ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 38' 7.188"
13.63533
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 49' 13.98"
99.82055
เลขที่ : 82309
ไชโป้ว ตราแม่ฮุ้น
เสนอโดย patcharapa manuspanyakul วันที่ 30 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ราชบุรี วันที่ 25 ตุลาคม 2564
จังหวัด : ราชบุรี
0 1087
รายละเอียด

ไชโป้วตราแม่ฮุ้นความรู้เกี่ยวกับหัวผักกาด หรือ หัวไชเท้าผักกาด หรือ ไชเท้า เป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในตำรายาจีน ผักกาดหัว เป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนราก ที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น เนื้อภายในมีสีขาวน่ารับประทานประโยชน์จากหัวไชเท้าเป็นอีกหนึ่งพืชผักตามท้องตลาดที่มีคุณค่า เพราะ "หัวไชเท้า" เป็นผักที่นำมาทำอาหารเพราะมีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ และแร่ธาตุอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนอาซิน ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการ

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นที่ ๑เริ่มจากการนำวัตถุดิบที่ได้สั่งซื้อมาจากชาวไร่ จังหวัดนครสวรรค์ , จังหวัดอุทัยธานี ,อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ,อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ส่วนวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือเกลือเราก็จะสั่งซื้อมาจาก จังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้วัตถุดิบทั้งสองอย่างแล้วเราก็จะนำวัตถุดิบทั้งสอง มาหมักรวมกันในอัตราส่วน ๕๐/๕๐ ในบ่อปูนซีเมนต์ที่มีขนาด ๘X๘ เมตร ลึก ๒ เมตร จากนั้นเราก็ใส่น้ำลงไปครึ่งบ่อและนำวัตถุดิบก็คือหัวไชเท้าและเกลือหมักรวมกันทิ้งไว้ประมาณ ๑ วัน

ขั้นที่ ๒เมื่อหมักทิ้งไว้ครบกำหนด แล้วเราก็จะตักขึ้นมาตากไว้ที่ลานปูนทิ้งไว้ ๓วัน แล้วก็ใช้เกลือสาดเข้าไปที่กองของหัวไชเท้า เพื่อให้หัวไชเท้าได้ซึมซับเกลืออย่างเต็มที่และใช้รถตักกลับหัวไชเท้าไปมา เพื่อให้โดนแดดอย่างเต็มที่เช่นกันแล้วก็ทิ้งไว้อีก ๓ วัน

ขั้นที่ ๓จากนั้นเมื่อตากหัวไชเท้าทิ้งไว้ครบ ๓ วันเราก็จะนำหัวไชเท้าที่ได้นำเข้ามาเก็บเข้าสต็อกในโรงเก็บ เก็บไว้ประมาณ ๑๕ - ๒๐ วัน

ขั้นที่ ๔พอเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ ๓ เราก็จะได้หัวไชโป้วเค็มแล้วเราก็นำออกมาทยอยคัดเพื่อแยกขนาด แยกว่าใช้ได้หรือไม่ได้เพราะว่าอาจมีบางอันที่ฟ่ามเราก็จะนำไปทำอย่างอื่น

ขั้นที่เมื่อเราได้ทำการแยกเสร็จแล้วเราก็จะนำเอาหัวไชโป้วเค็มมาเข้าเครื่องล้างให้สะอาด

ขั้นที่ ๖เมื่อเราได้ทำการล้างสะอาดเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาตัดเป็นแว่น เป็นท่อน เป็นลูกเต๋า และอื่น ๆ

ขั้นที่ ๗เป็นขั้นตอนแรกในการทำหัวไชโป้วหวานก็จะนำหัวไชโป้วเค็มที่ได้ดองโดยในขั้นต้นเราก็จะนำมาดองหวานในโอ่งมังกร การดองหวานใน ๑ โอ่งมังกรนั้นจะใช้หัวไชโป้วเค็มประมาณ ๙๐ กิโลกรัม/น้ำตาลทรายประมาณ ๕๐ กิโลกรัม ใส่ลงไปในโอ่งที่มีนำอยู่ครึ่งโอ่งจากนั้นเราก็ใช้ฝาชีปิดโอ่งให้เรียบร้อยทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน เราก็จะได้หัวไชโป้วหวาน

ขั้นที่ ๘เมื่อเราได้หัวไชโป้วหวานมาแล้วเราก็จะนำมาบรรจุใส่ถุง ๆ ละ ๓๐๐ กรัม ,๒๐๐ กรัม ฯลฯ และทำการแพคก็เป็นเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำหัวไชโป้วหวาน สามารถนำออกมาจำหน่ายได้

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ไชโป้ว ตราแม่ฮุ้น
เลขที่ 38 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย - ถนน -
ตำบล เจ็ดเสมียน อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอโพธาราม
บุคคลอ้างอิง นางกัญญา งามรัตนกุล
ชื่อที่ทำงาน ไชวโป้วตราแม่ฮุ้น
เลขที่ 38 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย - ถนน -
อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่