี้ บ้านคลองสิบแปด บ้านสุเหร่าคลองสิบแปด บ้านบึงสิงโตและบ้านคลองสิบเก้า
อาณาเขตตำบลหมอนทอง
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลสิงโตทอง
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบางน้ำเปรี้ยว
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลโยธะกา และตำบลบางขนาก
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลดอนฉิมพลี
- จำนวนประชากร มีจำนวน 9,942 คน
- อาชีพประชาชน ในตำบลหมอนทอง ทำนา และ เลี้ยงสัตว์
-จำนวนศาสนสถานตำบลหมอนทอง วัด 1 วัด มัสยิด 6 มัสยิด
ตำบลหมอนทอง มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 60 ดังนั้น วัฒนธรรม ประเพณีจึงมีทั้งพุทธและอิสลาม ประชาชนทั้งสองศาสนาอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี และเป็นตำบลที่ตั้งของศูนย์ 3 วัย สานใยรักแห่งครอบครัว ในพระอุปถัมภ์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เป็นศูนย์เรียนรู้ กิจกรรมศูนย์ 3 วัย โดยมีแนวคิดของ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นศูนย์สุขภาพ, ศูนย์ฝึกอาชีพ,และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
ปัจจุบันมีนายสมยศ หวังชื่น เป็นกำนันตำบลหมอนทอง