การทอผ้ามัดหมี่ของชาวร้อยเอ็ด ใช้ลายเก่าแก่ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และมีการพัฒนาลายใหม่ๆ ขึ้นเพื่อความแปลกใหม่และสวยงาม เหมาะกับความต้องการของตลาด แต่ไม่ว่าจะพัฒนาลายไปมากน้อยเพียงใด ลายดั้งเดิมยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของลายประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นอยู่นั่นเอง จากการมอบถามผู้สูงอายุที่มีอาชีพทอผ้าในท้องถิ่นถึงที่มาของลายผ้า พบว่าต้นแบบมาจากพืช ส่วนของต้นพืช สัตว์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ซึ่งบางอย่างสูญหายไปแล้ว เนื่องจากไม่มีการสืบทอด แต่ยังปรากฏต้นเค้าอยู่บนลายมัดหมี่ เช่น นอกจากนี้ยังมีลาย ดอกแก้วหรือลายหน้าเสือ มีต้นแบบมาจากต้นดอกแก้วหรือส่วนหน้าของเสือ ลายแมงสีเสียด เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยในน้ำ ตัวเล็ก มีปีก ชาวบ้านนิยมจับไปทำอาหาร ลายขอก่องข้าว ลายแมงมุม ลายกอตะไคร้ ลายขาเปีย ต้นแบบมาจากขาเปียซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกรอฝ้ายออกจากในที่ใช้ในสมัยโบราณ ลายงูเหลือม ลายขอแคม้า ต้นแบบมาจากแคม้า แคม้า เป็นคำภาษาถิ่นอีสาน ใช้เรียก บังเหียนม้า ลายกีบบักบก ต้นแบบจากเมล็ดต้นจบกเวลาผ่าซีก ลายเอี้ยเยี่ยวควายหรือลายง่องแง่งเยี่ยวควาย ต้นแบบมีที่มาจากรอยควายตัวผู้เดินเยี่ยว เป็นลายทางนิยมทอเป็นหมี่ซิ่นคั่นข้อ โดยใช้ลายกีบบักบกประกอบ ลายนาคเกี้ยว ต้นแบบมาจากบันไดโบสถ์หรือบันไดวัดในสมัยโบราณ ซึ่งมักประดิษฐ์เป็นรูปตัวนาค โดยหางนาคจะทอดลงมาจากตัวโบสถ์ หัวนาคจะอยู่บันไดขั้นสุดท้ายของวัดหรือโบสถ์ เป็นต้น ซึ่งบางอย่างจะสูญหายไปแล้ว เนื่องจากไม่มีการสืบทอด แต่ยังปรากฏต้นเค้าอยู่บนลายมัดหมี่ ลายต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลายมัดหมี่ที่ทอกันมาแต่ดั้งเดิม ปัจจุบันได้ถูกนำมาประยุกต์ใหม่ หรือไม่ก็นิยมทำกันแล้วมีรายละเอียดเกี่ยวกับลายและที่มากขึ้น