ประวัติความเป็นมา
ตานข้าวปู่จา ส่วนมากจะปู่จาในวันเดือนตัด เดือนเป็ง โดยจะมีเวลาในการตานข้าวปู่จา ในช่วงเช้า (เช้าตรู่) ซึ่งนำของไปถวายพระพุทธเจ้าในวัด พระพุทธเจ้าได้สวดคำกล่าวต่าง ๆ เพื่อสะเดาเคราะห์ เอาโชค เอาลาบต่าง ๆ เพราะเป็นความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน แต่ของคนชาติพันธุ์อำเภอแม่สายแล้วจะเป็นการ ตานข้าวปู่จา ชาวไทใหญ่นั้นเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งดังความเชื่อในพุทธศาสนาที่ส่งอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในความนิยมทำบุญของชาวไทใหญ่ปรากฏเป็นพิธีกรรมสำคัญ เช่น การตานข้าวปู่จา ตานน้ำ ตานทราย ประเพณีที่สำคัญของชาวไทใหญ่จึงถือเป็น การทำบุญทำทานเป็นหลัก ถือว่าเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่จัดขึ้นและสืบทอดแก่ลูกหลานสืบมาเป็นการป้องกันปัดเป่าเคราะห์ร้าย ไม่ให้มาแผ้วพานตนเองและครอบครัว ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี จนเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ตามความเชื่อ เป็นพิธีที่ไม่ยุ่งยากเสียค่าใช้จ่ายน้อย ทำ1ครั้งแต่ให้ความคุ้มครองทุกคนในครอบครัวทั้งเด็กและผู้ใหญ่และเมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วจะทำให้เกิดกำลังใจ โดยเชื่อว่าจะเกิดสิริมงคลกับทุกคนในครอบครัว
การจัดเตรียมการตานข้าวปู่จา
-ข้าวปู่จา
- ผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ส้มเขียวหวาน
- ข้าวนึ่ง (ปั้นเป็นก้อน ๆ)
- จ้อน้อย (ตุงจ้อจ้าง) คือตุงล้านนา
- ใบมะแฮะ
- ใบมะเดื่อ
- ใบมะรอด
- ใบเงิน-ใบทอง
- ใบขนุน
- น้ำ
ตานน้ำ ตานทราย
จะมีการตานคล้าย ๆ กับการตานข้าวปู่จา ซึ่งจะมีน้ำ มีทราย ในการตาน เพื่อพ้นเคราะห์ เป็นการบูชาของชาติพันธุ์ชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน จะแตกต่างกับทางคนเมืองตรงที่ คนเมืองจะเป็นการสืบชะตา ซึ่งเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
การจัดเตรียมการตานน้ำ ตานทราย
-น้ำ
- ทราย
- จ้อน้อย (ตุงจ้อจ้าง) คือตุงล้านนา
- ดอกไม้
ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์
ชาวไทใหญ่ อำเภอแม่สายนั้นลักษณะเด่นของที่นี่จะเป็นในเรื่องของการพูด ภาษา การแต่งกาย อาหารและที่สำคัญอย่างยิ่งคือเรื่องประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทลื้ออำเภอแม่สาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการตานข้าวปู่จา ตานน้ำ ตานทราย ซึ่งพิธีตานข้าวปู่จา ตานน้ำ ตานทรายจะมีทุกหมู่บ้าน ทั้งนี้นอกจากการได้รับบุญแล้วยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี การช่วยเหลือ การแบ่งปันซึ่งกันและกันในชุมชนอีกด้วย
ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการ
ตานข้าวปู่จานอกจากการจัดเตรียมแล้ว ให้ไปนิมนต์พระที่วัด มาตานข้าวปู่จา โดยจะมีการกำหนดวันตาน ซึ่งจะนับจากวันขึ้นกี่คำ แรมกี่คำ ถึงจะตานได้ แต่ถ้าไม่ถึงวันก็ยังจะไม่ตานจะไม่เหมือนวันตานสังฆทานที่ตานทั่วไป พอนิมนต์พระแล้วจึงจะทำพิธีในโบสถ์ วิหาร จะมีการนำด้ายสายสิญจน์ ผูกโยงกับเสื้อผ้าสอดใส่ด้านล่าง เหมือนเป็นการสะเดาะเคราะห์ เอาโชค เอาลาบ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เวลาที่มีใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออยากให้มีชะตาชีวิตที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะตานข้าวปู่จา ตานน้ำ ตานทราย และยังช่วยให้กิจการการค้า การขาย เจริญรุ่งเรือง ถ้ามีการตานข้าวปู่จา ตานน้ำ ตานทรายไปตลอด สุขภาพก็จะสมบูรณ์แข็งแรง มีความอยู่เย็นเป็นสุข จิตใจสงบนิ่งและมีเมตตามหานิยม
ตานน้ำ ตานทรายส่วนมากจะเป็นการตานตอนเข้าพรรษา ออกพรรษา ปีใหม่ และการตานน้ำตานทรายของชาวไทใหญ่นั้นจะสามารถตานได้ตลอดเพื่อให้เกิดความชุ่มเย็น ให้ได้บุญ ช่วยสะเดาะเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งกานตานน้ำ ตานทราย นั้นคือความเชื่อของไทใหญ่อำเภอแม่สาย