ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 38' 59.9798"
13.6499944
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 47.4382"
102.0965106
เลขที่ : 81900
แหล่งโบราณคดีเขาฉกรรจ์
เสนอโดย admin group วันที่ 29 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สระแก้ว วันที่ 16 มกราคม 2555
จังหวัด : สระแก้ว
0 830
รายละเอียด

ที่ตั้ง แหล่งโบราณคดีเขาฉกรรจ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาฉกรรจ์ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ (สระแก้ว - จันทบุรี) ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร สภาพทั่วไป ถ้ำเขาฉกรรจ์เป็นเขาหินปูนเดี่ยวโดด ๆ มีความยาวประมาณ ๑๐๘ เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๔๐ เมตร อยู่สูงจากพื้นราบประมาณ ๑๘๐ เมตร บริเวณโดย รอบเป็นทุ่งนาและสวนป่า ด้านหน้าเขาถูกดัดแปลงเป็นสวนรุกขชาติ เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๖๐ เมตร ทางด้านทิศเหนืออยู่ติดกับบ้านเขาฉกรรจ์ ทางทิศตะวันตกติดกับถนนหลวงหมายเลข ๓๑๗ โดยมีคลองพระสทึงไหลผ่าน อยู่ห่างออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกมีคลองอีด้วง และคลองวังจิก ตามบริเวณรอบเขาฉกรรจ์ มีถ้ำอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ ๗๒ แห่ง ลักษณะเป็นคูหา สามารถกันแดดกันฝนและกันภัยจากสัตว์ร้ายได้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีถ้ำที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ๑. ถ้ำสมบัติ เป็นถ้ำที่ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ๒. ถ้ำมืด เป็นถ้ำที่ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ และเศษภาชนะดินเผา ๓. ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีทางทะลุเชื่อมกับถ้ำแรดซึ่งอยู่ฝั่งวัดรัตนคีรี ๔. ถ้ำทะลุ ถ้าหากปืนขึ้นไปบนถ้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องโหว่ทะลุไปอีกด้านหนึ่งของภูเขา และมองลงไปจะมองเห็นทัศนียภาพของอำเภอเขาฉกรรจ์ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยอีกหลายแหล่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงป่า และค้างคาวนับล้านตัว เวลาตอนเย็นจะบินออกจากถ้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เขาฉกรรจ์ เพื่อไปหาอาหารจำพวกแมลงจากแหล่งอาหารใกล้เคียง จนมองเป็นสายดำบนท้องฟ้านานนับชั่วโมง จากการศึกษาเอกสาร พบว่า มีการสำรวจถ้ำเขาฉกรรจ์ โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น เศษภาชนะดินเผา แวดินเผา (อุปกรณ์ ทอผ้า) ลูกปัดแก้ว ลูกปัดดินเผา ลูกปัดหินคาเนเลี่ยน ลูกปัดหินอาเกด มีสีต่าง ๆ เช่น สีเหลือง สีแดงส้ม ลูกปัดที่ทำจากหินกึ่งรัตนชาติ มีสีเขียว น้ำเงิน ดำ ฟ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกปัดแบบอินโดแปซิฟิก แสดงว่าชุมชนบริเวณเขาฉกรรจ์ มีการติดต่อค้าขายกับชนพื้นเมืองต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังพบขวานหินขัด และหินลับ เป้าหลอมโลหะดินเผา หินดุ เครื่องมือเครื่องใช้โลหะ แท่นหินบดยา เศียรพระพิมพ์ ศิลปะสมัยลพบุรี และพระพุทธรูป

สถานที่ตั้ง
ถ้ำเขาฉกรรจ์
ตำบล เขาฉกรรจ์ อำเภอ เขาฉกรรจ์ จังหวัด สระแก้ว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางเกศินี คุ้มถนอม อีเมล์ sakaeo@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
ถนน สุวรรณศร
ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27000
โทรศัพท์ 037425029 โทรสาร 037425030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่