ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 15' 5.224"
16.2514511
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 16.9717"
103.2380477
เลขที่ : 49542
ใบลาน
เสนอโดย คมกริช ปรุงฆ้อง วันที่ 30 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย มหาสารคาม วันที่ 27 กันยายน 2555
จังหวัด : มหาสารคาม
0 336
รายละเอียด

ใบลาน

โบราณบันทึกเป็นภาษาขอม ที่บันทึกตำราสู่ขวัญคัมภีร์ใบลาน เป็นเอกสารบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ทั้งคดีโลกและคดีธรรม เช่น เรื่องราวและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตำรายา เวทมนตร์คาถา เป็นต้น

ใบลานยาว เรียกว่า หนังสือผูก

ลานสั้น เรียกว่า หนังสือก้อม

การจารหรือเขียนหนังสือลงในใบลานนั้น มีมาตั้งแต่โบราณกาล และน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลังกา เพราะพระสิงหลในลังกาได้จารพระไตรปิฎกลงในใบลานในการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ (นับต่อจากสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อินเดีย) โดยที่พระภิกษุสงฆ์ชาวล้านนาได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกาหลายครั้งตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีเป็นต้นมา เมื่อกลับมาได้นำเอาคัมภีร์พระไตรปิฎกมาเป็นจำนวนมาก และอาณาจักรล้านช้าง(รวมถึงภาคอีสานของไทย)ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านนาอีกทอดหนึ่ง ดังเห็นได้จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรล้านช้างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางด้านวัฒนธรรมและการสืบทอดพุทธศาสนา ตลอดถึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางด้านสายโลหิต

เช่น ในสมัยพระเจ้าวิชุลราช ได้ทำการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยสืบทอดจากเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช พระโอรสของพระเจ้าวิชุลราช ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ และพระองค์ได้ขอพระเทพมงคลเถระและบริวารพร้อมด้วยพระธรรมคัมภีร์จำนวน ๖๐ คัมภีร์ ไปเผยแผ่ที่อาณาจักรล้านช้างอีกด้วย และในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาลราช ได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่งแล้วเสด็จกลับมาครองอาณาจักรล้านช้างพร้อมทั้งได้นำเอาพระธรรมคัมภีร์ ตลอดถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิต กลับมายังอาณาจักรล้านช้างด้วย

จากหลักฐานดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมในการจารคัมภีร์ใบลานสืบทอดมาสู่อาณาจักรล้านช้างและภาคอีสานของไทยด้วยชาวอีสานในอดีตมีความเชื่อว่า หากจารอักษรตัวธรรม ๑ ตัว จะได้อานิสงส์หรือผลบุญเท่ากับสร้างพระพุทธรูป ๑ องค์ การจารหรือการคัดลอกคัมภีร์ใบลานเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา อีกทั้งผู้จารหรือเจ้าของลานผู้ถวายคัมภีร์ก็จะได้อานิสงส์ ได้ผลบุญมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเพื่อจะได้บรรลุและเข้าถึงนิพพานในชาติต่อๆ ไป ดังจะเห็นได้จากคำอธิษฐานตอนท้ายสุดของลานจะบอกชื่อผู้จาร ชื่อเจ้าของลาน และวัตถุประสงค์ของผู้ถวายคัมภีร์เกือบทุกเรื่องจะมีคำว่า “นิพพานะปัจจะโย โหตุ” เสมอ ดังนั้นชาวอีสานจึงนิยมสร้างคัมภีร์ถวายวัดเป็นพุทธบูชา หรือเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ดังนั้นตามวัดต่างๆ จึงมีคัมภีร์ใบลานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากทั้งพระไตรปิฎกและนิทานชาดก บางวัดแม้เรื่องเดียวกันก็มีหลายฉบับ หญิงบางคนที่มีศรัทธาแรงกล้าถึงกับเอาเส้นผมของตนถักเป็นสายสนองผูกคัมภีร์ใบลานก็มี เพราะความเชื่อดังกล่าว

หมวดหมู่
เอกสารหนังสือ
สถานที่ตั้ง
เลขที่หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๓
ตำบล ขามเรียง อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายอนันต์ สิงห์เจริญกิจ อีเมล์ mk_culture@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอกันทรวิชัย
ถนน สขาภิบาล ๒
ตำบล โคกพระ อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44150
โทรศัพท์ 043777561 โทรสาร 043777549
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่