กบภูเขามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าRana blythiiBolenger. ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรียกว่าเขียดแลว กบชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาและป่าอุดมสมบูรณ์ พบมากบริเวณป่าสมบูรณ์แถบชายแดนไทย - มาเลเซีย ในอำเภอเบตงและบริเวณใกล้เคียง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะออกมาจากป่าดงดิบเพื่อผสมพันธุ์ในบริเวณลำธาร บางครั้งชาวบ้านเรียกว่ากบคลอง ชาวบ้านจะออกหากบภูเขาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายแก่ร้านอาหาร ราคากิโลกรัมละ 80-120 บาท เนื้อกบภูเขาด่อนข้างขาวใสและเหลวกว่าเนื้อกบนา ไขมันสะสมน้อย ทำให้มีรสชาติดีกว่ากบนา กบภูเขาจึงเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของอำเภอเบตง แต่ปัจจุบันกบภูเขามีปริมาณลดลงมากเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าบริเวณถิ่นที่ อยู่อาศัย และการจับกบภูเขามาบริโภคในฤดูผสมพันธุ์ ปัจจุบันทางรัฐบาลได้ออกกฏหมายคุ้มครองประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
กบ ภูเขาเป็นกบที่มีขนาดใหญ่เคยพบขนาดยาวถึง 26 เซนติเมตรเพศผู้จะมีเขี้ยวที่ขากรรไกรล่างยาวกว่าเพศเมีย เพศผู้จะมีแก้วหูห่างตามาก ส่วนเพศเมียจะอยู่ใกล้ตากว่า กบภูเขาจะออกหากินในช่วงเวลากลางคืนและจะหลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน จะกินอาหารจำพวกไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปลา และลูกปู กบชนิดนี้เมื่อวางไข่จะขุดหลุม ในแต่ละหลุมจะมีไข่ประมาณ 700 - 1,500 ฟอง ไข่เป็นประเภทไข่จมไม่ติดวัตถุ มีลักษณะกลมใส สีขาว ขนาดใหญ่เฉลี่ย 4.1 มิลลิเมตรตัวอ่อนจะฟักและมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปัจจุบันยังไม่สามารถเลี้ยงกบภูเขาได้เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการเลี้ยง