อำภอตากใบ
๑.ประวัติความเป็นมา
สมัยรัฐกลันตันเดิมอยู่ในการปกครองของไทยนั้น พื้นที่อำเภอตากใบขึ้นอยู่กับเมือง กลันตัน ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ไทยต้องเสียดินแดนบางส่วนให้แก่อังกฤษ ในสมัยที่ปกครองเขตมาลายู ซึ่งรวมถึงรัฐกลันตันด้วย อังกฤษจึงพยายามที่จะผนวกดินแดนส่วนอำเภอตากใบเข้าไปอยู่ในเมืองกลันตันเขตมลายู แต่ทางไทยก็พยายามหาเหตุผล และข้อเท็จจริงมายืนยันต่ออังกฤษว่าเมืองบางนราถึงตากใบเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยมาแต่เก่าก่อนนั้นเป็นร้อยๆปี โดยอ้างเอาวัดชลธาราสิงเหซึ่งเป็นวัดที่ชาวไทยได้สร้างขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยปีมาแล้ว เป็นฐานยืนยันว่าชาวไทยที่อยู่ที่ตากใบมานานที่ชาวไทยก่อนที่ชาวไทยมลายูจะเข้ามาอยู่ ในที่สุดรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองมลายูก็ยอมด้วยเหตุผล ดังนั้น ในการทำสนธิสัญญาตาบา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ตกลงเป็นอาณาเขตระหว่างไทยกับมลายู โดยถือเป็นแนวแม่น้ำโก-ลก ดังเช่นปัจจุบันนี้ ตากใบจึงเป็นของไทยมาจนถึงปัจจุบัน โดยขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา หรือนราธิวาส ซึ่งสมัยนั้นเมืองนราอยู่ในปริมณฑลปัตตานี
คำว่าตากใบ ตามประวัติเดิมกล่าวว่ามีคนชื่อ ตาบา ตั้งรกรากแหล่งอยู่เป็นคนแรก ต่อมามีประชากรมาอาศัยจนเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น กลายเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านตาบา อยู่ในตำบลเจ๊ะเห และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นตากใบ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ก็ได้ประกาศกฤษฏีกายกฐานะตำบลเจ๊ะเห ตั้งเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอตากใบ ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลเจ๊ะเห และเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน
๒.สภาพทางภูมิศาสตร์
๒.๑ ที่ตั้งและขนาด
อำเภอตากใบเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน ๑๓ อำเภอของจังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ประมาณ
๒๕๓.๔๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๕๘,๑๒๕ ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนราธิวาส ห่างจากจังหวัดนราธิวาสตามถนนทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๔๐๘๔ ประมาณ ๓๓ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑,๑๘๒ กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอ่าวไทยและอำเภอเมืองนราธิวาส
ทิศใต้ ติดติดกับอำเภอสุไหงโก-ลก และ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
และอำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอตุมปัต ประเทศมาเลเชีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส และอำเภอเจาะไอร้อง
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่ของอำเภอตากใบ คิดเป็นร้อยละ ๕.๖๖ ของพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นรายตำบลดังนี้
๑ .ตำบลเจ๊ะเห
๒ .ตำบลไพรวัน
๓ .ตำบลบางขุนทอง
๔ .ตำบลพร่อน
๕ .ตำบลเกาะสะท้อน
๖ .ตำบลศาลาใหม่
๗ .ตำบลโฆษิต
๘ .ตำบลนานาค
ที่มา :ที่ทำการปกครองอำเภอตากใบ
๓. การปกครอง
การบริหาราชราชการส่วนภูมิภาค
อำเภอตากใบมีหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในพื้นที่ ทั้งหมด ๒๔ แห่ง ประกอบด้วยหน่วยงานราชการ ๑๘ แห่งและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ๖ แห่ง
อำเภอตากใบ แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ ตำบล ๕๓ หมู่บ้าน ดังนี้
๑. ตำบลเจ๊ะเห มี ๕ หมู่บ้าน
๒. ตำบลไพรวัน มี ๑๐ หมู่บ้าน
๓. ตำบลบางขุนทอง มี ๖ หมู่บ้าน
๔. ตำบลพร่อน มี ๖ หมู่บ้าน
๕. ตำบลเกาะสะท้อน มี ๙ หมู่บ้าน
๖. ตำบลศาลาใหม่ มี ๘ หมู่บ้าน
๗. ตำบลโฆษิต มี ๕ หมู่บ้าน
๘. ตำบลนานาค มี ๔ หมู่บ้าน
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
อำเภอตากใบมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทั้งหมด จำนวน ๘ แห่ง ประกอบด้วย
๑. เทศบาลเมืองตากใบ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเจ๊ะเห
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาใหม่
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต
๖. องค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน
๗. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน
๘. องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนทอง
๔. ประชากร
๔.๑ ประชากรปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ อำเภอตากใบ มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ ๖๖,๑๕๘ คน โดยแบ่งเป็นประชากรชาย ๓๒,๕๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๒๖ ประชากรหญิง ๓๓,๕๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๗๔
ในเขตอำเภอตากใบ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๘ ตำบล มีประชากร รวมทั้งอำเภอประมาณ ๖๕,๗๘ คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๑๔,๐๐๗ ครัวเรือนมีพื้นที่ประมาณ ๒๕๓.๔๕๗ ตารางกิโลเมตร และมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย ๒๕๙.๕๓ ต่อตารางกิโลเมตร
ในด้านศาสนา และเชื้อสายประชากรในอำเภอพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทย-มุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๘๐ และมีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆเช่น ศาสนาพุทธ ร้อยละ ๒๐