ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 35' 53.9999"
18.5983333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 44' 24"
100.7400000
เลขที่ : 181029
ประเพณียกช่อฟ้า อำเภอเวียงสา
เสนอโดย jahriya วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 31 สิงหาคม 2556
จังหวัด : น่าน
0 1020
รายละเอียด

ประเพณียกช่อฟ้า

ช่อฟ้า" หมายถึง ช่อหรือกิ่งที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งความจริงแล้วช่อฟ้ามีวิวัฒนาการและอยู่คู่กับดินแดนในอุษาคเนย์มายาวนาน ส่วนที่เรียกกันว่าช่อฟ้านั้นคือ ช่อที่ยื่นขึ้นไปเหนือเครื่องลำยองอันหมายถึง รวยระกา ใบระกา หางหงส์ ที่ประกอบติดกันบนหน้าบันทั้งสองด้านของอาคารสถาปัตยกรรมไทย พูดง่ายๆ ว่า หากยืนอยู่หน้าพระอุโบสถแล้วมองขึ้นไป ก็จะเห็นส่วนที่เป็นกิ่งหรือช่อสูงสุดอยู่กิ่งหนึ่งบนหน้าบัน นั่นแหละเขาเรียกว่า "ช่อฟ้า”

ความสำคัญวิวัฒนาการของช่อฟ้านั้นมีมายาวนาน เข้าใจว่าผู้คนในดินแดนอุษาคเนย์นิยมประดับประดาให้มีส่วนยื่นเลยหลังคา เช่น การนำเขาควายบ้าง นำไม้มาไขว้กันบ้าง ในลักษณะที่ทางเหนือเรียกว่า "กาแล" โดยเชื่อว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเก่งกล้าในการล่าสัตว์ หรือมีความเชื่อว่าจะไล่ นกแสก กา หรือนกเค้าแมว ที่ถือว่าไม่เป็นมงคลเพราะเป็นพาหนะของยมทูต เมื่อเกาะบ้านใดเท่ากับมียมทูตมารับตัวไป คนโบราณจึงนำปีกไม้ใหญ่ๆ มาไขว้กันให้นกเหล่านี้เข้าใจผิดว่าเป็นเหยี่ยวหรืออินทรี จะไม่กล้ามาใกล้ อันเป็นความหมายว่า เมื่อนกกาแลเห็นจะเกิดความกลัว นอกจากนี้ยังสันนิษฐานได้อีกว่า กาแลทางเหนือนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่รับมาเมื่อครั้งพม่าครองเมืองเหนือหมายถึงเรือนใดที่ติดกาแลจะได้รับการยกเว้นภาษีจากทางพม่า


คนโบราณถือว่า "ช่อฟ้า" เป็นสิ่งสูงสุดมองด้านข้างไกลๆ คล้ายรูปพนมสักการะทวยเทพและพระพุทธองค์บนสรวงสวรรค์ บ้างทำเป็นปลายหางพญานาคแล้วให้เลื้อยลงไปสองฟากข้างกลายเป็นรวยระกา มีครีบนาคเป็นใบระกา เมื่อขดลำตัวเกาะแปไว้จะเรียกว่า นาคสะดุ้ง หรืองวงไอยรา และผงกหัวนาคขึ้นเป็นหางหงส์ตรงเชิงชาย แต่ถ้าบิดหัวนาคให้ตรงกับทางเดินจะเรียกว่า นาคเบือน สาเหตุที่นิยมทำเป็นรูปนาค เนื่องจากคติที่ว่าพญานาคเป็นผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนามาทุกยุคทุกสมัย

"พิธีการยกช่อฟ้า" ถือว่าเป็นพิธีสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการยกส่วนบนสุดของอาคารศาสนสถานหรือพระราชวัง มีคติความเชื่อว่า หากใครได้ร่วมบุญยกช่อฟ้าแล้วนับเป็นกุศลมหากุศลอย่างยากจะหาใดเท่าเทียมได้ เนื่องจากเป็นส่วนสูงสุดของอาคาร และถือว่าเป็นการทำองค์ประกอบแห่งอาคารให้สมบูรณ์

สถานที่ตั้ง
วัดบุญยืน,ตำบลกลางเวียง,อำเภอเวียงสา,จังหวัดน่าน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4/บ้านบุญยืน
ตำบล กลางเวียง อำเภอ เวียงสา จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดบุญยืน
บุคคลอ้างอิง ่jahriya jenpet อีเมล์ jahriya@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเวียงสา
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/บ้านสถาน ถนน ยันตรกิจโกศล
ตำบล กลางเวียง อำเภอ เวียงสา จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55110
โทรศัพท์ 08-1111-1230 โทรสาร 0-5471-1650
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่