ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 9' 43.7288"
14.1621469
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 6' 10.971"
100.1030475
เลขที่ : 98165
พิธีปลงศพของไทยทรงดำ
เสนอโดย ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ วันที่ 15 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2554
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 305
รายละเอียด

พิธีปลงศพของไทยทรงดำนั้น ญาติอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปของผู้ตายจะมาช่วยเหลืองานปลงศพกัน โดยมีหัวหน้าคนหนึ่งเป็นผู้ชายไทยทรงดำ เรียก หัวหน้า ผู้ชายที่ทำพิธีในการปลงศพนี้ว่า “นายเขย” จะสั่งให้คนช่วยกัน ตัดไม้ไผ่ทำแม่แคร่ โดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำตัดเป็น ๔ ท่อน ๒ ท่อนแรก ยาว ๕ ศอก ๒ ท่อน หลังยาวศอกเศษ ๆ เข้ารูปกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฟาก ไม้ไผ่ปูเป็นแค่ ทำขาแม่แคร่สี่มุม สูงคืบเศษ ๆ แล้วใช้ซี่ไม้ไผ่ขนาด ๓ นิ้ว ยาวเท่าลำตัวศพ ถักเป็นผืนเฝือกห่อศพ (มีเคล็ดว่า ผืนเฝือกใช้ไม้จำนวนคี่ คือ ผู้ตายถึงแก่กรรมก่อนคู่ของตน ถ้าผืนเฝือกใช้ไม้จำนวนคู่ คือ ผู้ครองหมดคู่ครองแล้ว ถ้าผู้ตายเป็นโสด ใช้จำนวนไม้ ๘ ซี่ ถักเป็นผืนเฝือก) ต่อจากนั้นก็ทำประทุนสานด้วยไม้ไผ่ สวมครอบบนแม่แคร่คลุมศพ (ซึ่งทำแทนต่างหีบศพ) การบรรจุห่อศพ หรือ ขอน ก็จะจัดการวางบนแม่แคร่ ยกย้ายแม่แคร่ห่อศพ ไปวางระหว่างขื่อเสาเรือน ให้ศพตรงขื่อเสาเรือนพอดี ซึ่งมีผ้าไหม หรือผ้าฝ้ายสีขาว หรือสีแดงปูรองยาวไปทางปลายเท้าศพ แล้วทบผ้าที่เหลือนั้นมาคลุมตัวศพถึงคอศพ และผ้าอีกด้านหนึ่งคลุมทับศีรษะให้มิด บนใบหน้าของศพจะมีผ้าไหมตัดเป็นคล้ายผ้าเช็ดหน้าปิดหน้าศพไว้ ตำหมากใส่ปากศพ แล้วใช้ไม้กลัด(ทำด้วยไม้ไผ่) กลัดชายผ้าชั้นบนและชั้นล่างให้ติดกัน ห่อมัดศพตรึงไว้กับแม่แคร่ จากนั้นนายเขย ก็จะเอาประทุนที่สานด้วยไม้ไผ่คร่อมลงปิดร่างศพ ปิดหัวท้ายด้วยการฝักไม้ยึดให้แน่น ปลายไม้โผล่ขึ้นมาจากหลังประทุน ๑ ศอกเศษ ๆ แล้วโยงด้วยเชือกระหว่างปลายไม้ทั้งสองอยู่เหนือประทุนศพ บนหลังประทุนศพคลุมด้วยเสื้อฮี กลับเอาด้านที่มีสีสันเขียวเหลืองแดงออกคลุมไว้ เหนือศพขึ้นไปจะมีราวไม้ไผ่แขวนไว้กับขื่อบ้านเรียกว่า “ขวัวล่วน” เจ้าของบ้านจะนำเสื้อผ้าของผู้ตายแขวนพาดไว้และยังมีห่อผ้าไหมและผ้าฝ้ายมาวางพาดอีก ถือว่าถ้ามีจำนวนมาก แสดงถึงความขนับและฐานะดี และมีขรัวสวนนี้ ยังมีไข่ดิบห่อข้าวเหนียวแขวนไว้อีกด้วยต่อจากพับผ้าไหม มีเส้นเชือกทำจากด้ายเส้นไหม รูดด้วยขี้ผึ้งมิ้มโยงมาที่ศพตรงศีรษะและบนใบหน้า (เปรียบเสมือนสายวิญญาณของผู้ตาย) ที่ปลายเท้าศพ ก็จะมีเครื่องเซ่นไหว้(ข้าวปลาอาหาร หมาก พลู น้ำ) ตั้งไว้ ถ้าเป็นศพผู้หญิงวางไว้ใต้ขื่อในห้องผีเรือน และจะต้องก่อกองไฟไว้ข้างบ้านติดกับห้องผีเรือนประมาณ ๑ วา ให้ลุกทั้งคืน ไทยทรงดำเรียกว่า “วันแสงไฟเฮือน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตาย และห้ามก่อกองไฟไว้ข้างบ้านเช่นนี้ถ้าไม่มีการตาย เพราะถือว่าไม่เป็นมงคล

คำสำคัญ
ศพ ปลงศพ พิธี
สถานที่ตั้ง
อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางปรียาวรรณ ชะเอมวัน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ถนน สุพรรณบุรี-ชัยนาท
อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035-536058 โทรสาร 035-536045
เว็บไซต์ ้http://province.m-culture.go.th/suphanburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่