ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 41' 15.6559"
16.6876822
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 8' 48.4735"
99.1467982
เลขที่ : 43952
สุ่มไก่ เข่ง ไซดักปลา_นายไสว บุรีหลง
เสนอโดย - วันที่ 2 มกราคม 2553
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 29 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ตาก
1 786
รายละเอียด

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการจักสานไม้ไผ่สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น กระบุง ตะกร้า เข่ง เป็นต้น มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอย เช่น นำกิ่งไม้มาสอดขัดกันอย่างง่ายๆ เป็นรั้วเพื่อแสดงอาณาเขตของตนนำใบไม้ที่มี ลักษณะเป็นเส้นแบนๆ อย่างใบตาล ใบมะพร้าว ใบลาน ใบลำเจียก มาจักเป็นเส้นแล้วสานเป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ นำไม้ไผ่และหวายมาจักเป็นเส้นเพื่อสานเป็นเครื่องจักสาน ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาแปรรูป เป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย เฉพาะ ประเทศไทยนั้นไผ่หลายพันธุ์มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาทำเครื่องจักสาน กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศและไผ่ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดีมีหลายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น ไผ่พรรณไม้ชนิด Bambusa spp. ในวงศ์ Poaceae เป็นกอลำต้น สูงเป็นปล้องๆ มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำเครื่องจักสานแตกต่างกันไป เช่น ไผ่สีสุก (Bambusa blumeana Schult.) ขึ้นทั่วไปตามหัวไร่ปลายนาทุกภาคของประเทศ แต่พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ชอบดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วนในที่ราบต่ำๆ ตามริมแม่น้ำลำคลอง ไผ่ชนิดนี้ กล่าวกันว่ามาจากหมู่เกาะชวา สุมาตรา และบอร์เนียว ลำมีสีออกเหลือง จึงเรียกว่าไผ่สีสุก เป็นไผ่ที่มีลำสูงใหญ่ ไผ่ชนิดนี้ใช้ ประโยชน์ได้หลายอย่าง ชาวบ้านจึงมักปลูกไว้เป็นรั้วบ้านเพื่อ ช่วยกำบังลม และนำหน่อมาเป็นอาหาร นำต้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ทำพะอง บันได และทำเครื่องจักสานนานาชนิด ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) เป็นไผ่ที่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณประเทศพม่า จึงพบไผ่ชนิดนี้มากในบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ไผ่รวก เป็นไผ่ที่มีความ สวยงามเป็นกอชิดทึบ พุ่มเตี้ย ลำต้นเล็กและเปลา สูงประมาณ 2-7 เมตร มีกิ่งเล็กๆ ไผ่รวกเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ปลูกตกแต่งบริเวณบ้าน ทำรั้ว ใช้เป็นวัสดุประกอบการก่อสร้าง การประมง ทำเยื่อกระดาษ และใช้ทำเครื่องจักสาน ไผ่เฮี้ยะ (Cephalostachyum virgatum Kurz) เป็นไม้ที่รู้จักกันดีในภาคเหนือ ขึ้นทั่วไปในบริเวณป่าดงดิบหรือป่าผสมผลัดใบที่มีไม้สักเฉพาะตามริมห้วยต่างๆ ลักษณะเด่นของไผ่ชนิดนี้คือ เนื้อลำบางมากตั้งแต่โคนถึงยอด มี ขนาดปล้องยาวมากประมาณ 50-70 เซนติเมตร สูงประมาณ 18 เมตร ไม้เฮี้ยะเป็นไม้ขนาดย่อมลำเรียวเปลา ชาวบ้านในภาคเหนือนิยมนำมาทำฝาบ้าน เครื่องมือจับปลา กระบอกใส่น้ำ และเครื่องจักสาน ไผ่ข้ามหลาม (Cephalostachyum pergracile Munro) มีมากในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นกระจายเป็นกลุ่มๆ ในป่าผสมผลัดใบ ชื่อพื้นเมืองอาจเรียก ไม้ข้ามหลาม ไม้ป้าง เป็นไม้ขนาดกลาง ชู ลำสวยงาม กอไม่แน่นจนเกินไป ลำต้นตรงสีเขียวนวล เนื้อบาง ไผ่ชนิดนี้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่ใช้เผาข้าวหลาม และเครื่องจักสาน ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำฟาก ฝา เพดานบ้าน ทำโรงเรือนสำหรับเลี้ยงสัตว์จนถึงนำไปทำเป็นตะแกรงแทนเหล็กสำหรับยึดคอนกรีตในงานก่อสร้าง หวาย (พรรณไม้หลายชนิด Calamus spp. ในวงศ์ Palmae ลำต้นยาว ผิวเกลี้ยง เหนียว ขึ้นเป็นกอ มีหลายชนิด เช่น หวายตะค้าทอง หวายโป่ง) ซึ่งเป็นพรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี อาจจะสานด้วยหวายทั้งหมดหรือใช้หวายผสมกับวัสดุชนิดอื่น เช่น ไม้ไผ่ ใบตาล ใบลาน ฯลฯ ย่านลิเภา (เฟินชนิดหนึ่ง Lygodium flexuosum Sw. ในวงศ์ Schizaeaceae ลำต้นเป็นเถา) ในประเทศไทยมีมากในบริเวณภาคใต้ ชาวบ้านเรียกย่านลิเภาบองหยอง หรือย่านบองหยอง การนำมาทำเครื่องจักสานจะลอกเอาเฉพาะเปลือกมาจักเป็นเส้น แล้วสานหุ้มโครงที่ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ กระจูด (พรรณไม้ชนิดหนึ่ง Lepironia articulata Domin ในวงศ์ Cyperaceae) ลำต้นกลมในกลวงและมีเยื่ออ่อนหยุ่นคั่นเป็นข้อๆ ใช้สานเสื่อและกระสอบ มีมากตามหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ในประเทศไทย มีมากในบริเวณทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง การนำกระจูดมาทำเครื่องจักสานจะต้องทุบให้แบนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะสานเป็นเครื่องจักสาน การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณอย่างหนึ่งที่ทำสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องจักสานก็เป็นเครื่องมือพื้นบ้านเพียงไม่กี่ชิ้นที่ชาวบ้านมักทำขึ้นใช้เอง เครื่องมือสำคัญที่ใช้ทำเครื่องจักสานของไทย ได้แก่ มีด เครื่องมือสำหรับแปรรูปวัตถุดิบจากธรรมชาติ มาเป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสาน มีดที่ใช้กันทั่วไปเป็นมีดเหล็กกล้า เนื้อแกร่งมี 2 ชนิดคือ มีดสำหรับผ่าและตัด มักเป็นมีดขนาดใหญ่ สันหนา เช่น มีดโต้ หรือมีดอีโต้ ใช้ตัดและผ่าไม้ไผ่ หวาย หรือไม้อื่นๆ ที่จะใช้ทำเครื่องจักสานให้มีขนาดตามต้องการ ก่อนที่จะนำไป เหลา จัก เป็นตอกหรือเป็นเส้นต่อไป มีดตอก มีดชนิดนี้มีประโยชน์ใช้สอยตามชื่อคือ ใช้สำหรับจักตอกหรือเหลาหวาย เป็นมีดปลายเรียวแหลม ปลายและด้ามงอน ส่วนมากตัวมีดจะสั้นกว่าด้าม เพราะในการจักหรือเหลาตอก จะใช้ด้ามสอดเข้าไประหว่างแขนกับ ลำตัวเพื่อให้จักหรือเหลาตอกได้สะดวก มีดชนิดนี้จะมีสันบางเพื่อให้จักได้ดี ส่วนปลายที่งอนแหลมนั้นจะใช้เจาะหรือคว้านได้ด้วย มีดตอกทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกันดังกล่าวแล้ว แต่อาจะมีรูปร่างพิเศษแตกต่างกันบ้างตามความนิยมของแต่ละถิ่นและช่างจักสานแต่ละคน เหล็กหมาด เหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไช งัด แงะ มี 2 ชนิดคือ เหล็กหมาดปลายแหลม เป็นเหล็กปลายกลมแหลมมีด้าม ทำด้วยไม้ ใช้สำหรับไชหรือแกะ มักทำด้วยเหล็กก้านร่มหรือซี่ลวดรถจักรยานฝนปลายให้แหลม ใช้ไชหรือแงะเครื่องจักสานเพื่อร้อยหวายผูกโครงสร้างผูกขอบหรือเจาะหูกระบุง ตะกร้า เป็นต้น เหล็กหมาดปลายหอก เป็นเหล็กแหลมปลายแบนอย่างปลายหอก ใช้เจาะหรือไชไม้ให้เป็นรู มักใช้เจาะรูเครื่องจักสานเมื่อต้องการผูกหวายเสริมโครงสร้างให้แข็งแรง คีมไม้ เป็นเครื่องมือจำเป็นในการทำเครื่องจักสาน รูปร่างคล้ายคีมทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า แก่นไม้มะขาม คีมจะใช้หนีบปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบ เช่น ใช้หนีบขอบกระบุง ตะกร้า กระจาด ขณะเข้าขอบปากเพื่อผูกหวายที่ขอบให้แน่น คีมจะช่วยให้ช่างจักสานเข้าขอบภาชนะจักสานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้ผู้ช่วย กรรมวิธีในการสานแบ่งออกเป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้ ลายขัด เป็นวิธีการสานแบบพื้นฐานที่เก่าแก่ที่สุด ลักษณะของลายขัดเป็นการสร้างแรงยึดระหว่างตอก ด้วยการขัดกันเป็นรูปมุมฉากระหว่างแนวตั้งกับแนวนอน โดยใช้นอกยืนหรือตอกแนวตั้งหรือตอกยืนสอดขัดกับตอกแนวนอน โดยยกขึ้นเส้นหนึ่งข่มหรือขัดลงเส้นหนึ่งสลับกันไป อย่างที่เรียกว่า ลายหนึ่ง จากลายหนึ่งได้พัฒนามาเป็นลาย สอง ลายสาม และลายอื่นๆ ที่ยังคงรักษาลักษณะการสอดและการขัดกันเช่นเดิม แต่ใช้เส้นตอกในแนวตั้งและแนวนอนมากกว่าหนึ่งเส้น และสอดขัดกันให้สลับไปสลับมาเกิดเป็นลายสอง ลายสามและลายอื่นๆ อีกมาก ลายขัดนี้ใช้สานเครื่องจักสานได้หลายชนิด และมักใช้ร่วมกับลายชนิดอื่นเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ ลายทแยง เป็นวิธีสานที่ใช้ตอกสอดขัดกันในแนวทแยง (diagonal) ไม่มีเส้นตั้งและเส้นนอนเหมือนลายขัด แต่จะสานสอดขัดกันตามแนวทแยงเป็นหกเหลี่ยมต่อเชื่อมกันไปเรื่อยๆ คล้ายรวงผึ้ง ลายชนิดนี้จึงมักสานโปร่ง เช่น ลายตาเข่ง ลายชะลอม ลายหัวสุ่ม ลายเกล็ดเต่า และลายเฉลว ลายชนิดนี้มักใช้สานภาชนะโปร่ง เช่น เข่ง ชะลอม หรือใช้สานประกอบกับลายอื่น เช่น สานเป็นส่วนบนของหมวก หรือหัวสุ่ม เพราะสามารถสานกระจายออกจากศูนย์กลางได้ดี ก่อนที่จะสานลายขัดหรือลายอื่นประกอบเป็นส่วนของเครื่องจักสานต่อไป ลายขดหรือถัก เป็นการสานที่ใช้กับวัสดุที่ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ด้วยตนเอง เช่น หวาย ย่านลิเภา ปอ ผักตบชวา วัสดุเหล่านี้ต้องสานด้วยการขดหรือถัก ได้แก่ การถักเป็นเส้นแล้วขดเป็นวงกระจายออกจากศูนย์กลางแล้วถักเชื่อมกันเป็นชั้นๆ ให้ได้รูปทรงตามต้องการ หรือสานโดยใช้วัสดุอื่น เป็นโครงก่อน แล้วถักหรือสานพันยึดโครงเหล่านั้นให้เป็นรูปทรงตามโครงสร้างที่ขึ้น ลายอิสระ เป็นการสานที่ไม่มีแบบแผนตายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สานที่จะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองให้สอดคล้องกับความต้องการของตน ลายประเภทนี้มักสานขึ้นตามความต้องการของผู้สาน และแบบแผนที่สืบทอดกันมาในแต่ ละท้องถิ่น เพื่อไว้ใช้ในการเกษตร

สถานที่ตั้ง
บ้านเพชรชมพู
เลขที่ 94 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายไสว บุรีหลง
ชื่อที่ทำงาน อบต.นาโบสถ์
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่