ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 31' 37.9999"
14.5272222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 54' 34.9999"
100.9097222
เลขที่ : 185158
เตียก้วยเล่า
เสนอโดย chaweewann วันที่ 22 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 2 พฤษภาคม 2556
จังหวัด : สระบุรี
0 597
รายละเอียด

“เตียก้วยเล่า”หรือ“จางกั๋วเหล่า”(张果老) หนึ่งในโป๊ยเซียน นับเป็นเซียนที่อาวุโสที่สุดในกลุ่มเซียนทั้งแปด มีนามเดิมว่า “จางกั่ว”(张果) แต่เนื่องจากเป็นผู้เฒ่าที่อาวุโสที่สุดในแปดเซียน ชาวบ้านจึงเพิ่มคำว่า “เหล่า”(老) ซึ่งหมายถึง “ชรา” เติมท้ายลงไป กลายเป็น “จางกั๋วเหล่า”

บุคลิกลักษณะของจางกั๋วเหล่า นอกจากเป็นนักพรตเฒ่าชราผมขาว หนวดเคราขาวโพลนแล้ว ยังมีลาคู่ใจซึ่งเป็นลาประหลาดที่มีลักษณะพิเศษคือ แม้มันเดินไปข้างหน้าแต่หันศีรษะไปข้างหลังตลอดเวลา ลาตัวนี้เชื่อกันว่าเป็นลาวิเศษ เพระเมื่อไม่ใช้ก็จะสามารถกลายร่างพับเก็บเป็นกระดาษได้ หากจะเรียกใช้ ก็ใช้น้ำพ่นใส่ กระดาษก็จะคืนร่างเป็นลาดังเดิม

ในตำนานเกี่ยวกับเตียก้วยเล่ากล่าวว่า เป็นบุคคลในราชวงศ์ถัง ท่านได้จำศีลบำเพ็ญเพียรที่ภูเขาจงเถียวซานจนบรรลุกลายเป็นเซียน ในบันทึกถังซูได้กล่าวว่า พระนางบูเช็กเทียนทรงรับรู้กิตติศัพท์ของเตียก้วยเล่าจึงรับสั่งเชิญท่านเข้าวังแต่ถูกปฏิเสธ ต่อมา ในรัชสมัยถังเสวียนจงฮ่องเต้ได้เชิญท่านอีกครั้ง เตียก้วยเล่าจึงแสร้งทำเป็นตาย แต่พระองค์ก็ยังทรงเชิญมาอีกเป็นครั้งที่ ๒ เตียก้วยเล่าจึงได้ตกปากรับคำเข้าวัง และได้สำแดงปาฏิหาริย์จนสร้างความพิศวงให้แก่พระองค์เป็นที่ยิ่ง ส่วนอีกตำนานหนึ่งในบันทึก “ไท้ผิงกว่างจี้”(太平广记) เล่าว่า ถังเสวียนจงฮ่องเต้ทรงตรัสถามจิตรกรวังหลวงชื่อ เย้ฝ่าซ่าน (叶法善) ถึงที่มาของจางกั๋วเหล่าแต่ เย้ฝ่าซ่าน ตอบด้วยความเกรงกลัวว่า “กระหม่อมไม่กล้าตอบ หากพูดไปจะถึงแก่ความตาย”ครั้นเมื่อถูกรุกเร้าจากฮ่องเต้จึงได้พูดไปว่า “เตียก้วยเล่านั้นร่างเดิมก็คือค้างคาวขาวที่บำเพ็ญเพียรจนสำเร็จเป็นเซียน” พอพูดจบ เย้ฝ่าซ่าน ก็สิ้นใจตายทันที ต่อมาถังเสวียนจงฮ่องเต้จึงได้ตรัสทูลขอเมตตาต่อเตียก้วยเล่า ท่านจึงให้อภัยและชุบชีวิต เย้ฝ่าซ่าน คืนมาอีกครั้ง

ของวิเศษประจำตัวของเตียก้วยเล่า คือ “อวี๋กู่”(渔鼓) เป็นเครื่องดนตรีทรงกระบอก หรือเรียกกันว่า “กลองปลา”ข้างในมีเหลาไม้ไผ่คู่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรี ดังนั้น กระบอกดนตรีอวี๋กู่จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แทนจางกั๋วเหล่า

ลักษณะประติมากรรม

ประติมากรรมเตียก้วยเล่า มีลักษณะเป็นชายชรารวบผมเรียบร้อย แต่งกายแบบจีนโบราณ มือซ้ายกอดอวี๋กู่ไว้แนบกายพร้อมกับเอามือลูบเครา มือขวาวางหงายบนหน้าตัก นั่งขัดสมาธิบนก้อนเมฆ

หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
สมาคมพุทธสมาคมสว่างรัตนตรัยธรรมสถาน
เลขที่ถนน ๘ พิชัยรณรงค์สงคราม
ตำบล ปากเพรียว อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาววิยะดา นิจถาวร
บุคคลอ้างอิง . นายเชาว์วิศิษฐ์ ปัญญาธิวุฒิ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
เลขที่ ๖๐/๑ ถนน เทศบาล๓
ตำบล ปากเพรียว อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่