ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 43' 0.4868"
19.716801879538447
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 9' 44.5933"
99.16238702392581
เลขที่ : 99487
ประวัติบ้านสันทราย
เสนอโดย noi วันที่ 17 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 269
รายละเอียด

บ้านสันทราย แต่เดิมนั้นบ้านสันทราย คือ หมู่ที่ 13 ตำบลปงตำ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งมีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านสันทราย บ้านหนองป่าซาง บ้านหนองนกแต้ (ปัจจุบัน คือ บ้านดอยหล่อ หมู่ที่ 14 ตำบลแม่ทะลบ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ทางการได้แบ่งการปกครองของตำบลปงตำ ออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลปงตำ และตำบลศรีดงเย็น ดังนั้น บ้านสันทราย จึงกลายมาเป็น หมู่ที่ 8 ของตำบลศรีดงเย็น รวมกับบ้านหนองป่าซาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 บ้านสันทรายจึงขอแยกออกจากบ้านหนองป่าซางมาเป็น หมู่ที่ 12 ตำบลศรีดงเย็น จนถึงปัจจุบันนี้

ตำนานการตั้งหมู่บ้าน

ก่อนที่บ้านสันทรายจะมาเป็นหมู่ที่ 13 ตำบลปงตำ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ที่ตั้งขึ้นจากการโยกย้ายถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันสร้างหมู่บ้านขึ้น โดยกลุ่มคนเหล่านี้ได้มองหาทำเลที่ตั้งของหมู่บ้าน คือ ต้องใกล้แหล่งน้ำ และมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เพื่อสะดวกในการหาอาหารมาประทังชีวิตสำหรับการอยู่รอดของชาวบ้าน จึงได้ตั้งที่อยู่อาศัยขึ้นบนเนินราบของป่าที่หมดสภาพ เนื่องจากการขุดเจาะตรงไหนก็เจอแต่ทราย จึงเรียกจุดที่ตั้งของหมู่บ้านว่า “สันทราย” ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบทอดกันมานั้น มีแก่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน ชื่อ ขุนใจ หรือ ท้าวใจ เป็นแก่บ้านคนแรก คำว่า “แก่บ้าน” หมายถึง ผู้ที่มาอยู่อาศัยก่อนใครในหมู่บ้านจึงเรียกว่าแก่บ้าน และคำว่า ขุน และท้าว

นั้น ก็ได้มาจากการแต่งตั้งของเจ้านายหรือพระยาต่าง ๆ ในสมัยนั้น ซึ่งแต่งตั้งให้กับผู้ที่มีความดีความชอบในการดูแลรักษาลูกบ้านให้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข และมีการส่งส่วยให้เจ้านายฝ่ายเหนืออย่างสม่ำเสมอ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุน หรือ ท้าว ที่ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกกัน แก่บ้านคนต่อมาของบ้านสันทราย ชื่อ หนานใจ

ได้ปกครองบ้านสันทรายต่อจากขุนใจหรือท้าวใจ และในช่วงนี้ทางการได้เริ่มให้คนไทยมีการใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกในสมัยของรัฐกาลที่ 5 และทรงให้มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งผู้นำหมู่บ้านขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านเพื่อดูแลทุกข์สุขของราษฎรต่างพระเนตร พระกรรณ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านสันทราย ชื่อ นายเสาร์ กิติใจ ( ซึ่งนามสกุลก็ได้รับการแต่งตั้งจากชื่อ ขุนใจ หรือ ท้าวใจ สำหรับคำว่า กิติ แปลงมาจากคำว่า เกียรติ ซึ่งขุนใจเป็นผู้ที่ทำคุณความดี มีเกียรติควรยกย่อง จึงให้ใช้ชื่อสกุลว่า “กิติใจ” ) และต่อมา ในปี พ.ศ. 2440 ได้มีพ่ออุ้ยหมื่น แม่อุ้ยป้อ ทรายก๋อง , พ่ออุ้ยหน้อยเฮือน แม่อุ้ยหน้อย หลวงวัน , พ่ออุ้ยก๋อง แม่อุ้ยหล้า อินสม , พ่ออุ้ยเขียว แม่อุ้ยปัน เขียวสุข และคนอื่น ๆ ที่ได้อพยพถิ่นฐานมาจากบ้านกวน บ้านล้องอ้อ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาสมทบกับผู้คนในหมู่บ้านกลุ่มก่อน ๆ ที่ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันทราย ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้นำเอาภูมิปัญญาการปั้นดินเผาเข้ามาเผยแพร่ในหมู่บ้านสันทรายเป็นครั้งแรก

ผู้ใหญ่บ้านที่ปกครองดูแลทุกข์ สุขของราษฎรในหมู่บ้านสันทราย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

1. ขุนใจ หรือ ท้าวใจ

2. นายหนานใจ

3. นายเสาร์ กิติใจ

4. นายคำ กิติใจ

5. นายศรีวงค์ สมศรี

6. นายสิงห์คำ ละคร

7. นายสม ทรายมูล

8. นายแก้ว กองทอง

9. นายอ้าย จันตา

10. นายบุญมา กิติใจ

11. นายลอด เขียวสุข

12.นายสายชน จันทร์สม

สถานที่ตั้ง
บ้านสันทราย
หมู่ที่/หมู่บ้าน 13 ซอย - ถนน เชียงใหม่-ฝาง
ตำบล ศรีดงเย็น จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง Lakana อีเมล์ lakana_noi@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50300
โทรศัพท์ 053 112595-6 โทรสาร 053 112595-6
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่