ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 18' 1.5887"
12.3004413
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 20' 30.9199"
102.3419222
เลขที่ : 196688
โบสถ์เก่า ๑๐๐ ปี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เสนอโดย ตราด วันที่ 9 มิถุนายน 2565
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 9 มิถุนายน 2565
จังหวัด : ตราด
0 380
รายละเอียด

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า "หยง แซ่แต้ " เกิดในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงพลูหลวง (พ.ศ.๒๒๗๔ - ๒๓๐๑) เป็นบุตรของ"นายไหฮอง แซ่แต้ " ชาวจีน ต่อมาได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีนามว่า "ขุนพัฒน์ " มารดาชื่อ "นางนกเอี้ยง" เป็นบุตรของขุนนางชั้นผู้น้อย ประสูติเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ เวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกา เจ้าพระยาจักรีได้ขอไปเป็นบุตรบุญธรรม และตั้งชื่อทารกน้อยนี้ว่า "สิน"

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในทางพิธีการ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ขณะพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา พระองค์ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา ทรงครองราชย์นานถึง ๑๕ ปี มีพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๓๐ พระองค์

หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิระปราการเป็นเจ้าตาก ภายหลังจากเดินทัพออกจากวัดพิชัย ๒๓ วัน พระองค์ได้มีพระราชปณิธานว่า "กรุงศรียุธยาคงจะเสียแก่พม่าเป็นแท้ ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงเมืองหัวเมืองตะวันออกทั้งปวงให้ได้มากแล้วจะยกกลับเข้าไปกู้กรุงศรีอยุธยาให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณ์ประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนับมิได้ ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายนับถือยำเกรงจงมาก การซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย การประกาศตั้งตัวในครั้งนี้มีศักดิ์เทียบเท่า " พระบรมวงศานุวงศ์" อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน นับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว เจ้าตาก มุ่งยึด "เมืองจันทรบูร" ซึ่งก่อนเข้าตีเมืองได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทรบูร จนตีได้เมืองจันทรบูร เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๐ หลังจากนั้นจึงยกทัพไปตีเมืองตราด ผู้กรมเมืองและผู้คนสมัครใจเข้าร่วมกับพระองค์เป็นจพนวนมาก เนื่องจากเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า การเดินทางกลับจันทบูร โดยเดินทัพมาทางทะเลด้วยกองเรือรบ (เรือชาวบ้าน) และเรือสำเภาจีนที่ยอมเข้าร่วมรบด้วย พร้อมทรัพย์สิน ถือว่าเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญก่อนที่จะเสด็จประทับเรือ ได้ทรงกระทำพิธีบูชาเทวดาที่ท้องอ่าวบ้านสลัก บริเวณที่สร้างโบสถ์หลังเก่าของวัดสลักฆ่าหมู (ชื่อเดิม) ปัจจุบันคือ วัดสลัก หมู่ที่๓ ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจพนวน ๕,๐๐๐ นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจาจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีมาจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรี ซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้นถูกประหารเสียชีวิต ต่อจากนั้นได้ยกกองทัพเรือไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น จนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังเสียกรุงศรีอยุธยา

สถานที่ตั้ง
วัดสลัก
ตำบล ท่าโสม อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดสลัก
ตำบล ท่าโสม อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่