ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 47' 40.9999"
15.7947222
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 8' 26.0002"
104.1405556
เลขที่ : 192632
วิมานพญาแถน
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 31 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 31 มีนาคม 2563
จังหวัด : ยโสธร
0 274
รายละเอียด
การก่อสร้างวิมานพญาแถน เป็นการก่อสร้างเพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โดยจังหวัดยโสธรได้นำเอาแนวคิดทั้งด้านการตลาดและนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขัน จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน ซึ่งการก่อสร้างวิมานพญาแถนได้เชื่อมโยงกับงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดยโสธร คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีขอฝนให้ตกตามฤดูกาลเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ได้มีน้ำเพื่อทำการเกษตรกรรมอย่างพอเพียงประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดีด้วยเหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง๗ เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืชจนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมากพวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคกสรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถนที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกันทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตายในที่สุดพญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถนจึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถนเพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอดแมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิดส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหารและอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อยกองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธแมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสายในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้๑. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์๒. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้องให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว๓. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวหลังจากที่ได้สัญญากันแล้วพญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้
สถานที่ตั้ง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ธีร์วรา ดาวัลย์ อีเมล์ morcanubon@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่