ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194389
ตำนานนางเลือดขาว
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 9 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 25 กันยายน 2564
จังหวัด : พัทลุง
0 304
รายละเอียด

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในอดีตกาลพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๒๗๓ ปี ณ ชมพูทวีป ประเทศอินเดีย เมื่อพระเจ้าพินธุสารเสด็จสวรรคตโอรสของพระองค์เกิดการแก่งแย่งราชสมบัติ มีการรบราฆ่าฟันกันในหมู่พระราชวงศ์ ในที่สุดอโศกกุมารมีชัยได้ราชสมบัติครอบครองเมืองปาฏลิบุตรแห่งแคว้นมคธเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้ทรงขยายแสนยานุภาพของอาณาจักรมคธให้แผ่ไพศาลโดยการทำสงครามปราบปรามแคว้นต่างๆ ไว้ในอำนาจ สงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามปราบแคว้นกลิงคราษฎร์ ในสงครามครั้งนี้ได้มีการรบราฆ่าฟันผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมากมาย ทำให้ผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลของสงคราม พากันลงเรืออพยพออกนอกอาณาจักรผ่านทะเลอันดามัน แล้วแยกย้ายกันขึ้นฝั่งทางด้านฝั่งตะวันตกของภาคใต้ประเทศไทย ได้มีชาวอินเดียบางส่วนขึ้นฝั่งที่ “ท่าประตูทะเล” หรือ “ท่าประตูเล” (อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง) แล้วเดินข้ามแดนทางช่องเขาบรรทัดผ่านเมืองตระแล้วแยกย้ายเป็น ๒ สายคือสายที่ ๑ เดินทางแยกไปทางทิศใต้จนถึงเขาปัจจันตระ (เขาจันทน์) แล้วล่องเรือลงตามลุ่มน้ำฝาละมี มาขึ้นฝังพำนักอยู่ที่ “หน้าทำทิดครู” (บ้านท่าทิดครู ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง)สายที่ ๒ เดินทางแยกไปทางทิศเหนือเลียบเชิงเขาจนถึงบ้านโหมด เข้าพำนักอยู่ในถ้ำไม้ไผ่ตง และถ้ำไม้ไผ่เสรียงเรียกสถานที่นั้นว่า “ที่โมชฬะ” หรือ “ที่ปราโมทย์” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ตะโหมด” (อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง)ในครั้งนั้นยังมีตายายสองผัวเมีย คือตาสามโมกับยายเพชร อยู่ที่ตำบลปละท่า ทิศตะวันตกของทะเลสาบสงขลา คือบ้านพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตาสามโมเป็นหมอสดำหรือหมอช้างขวาเป็นผู้มีหน้าที่จับช้างป่ามาฝึกหัดสำหรับส่งให้เจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสี ปีละ ๑ เชือก เรียกสถานที่นั้นว่า “ที่คช” หรือ “ที่ส่วยช้าง” มีอาณาเขตถึงบ้านท่ามะเดื่อ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงครั้งหนึ่งตายายทั้งสองได้เดินทางไปจับช้างป่า จนลุถึงถิ่นปราโมทย์พบชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่ตงได้รู้จักสนิทสนมกันเป็นอย่างดี ชาวอินเดียได้ยกบุตรีให้ตายายคนหนึ่ง ตายายทั้งสองได้รับไว้เป็นบุตรบุญธรรม นำมาเลี้ยงไว้ ที่บ้านพระเกิดให้ชื่อว่า “นางเลือดขาว” เพราะเป็นผู้ที่มีผิวกายขาวกว่าชาวพื้นเมือง อยู่ต่อมาไม่นานตายายทั้งสองมาคิดคำนึงว่าควรจะหาบุตรชายชาวอินเดียไว้สักคนหนึ่ง เพื่อเป็นคู่ครองของนางเลือดขาวในเวลาต่อไป จึงเดินทางไปขอบุตรชายชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ที่ถ้ำไม้ไผ่เสรียง ไว้เป็นบุตรบุญธรรมให้ชื่อว่า กุมารหรือเจ้าหน่ออยู่ต่อมาอีกหลายปีจนกระทั่งบุตรทั้งสองมีอายุได้ ๑๙ ปี ตายายทั้งสองจึงจัดพิธีให้นางเลือดขาวกับกุมารแต่งงานเป็นสามีภรรยา แล้วจึงโยกย้ายจากบ้านพระเกิดไปยังบางแก้วโดยนางเลือดขาวกับกุมารขี่ช้างพังตลับ มีควาญช้างชื่อนายแก่นคง ตาสามโมกับยายเพชรขี่ช้างพลายคชวิชัย มีควาญช้างชื่อหมอสีเทพ ออกเดินทางไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงบางแก้ว จึงตั้งบ้านเรือนอยู่ต่อมาไม่นานตาสามโมกับยายเพก็ยังแก่กรรม กุมารกับนางเลือดขาวได้ทำการฌาปนกิจเสร็จแล้ว นำอัฐิไปฝังไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์และได้สร้างรูปพระฤๅษีตาไฟ ไว้เป็นอนุสรณ์รูปหนึ่ง แล้วจึงเดินทางกลับบ้านบางแก้ว/หลังจาก...หลังจากตายายทั้งสองถึงแก่กรรมแล้ว กุมารกับนาเลือดขาวได้รับมรดกเป็นนายกองช้าง เลี้ยงช้างส่งให้เจ้าพระทองต่อไป ต่อมาทั้งสองได้ปรึกษาตกลงกันว่าควรนำทรัพย์สมบัติมาสร้างบุญกุศลขึ้นในพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศให้ตายายทั้งสองที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งสองจึงได้นำบริวารทำการถากถางป่าบริเวณริมคลองบางแก้ว สร้างเป็นกุฏิ วิหาร อุโบสถพระธรรมศาลา พระพุทธรูป เสร็จแล้วเจ้าพระยากรุงทองได้เดินทางมาร่วมกัน สร้างพระมหาธาตุขึ้นที่วัดเขียนบางแก้ว ตั้งแต่นั้นมาเรียกสถานที่นั้นว่า “ที่วัด” มีอาณาเขตถึงบ้านดอนจิงจาย อำเภอเขาชัยสนต่อมาเจ้าพระยากรุงทอง กุมารและนางเลือดขาวได้สร้างถนนจากบ้านบางแก้วถึงบ้านทังและได้สร้าง วัดสทังใหญ่ขึ้น วัด มีพระมหาธาตุ อุโบสถ วิหารและพระพุทธรูป เมื่อเสร็จแล้วได้สร้างวัดสทิงพระขึ้นทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลามีพระพุทธไสยาสน์ พระมหาธาตุเจดีย์ ได้ทำการฉลองพร้อมกันทั้ง ๓ อาราม ได้จารึกลงในแผ่นทองคำให้ชื่อว่า “เพลานางเลือดขาว” หรือ “เพลาวัดบางแก้ว” หรือ “เพลาเมืองสทิงพระ” ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีกุน เอกศก พ.ศ.๑๔๘๒จำเดิมแต่นั้นมาที่บ้านบางแก้วก็กลายเป็นชุมชนใหญ่ที่พ่อค้าวาณิชเดินทางมาค้าขาย กุมารกับนางเลือดขาวจึงสร้างเมืองพัทลุงขึ้นที่โคกเมือง ทางทิศเหนือของวัดเขียนบางแก้วทั้งสองได้ปกครองเมืองพัทลุง คนทั่วไป จึงเรียกว่า “เจ้าพระยากุมาร”

คำสำคัญ
นางเลือดขาว
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๘ (๓๗๐๒).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ อีเมล์ easting17@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่