สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้ดำเนินงานโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนด้วยการส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการโครงการและกิจกรรมสู่ชุมชน ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์จังหวัด กลุ่มจังหวัดล้านนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงสู่แผนยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถขยายผลการดำเนินโครงการฯได้เป็นจำนวน 47 แห่ง ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ชื่อผู้ติดต่อ เบอร์โทร สถานที่ตั้ง
พระครูโสภณปัญญาธร
วัดเชตวัน หมู่ที่ ๓ ต.หัวทุ่ง อ.ลอง จ.แพร่
๕๔๑๕๐ โทร ๐ ๔๕๕๘ ๑๕๙๑
มือถือ ๐๘ ๑๗๙๖ ๓๔๒๗
องค์ประกอบของโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
๑) การส่งเสริมการจัดตั้งคลังสมอง ภูมิปัญญาท้องถิ่น(rain Bank) เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ จากบรรดาผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหลักในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจ
๒) ส่งเสริมอาชีพด้านศิลปะและวัฒนธรรม อันได้แก่ กลุ่มอาชีพ กลุ่มสนใจในกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยใช้แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน(การผลิต การบริโภค และการตลาด) เน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและกองทุนหมู่บ้านมาสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ชุมชนโดยรวม และเป็นการสอดรับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน และปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
๓) ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในตำบล กิจกรรมดังกล่าวไม่เพียงเฉพาะการถ่ายทอดระบบคุณค่าจากระบบความเชื่อในสังคม ยังต้องเป็นศูนย์ฯ ความร่วมมือการดำเนินงานและกิจกรรมทางด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพรี จารีต ๆ ในชุมชน ทำให้กระบวนการถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น เป็นระบบที่ควรได้รับเลือกสรรกลั่นกรองจากชุมชนอย่างมีแบบแผน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากค่านิยมชุมชน
๔) ส่งเสริมการจัดทำลานวัฒนธรรม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีเวทีพบปะสังสรรค์แสดงออก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบคุณค่าต่าง ๆ ในชุมชน ตลอดจนการปรึกษาปัญหาทั้งของตนเองและของชุมชนร่วมกัน
๕) ส่งเสริมการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หอศิลป์ชุมชน เพื่อรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมและการจัดแสดงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
๖) ส่งเสริมงานสารสนเทศและห้องสมุดชุมชน เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ทั้งจากภูมิปัญญาในชุมชนในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับชาติ และสังคมโลกมากระตุ้นให้บุคคล ชุมชน นำความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้อย่างเหมาะสม