ความหมาย/ที่มาของชื่อหมู่บ้าน บ้านเตาแดก บริเวณแห่งนี้เดิมเป็นหนองน้ำข้างลำห้วยทัพทัน โดยริมหนองน้ำแห่งนี้มีตำนานการอพยพของช่างตีเหล็กชาวเขมร ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นช่างตีเหล็กอยู่บริเวณริมหนองน้ำดังกล่าว ลักษณะเป็นเตาเผาเหล็กให้ร้อนก่อนประกอบเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน คือคำว่า เตา เป็นภาษาไทยทับศัพท์กับภาษาเขมร และคำว่า แดกหรือเดก เป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า เหล็ก จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านเตาแดก” ประวัติและการปกครองหมู่บ้าน เมื่อประมาณปี พ. ศ ๒๔๖๐ นายโครงป้องภัย นายเมา นายดำ และนายนาม ได้พาลูกหลานมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นชาวส่วย (กวยหรือกูย) หมู่บ้านนี้แยกมาจากบ้านฉลีก หมู่ที่ ๕ โดยมีผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านได้ปกครองและพัฒนามาตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ๑. นายกัณหา ม่วงศรี ๒. นายพาน บุญท้าว ๓. นายลอน บุญท้าว ๔. นายประสาน ป้องภัย ๕. นายสำราญ ฉลาดมาก ๖. นายเพชร บุญศรี (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน) กลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาพูด-ภาษาเขียน ของคนในหมู่บ้าน (อดีต) ภาษาเขมร (ไทยขะแมร์) และภาษาลาว ภาษาเขียนภาษาไทย (ปัจจุบัน) ภาษาส่วยและภาษาลาว (ไทยอีสาน) ภาษาเขียนภาษาไทย ประเพณี-พิธีกรรมท้องถิ่น ของชุมชนในหมู่บ้าน - พิธีกรรมดั้งเดิมและความเชื่อถือ มีการนับถือผีสาง ภูตผีปีศาจ เชื่อในลัทธิตามความนิยมของ คนแก่ เช่นพิธีกรรมแกลมอ ไหว้ปู่เจ้า บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดินฟ้าอากาศ และสภาพแวดล้อม - ประเพณีที่สำคัญคือ ประเพณีการทำบุญร่วมมิตร ประเพณีบุญตรุษสงกรานต์ แต่งงาน ประเพณีบวชนาค ประเพณีบุญข้าวสารท ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญเข้าพรรษา-ออก พรรษา ประเพณีบุญกฐิน บุญข้าวจี่ แซนยะ บุญบั้งไฟ งานขึ้นบ้านใหม่ อุปสมบท เป็นต้น โบราณสถาน/โบราณวัตถุ/สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน - วัดป่าสารญาณวรประดิษฐ์ อาชีพของคนในหมู่บ้าน (อาชีพหลัก) ทำนา (อาชีพรอง/อาชีพกลุ่มย่อย) ทำสวนยางพารา และไร่อ้อย (หนึ่งผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน) การทอผ้าไหมพื้นเมือง (อาชีพที่เด่นและมีความสำคัญ) สวนยางพารา ทรัพยากรธรรมชาติในหมู่บ้านที่สำคัญ ๑ ลำห้วยทัพทัน ๒ ป่าชุมชน (พื้นที่ ๑๑๖ ไร่) ๓ ป่าอนุรักษ์ บุคคลสำคัญ/ผู้รู้ด้านต่างๆในหมู่บ้าน ๑. หมอพื้นบ้าน คือ นายนา สุขวิเศษ ๒. ยาสมุนไพร คือ นางมืด บุญทัน นางลิบ สุขวิเศษ ๓. หมอผู้นำด้านศาสนพิธี คือ นายสุรินทร์ อยู่นาน ๔. ผู้นำด้านพิธีกรรมโบราณ แซ่นปู่ตา คือนายลาย แสงศรี ๕. ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม คือ นางพร สุขวิเศษ (แกลมอ) ๖. หัตถกรรมพื้นบ้าน คือ งานช่างไม้ - งานปูน ได้แก่ นายเพชร บุญเสก นายสมชัย ทิมทอง นายสมเกียรติ ผลเจริญ ๗. ผู้มีความสามารถด้านโหราศาสตร์ /ไสยศาสตร์ ได้แก่ นางนิล ศรีประเสริฐ นางอิฐ บุญเย็น ชื่อคณะดนตรี-การแสดง และการละเล่นพื้นบ้านในหมู่บ้าน - การแสดงละเล่นพื้นบ้านคือ ประเพณีแกลมอ โดยมีนางพร สุขวิเศษ เป็นผู้มีความรู้ด้านดังกล่าว ชื่อหน่วยงาน องค์กร สถานที่สำคัญ ๑. วัดป่าสารญาณวรประดิษฐ์ (ธ) ๒. โรงเรียนบ้านเตาแดก