ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 30' 40.401"
16.5112225
Longitude : E 102° 41' 27.6922"
102.6910256
No. : 105425
กระติบข้าว บ้านโคกล่าม
Proposed by. prasan54 Date 30 July 2011
Approved by. ขอนแก่น Date 27 Febuary 2012
Province : Khon Kaen
0 2180
Description

กระติบข้าว บ้านโคกล่าม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านโคกล่าม ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กระติบข้าว บ้านโคกล่าม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มีความสวยงาม คงทน และสามารถเก็บความร้อนได้ดี เพราะมีการควบคุมตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิตใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และมีราคาไม่แพงเป็นที่ต้องการของตลาด

.

ประวัติ/ความเป็นมา

.

กระติบข้าว บ้านโคกล่าม เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่พึ่งพิงธรรมชาติ อาศัยวัตถุดิบในชุมชน และผลิตขึ้นภายในครอบครัว เพื่อสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว โดยทำในช่วงเวลาว่างหลังจากการทำไร ทำนาเสร็จแล้ว สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนมายาวนาน กระติบข้าวบ้านโคกล่ามมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว สินค้าได้รับความสนใจจนไม่สามารถผลิตทันตามความต้องการของตลาด เมื่อปี พ.ศ.2546 ได้มีการรวมตัวกันของประชาชนในชุมชนบ้านโคกล่าม หมู่ที่ 2 ตำบลสาวะถี จำนวน 25 คน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านโคกล่าม” มีนายสมหมาย เขียวแข้ อายุ 59 ปี เป็นประธานกลุ่ม วัตถุประสงค์การรวมกลุ่ม 1) เพื่อเพิ่มผลผลิต 2) เพื่อรักษาคุณภาพและ มาตรฐานกระติบข้าว 3) เพื่อพัฒนารูปแบบกระติบให้เป็นที่ต้องการของตลาด

.

เมื่อปี พ.ศ.2547 เทศบาลตำบลสาวะถี ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 30,000 บาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุน “กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านโคกล่าม” ให้เข้มแข็งและสามารถสาน/ผลิตกระติบข้าวให้ทันตามความต้องการของตลาดต่อไป และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

.

วัสดุที่ใช้ : สานกระติบข้าว

.

1. ไม้ไผ่บ้าน 2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่ 4. กรรไกร
5. มีดโต้ 6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม) 8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก 10. เครื่องกรอด้าย

.

วิธีทำ : ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

.

1. การเตรียมไม้ไผ่ สำหรับการสานกระติบข้าวควรมีอายุประมาณ 4-5 เดือน ไม่เกินหนึ่งปี ขนาดของปล้องไม้ไผ่ความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียวออก และตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน
2. การจักตอก จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย
3. การก่อกระติบ เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าว บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อน ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามต้องการ เริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น
4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ “ลายข้างกระแตสองยืนหรือสามยืน” การขึ้นลายสองนั้น จะยก 2 ข้าม 2 และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
5. การสานกระติบ จะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวายจะหายากในปัจจุบัน
6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้าน สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกันนำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
7. ฝากระติบข้าว จะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบ เพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้นจะทำให้ขึ้นราและควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

Location
กลุ่มสานกระติบข้าวบ้านโคกล่าม
No. - Moo 2/โคกล่าม Soi - Road บ้านม่วง-บ้านโคกล่าม
Tambon สาวะถี Amphoe Mueang Khon Kaen Province Khon Kaen
Details of access
กำนันตำบลสาวะถี(นายไพฑูรย์ คำโฮง) โทร. 08 6855 0325
Reference ประสาน บุตรจันทร์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองขอนแก่น
No. - Moo - Soi - Road ประชาสโมสร
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Khon Kaen Province Khon Kaen
Tel. 08 1874 6942
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่