ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 23' 13.6509"
16.3871252500053
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 38' 1.6099"
102.633780539318
เลขที่ : 67850
ประวัติบ้านหนองแวง
เสนอโดย admin group วันที่ 19 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
0 996
รายละเอียด

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีนายดำ ปิ่นใจ และนายจอม พรหมอิสระ เป็นหัวหน้าครอบครัว ประมาณ ๑๕ ครอบครัว จากบ้านถอน ต.โคกสี อ.สว่าง มาตั้งรากฐานอาศัยอยู่ ทำไร่ ทำนา เพราะเห็นทำเลเหมาะแก่การดำรงชีวิต มีป่า มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และมีสัตว์ชุกชุม ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีมีห้วยอยู่ มีน้ำออกบ่อตลอดทั้งปีไหลลงบรรลุกับน้ำป่าทำให้เกิดเป็นลำห้วย ห้วยบ่อไหลลงไปเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองแวง ขณะนั้นเขตปกครองยังขึ้นกับบ้านถ่อน ซึ่งมีนายลุน มหาสุขุมเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีนายคำ ปิ่นใจ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อยู่ประมาณ ๒ ปี ได้มีพระอาจารย์เกิดได้ธุดงค์ปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึงพรอมใจกันสร้างวัดให้อยู่จำพรรษา ชื่อวัดหนองแวง ท่านอาจารย์เกิดได้จำพรรษาอยู่ ๒ปีก็จาริกไปอยู่ที่อื่นทำให้ วัดนี้ร้างไป ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีนายแป สุริยะชัย ได้อพยพจากบ้านหัน และนายพรหมมา มูลมีมา ซึ้งอพยพมาจากบ้านดงบัง ในช่วงระยะนั้น ได้มีประชาชนอพยพเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆมาจากต่างจังหวัดก็มี เช่น จังหวัดอุบลราชธานี มาจาก จังหวัดอุดรธานี และมาจากที่อื่นๆ เข้ามาอยู่อาศัยด้วยกัน ปีพ.ศ.๒๔๙๗ขณะนั้น มีครอบครัวอยู่ประมาณ 40 ครอบครัว ทางการได้ยกฐานะให้เป็นบ้านชื่อว่า บ้านหนองแวง ตำบล โคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีนายแป สุริยะชัย ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน นายกันหา สายบัว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในปีเดียวกันนี้มีพระอาจารย์มาจำพรรษาที่วัดหนองแวง ในขณะที่เป็นผู้ใหญ่บ้านนั้นได้เสียสละที่นาเนื้อที่ ประมาณ ๔๐๐ไร เพื่อเป็นที่วัด ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิ เพิ่มขึ้นมาอีก ๒ หลัง พระอาจารย์เครือได้จำพรรษาอยู่ ๓ พรรษาก็จาริกไปที่อื่น ก็ได้มี พระอาจารย์สวาท มาจำพรรษาอยู่ต่ออีก ๔ พรรษาก็ได้จาริกไปที่อื่น ต่อมาก็ได้มี พระอาจารย์ภู มาจำพรรษาต่อ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๕นายแป สุริยะชัย ได้ลาออกจากการเป็นผู้ใหญ่บ้านชาวบ้าน จึงได้ เลือกนายกันหา สายบัว เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน มีนายจันลี ผ่องแผ้วเป็น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในช่วงเวลานั้นชาวบ้านก็ได้ช่วยกันสร้างกุฏิขึ้นมาเพิ่มอีก ๔ หลัง ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ที่วัด ๑ บ่อและได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดป่าสามัคคีพัฒนาราม ขณะนั้นชาวบ้านก็ได้สร้างฝ้ายที่ลำห้วยเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย และทำการเกษตร เช่น ปลูกแตง ปลูกถัว ปลูกพริก และผักต่างๆ และทำไร่ เช่น ฝ้าย ปอ พ.ศ. ๒๕๑๐ นายกัณหา สายบัว ผู้ใหญ่บ้านถึงแก่กรรม จึงอยู่ในตำแหน่งได้ ๒ ปี นายจันลี ผ่องแผ้ว ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็ทำถนนเชื่อมต่อกับโคกแสง และได้เริ่มต้นสร้างศาลาการเปรียญขึ้นที่วัดสามัคคีพัฒนาราม ขณะที่พระอาจารย์เคน มาจำพรรษาอยู่ ซึ่งอยู่ได้ ๒ พรรษา ก็ได้จาริกไปที่อื่น การสร้างศาลาการเปรียญ เพิ่งจะเริ่มต้น นายลี ผ่องแผ้ว ก็ลาออกจากผู้ใหญ่บ้านปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นายจันลี ผ่องแผ้วได้ลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านจึงได้เลือก นายตุด รินเพ็ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในช่วงนั้นวัดไม่มีพระจำพรรษา อยู่ ๑ ปี นายตุด ริเพ็ง ก็นิมนต์ หลวงปู่ อำคา มาจำพรรษา และได้มีการยกศาลาการเปรียญขึ้น กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๗ เมตร จนเสร็จ รัฐบาลเริ่มเข้ามาพัฒนา มีโรงเรียน ๑ หลัง ขุดลอกหนองแวงให้เป็นชลประทานขนาดใหญ่ และสร้างถนน ในขณะนั้นมีเหตุการณ์รุนแรง มีคอมมิวนิสแทรกซึมเข้ามาถึงพื้นที่ เข้ามาทำร้ายหรือฆ่าพนักงานของรัฐ ตกกลางคืนมีการปะทะกัน มีเสียงปืน เสียงระเบิด แหล่งกรบดานของคอมมิวนิส คือดงผาลาด ซึ่งเป็นป่าดงดิบขนาดใหญ่ ผู้ใหญ่ตุด ถูกลอบยิงหลายครั้งจนต้องลาออกจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปีพ.ศ.๒๕๑๖ หลังจากนายตุด รินเพ็ง ลาออก ชาวบ้านได้เลือกนายคำมี ภูน้ำต้น เข้ามาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้นมีการกวาดล้างคอมมิวนิสอย่างรุนแรง เป้าหมายคือพนักงานรัฐ ผู้ใหญ่คำเคยถูกทหารจับไปครั้งหนึ่งที่อำเภอสว่าง เนื่องจากทหารเข้าใจผิดว่าเป็น “ไส้ศึก” แต่ก็ถูกต่อต้านจากประชาชน เลยถูกปล่อยตัว ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ทางการได้แยกเขตการปกครองตั้ง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครขึ้นมา นายเต้ ปิ่นใจ บ้านเหล่าหมู่ ๑ ได้รับเลือกเป็นกำนันคนแรก บ้านหนองแวงได้รับแต่งตั้งเป็น หมู่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นายคำมี ภูน้ำต้น ลาออกจากตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้าน จึงเลือก นายจันลี ผ่องแผ้ว เข้ามาเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกสมัยหนึ่ง อยู่ในตำแหน่งไม่ถึงปี ก็เกิดข้อพิพาทเรื่องที่ดิน แนวเขตหมู่บ้านบริเวณห้วยบ่อ โดยชาวบ้านโจมตีอย่างหนัก จนต้องลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านจึงได้เลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่อีกครั้ง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ปีเดียวกันนาย เชย สุขทวี เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ไม่ถึงหนึ่งปี ก็ได้รับเลือกให้เป็นกำนัน ตำบลบ้านเหล่า ต่อจากนาย เต้ ปิ่นใจ ในขณะนั้นมีการสำรวจพื้นที่ ที่จะตังกิ่งอำเภอแยกออกจากอำเภอสว่างแดนดิน บ้านหนองแวงเป็นหมู่บ้านเป้าหมาย ที่จะได้รับเลือก เพราะมีทีดินสาธารณะกว้างขวาง มีแหล่งน้ำที่จะใช้ในสาธารณูปโภคเพียงพอถนนหนทางสะดวกสบายแต่ก็ประสบปัญหาทางตำบลคูสะคามไม่มาร่วมด้วย กิ่งอำเภอจึงตกไปอยู่ตำบลเจริญศิลป์ ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ บ้านหนองแวงหมู่ ๕ ตำบลบ้านเหล่า กิ่งอำเภอเจริญศิลป์จังหวัดสกลนคร สภาพหมู่บ้านในขณะนั้น ยังเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว สัตว์ป่าก็มีเยอะมาก ราษฎรประกอบอาชีพอย่างมีความสุข ในฤดูทำนาฝนฟ้าตกถูกต้องตามฤดูกาล หลังจากทำนาเสร็จก็พากันทำไร่ปอ ไร่มัน ปลูกพืชผักสวนครัว และร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน วัดวาอาราม เป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่มาก บุญประเพณีก็ยิ่งใหญ่เช่นบุญผเวส บุญกฐิน บุญเดือนสาม บุญเดือนสี่ มีครบทุกอย่าง บ้านหนองแวงหมู่ ๕ จึงมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก หรือจากต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ในบ้านหนองแวง ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางรัฐบาลก็ได้มีการเข้ามาพัฒนา ทำถนนหนทาง การสัญจรไปมาสะดวกสบาย การศึกษาก็พัฒนาเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ราษฎรในหมู่บ้านหมู่บ้านก็เร่งสร้างฐานะทางครอบครัว มีการเดินทางไปทำงานต่าง ประเทศ เช่น ประเทศซาอุ ประเทศคูเวต ประเทศสิงคโปค์ เป็นที่ฮือฮากันมากในสมัยนั้น ต่างก็ร่ำรวยกันเกือบทุกคน ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ก็มีการแยกเขตการปกครองระดับหมู่บ้านอีก คือการแยกออกจากหมู่ ๕ เป็นหมู่ ๑๐ อีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยมีนายลับ รักรู้ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปี พ.ศ. .๒๕๓๙ นายรับ รักรู้ ก็ได้เป็นกำนันตำบลบ้านเหล่า ได้นำราษฎรตำบลบ้านเหล่าพัฒนาได้สร้างเมรุ สร้างโรงครัว สร้างห้องน้ำ ที่วัดป่าสามัคคีรามพัฒนาราม ได้สร้างถนน และซ่อมแซมถนนในหมู่บ้านจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ครบวาระ ๑๑ ปี ๒ สมัย ในช่วงนั้นนายถวัลย์ ชาคำผง เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อนายรับ รักรู้ หมดวาระลงจึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ นายถวัลย์ ชาคำผง เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีนายทันศักดิ์ รักรู้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร่วมกับนายถนน พันศิริ ผู้ใหญ่ถวัลย์ ชาคำผง ตำได้ ๗ เดือนก็ลาออกในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาใหม่ใน วันที่ ๑๑ เม.ษ. ๒๕๔๘ได้นายทันศักดิ์ รักรู้ เป็นผู้ใหญ่บ้านตอนนั้นกำนันคือ นายประถม สุวรรณเพชร กำนันตำบลบ้านเหล่าหมดวาระลงในเดือน ส.ค. ๒๕๔๘ได้เลือกกำนันใหม่ ได้นายทันศักดิ์ รักรู้ ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๔๘จนถึงปัจจุบัน ไดนำชาวบ้านหนองแวง หมู่ที่ ๑๐ พัฒนา สร้างศาลาเปรียญขึ้น 1 หลัง กว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๔๔เมตร เสาร์ ๔๔ ต้น ยังไม่สำเร็จ สร้างห้องน้ำ ๑ หลัง สร้างกุฏิ ๒ หลัง ได้ถนน ค.ส.ล. เชื่อมต่อ ม.๑๐-ม.๑๖ ยาว ๕๐๐เมตร นำเสาไฟฟ้า แสงสว่างสู่หมู่บ้านเฝ้าติดตามปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน และจัดเวรยาม ตอนกลางคืนและในช่วงเทศกาลต่าง ๆ สภาพของหมู่บ้านเป็นหินลุกรัง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ๒.ศาสนา ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชอบทำบุญและมีประเพณี วันเพ็ญเดือน4 ของทุกปีทำบุญเบิกบ้านร่วมกันทั้ง ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๕- ๑๐-๑๖ และทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๓ นายอำคา สินอ้วน เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนี้ทางวัดได้ ประสบปัญหาข้อพิพาทเรื่องไม้ยูคาลิปตัสที่อยู่ในวัดขึ้นมา มีการนิมนต์เจ้าอาวาสคือหลวงปู่จำนงให้ออกจากพื้นที่ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาวัดธนขันธ์บำเพ็ญจิตจึงยังไม่มีเจ้าอาวาส แต่ก็มีหลวงปู่ลา รักษาการเจ้าอาวาสแทน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทางการได้แยกเขตการปกครองอีกคือแยกหมู่ ๑๖ โดยการแบ่งจำนวนครัวเรือนออกจากหมู่ที่ ๕ ชาวบ้านหมู่ ๕ จึงได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาใหม่ได้นายค้าย ผ่องแผ้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนี้ก็ได้มีการหาทุนซื้อที่ดินและได้สร้างศาลาประชาคมขึ้นมาใหม่เพราะหลังเดิมนั้นอยู่ในพื้นที่หมู่ ๑๖ และได้สร้างสถานีตำรวจเพื่อเป็นที่พักสายตรวจตำบลบ้านเหล่าขึ้นมาและทำนุบำรุงทางวัดพาชาวบ้านสร้างศาลา การเปรียญหลังใหม่ขึ้นปัจจุบันยังไม่เสร็จสมบูรณ์และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดหนองนกเขียน นายค้าย ผ่องแผ้ว ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่นและหมู่บ้านหนองแวงหมู่ ๕ ได้รับเงินกองทุนจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จึงทำให้บ้านหนองแวงหมู่ ๕ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นายค้าย ผ่องแผ้วได้ครบวาระตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านจึงได้มีโอกาสเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง ๓.วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่มาจากอุบลราชธานีแถวอำเภออำนาจเจริญ จะทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ชาวเดือดร้อนมากเพราะต้องแย่งน้ำในการทำนา และทำการเกษตร บ้านหนองแวงอยู่ในพื้นที่ ปู่ ย่า ตา ทวด มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกถ้ารวมพื้นที่ทั้งหมดในเขตหมู่ ๑๐ จะมีบริเวณกว้างเป็นชุมชนครัวเรือน ๒๕๒ ประชากร ๑,๑๑๐ ๓.วัฒนธรรมประเพณี วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งในขณะนั้นมีพระธุดงค์ชื่อ สวาท ได้มาจำพรรษา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๗มีพระอาจารย์เครือมาจำพรรษา ๓ พรรษาต่อมามีพระอาจารย์เคนมาจำพรรษา ๓ พรรษาและได้สร้างศาลาการเปรียญ เมื่ออาจารย์จาริกจำพรรษาที่อื่น ในขณะนั้นได้นิมนต์หลวงปู่อำคา มาจำพรรษาหลวงปู่อำคาก็จาริกเพราะ คอมมิวนิส แทรกซึมเข้าถึงพื้นที่ต่อมาหลวงปู่เกิด หลวงปู่เคน และหลวงปู่เสนมาจำพรรษาที่วัดนี้ เจ้าอาวาสองค์แรกถึงปัจจุบัน ๑. พระอาจารย์สวาท ๒.พระอาจารย์ภู ๓.หลวงปู่อำคา ๔.พระอาจารย์เกิด ๕.หลวงปู่เคน ๖.หลวงปู่เสน ๗.หลวงปู่พรหมมา จักกะธัมโม ๘.เจ้าอธิการสน ๙.เจ้าอธิการประดิษฐ์ กัลป์ยาโน (องค์ปัจจุบัน) ปราชญ์ชาวบ้าน ๑.นายจันลี ผ่องแผ้ว ผู้นำด้านพิธีการประหมู่บ้าน ๒.นายพรม ทิพย์เนตร ผู้นำด้านจักสาน ๓.นายเบ้า รักรู้ หมอพราหมณ์ รายชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ๑.นายเป สุริยะชัย พ.ศ.๒๔๔๙ ๒.นายกัณหา สายบัว พ.ศ. ๒๕๐๕ ๓.นายจันลี ผ่องแผ้ว พ.ศ.๒๕๐๗ ๔.นายตุด รินเพ็ง พ.ศ.๒๕๑๖ ๕.นายคำมี ภูน้ำต้น พ.ศ.๒๕๒๑ ๖.นายจันลี ผ่องแผ้ว พ.ศ.๒๕๒๑ ๗.กำนันเชย สุขทวี พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๓๖ มาแยกเป็นหมู่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๖ ๑.กำนันรับ รักรู้ พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๗ ๒.นายถวัลย์ ชาคำผง พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘ ๓.กำนันทันศักดิ์ รักรู้ พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึงปัจจุบัน แหล่งอ้างอิง กำนันทันศักดิ์ รักรู้ ผู้ให้ข้อมูล

คำสำคัญ
บ้านหนองแวง
สถานที่ตั้ง
บ้านหนองแวง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 10 ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ เจริญศิลป์ จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านหนองแวง
บุคคลอ้างอิง กำนันทันศักดิ์ รักรู้
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ เจริญศิลป์ จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47290
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่