ปราชญ์ชาวบ้าน
การทำขนมในพิธีมงคล (ขนมสมางัต)
“ปูตูสมางัต นาซิมานิส กา-ระ”
ประวัติ
นางลีเมาะ มะมิง บ้านเดิมอยู่ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๕ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ ๕๙/๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส บิดาชื่อนายเจ๊ะแม มะมิง และมารดาชื่อนางแมะ มะมิง เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้อง ๒ คน
ประวัติชีวิตและผลงาน
นางลีเมาะ มะมิง มีบุตรด้วยกัน ๖ คน สามีชื่อ นายมะรอเซะกูโน มีอาชีพทำสวน นางลีเมาะ ได้รับการถ่ายทอดการขนมในพิธีมงคลนี้จากมารดาผู้ให้กำเนิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีความสนใจในด้านอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสามารถรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นี้และรักษา ถ่ายทอดให้เยาวชนและผู้ที่สนใจได้ฝึกได้ปฏิบัติ ประกอบกับได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิทยากรครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลศรีสาคร ของกระทรวงวัฒนธรรม
ส่วนผสม
๑. ข้าวเหนียว๑ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย๑ กิโลกรัม
๓. น้ำเปล่า๓ แก้ว
วัสดุ/อุปกรณ์
๑. เตาแก๊ส๒. หม้อ ๓. กะละมัง๔. ถาด ๕.มีด ๖. แม่พิมพ์๗.ทัพพี
ขั้นตอนวิธีการทำ
๑. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด เสด็ดน้ำให้แห้ง แล้วนำไปนึ่ง คั่ว แล้วบดให้ละเอียด
๒. ตั้งหม้อใส่นำตาลเติมน้ำให้ท่วมน้ำตาลตั้งไฟเชื่อมให้คล้ายยางมะตูม คนให้น้ำตาลเชื่อมเย็นลง
๓. นำแป้งที่บดเรียบร้อยผสมน้ำตาลเชื่อมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเทแป้งลงในแม่พิมพ์ไม้
การขึ้นรูปขนมปูตู
๑.นำแม่พิมพ์โรยแป้งรองพื้นก่อนเพื่อไม่ให้บนทติดแม่พิมพ์
๒.เทขนมที่คลุกเคล้าแล้วอัดลงในแม่พิมพ์แล้วกดให้แน่น
๓.ใช้มีดปาดหน้าแม่พิมพ์ให้เรียบง่ายต่อการเคาะเอาขนมออก
๔.นำไม้เคาะมีพิมพ์เบา ๆ ให้ขนมออกจากแม่พิมพ์
๕.แล้วเลาะเอาขนมออกโดยการคว่ำแม่พิมพ์
๖.ใส่จานพร้อมเสิร์ฟหรือจะตกแต่งระบายสีให้สวยงามก็ได้
ขนมนาซิมานิส
ส่วนผสม
๑. ข้าวเหนียว๑ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย๑ กิโลกรัม
๓. สีอนามัย
วัสดุ/อุปกรณ์
๑. เตาแก๊ส๒. หม้อนึ่ง ๓. ตะหลิวไม้๔. ถาด ๕.มีด ๖. แม่พิมพ์๗.ทัพพี ๘.กระทะ ๙. ใบตองแห้ง ใบตองสด
ขั้นตอนวิธีการทำ
๑.นำข้าวเหนียวมาแช่น้ำประมาณ ๑/๒ ชั่วโมง แล้วนำมานึ่งจนสุก
๒.นำข้าวเหนียวสุกลงกระทะตั้งไฟแล้วเทน้ำตาลทรายลง ผสมสีอนามัย คั่วให้เข้ากันจนน้ำตาลเป็นเกล็ด
๓.ตักข้าวเหนียวใส่แม่พิมพ์ กดให้แน่นแล้วยกพิมพ์ออก
การต่อยอดเพื่อให้เกิดรายได้
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ภูมิปัญญาที่สามารถทำขนมประเภทนี้นับวันลดน้อยลง หรทอบางพื้นที่ไม่มีภูมิปัญญาเลย อีกทั้งตลาดก็ยังให้ความสนใจอยู่บ้าง จึงเป็นโอกาสของผู้ที่ได้ศึกษา ฝึกฝนประกอบขนมประเภทนี้ ประกอบเป็นอาชีพเสริม และยังเป็นการอนุรักษ์ รักษาขนมโบราณไว้ได้อีกทางหนึ่งอย่างน่าภาคภูมิใจ