ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 8° 10' 45.1189"
8.1791997
Longitude : E 99° 51' 18.0338"
99.8550094
No. : 108470
พระแม่เศรษฐี
Proposed by. นครศรีธรรมราช Date 15 August 2011
Approved by. mculture Date 29 March 2016
Province : Nakhon Si Thammarat
0 2793
Description

วัดร่อนนาเป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งในยุคกรุงศรีอยุธยาเพราะยังคงเหลือสิ่งปลักหักพังปัจจุบัน ประมาณว่าวัดร่อนนาเคย เป็นวัดเจริญรุ่งเรือง มาแล้วในอดีตด้วยหลักฐานพอที่จะยืนยันได้ก็คือ พระพุทธรูปอุ้มบาตรทั้งองค์มีความสูงประมาณ 1.70 เมตร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระที่จัดได้ว่าสวยงามมาก ซึ่งพระพุทธรูปปางพระร่วงองค์เป็นที่สักการะบูชากราบไหว้ ของชาวร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางพระร่วงอุ้มบาตรจากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาของพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนา พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอร่อนพิบูลย์ นับย้อนรอยไป 700-800 ปีมาแล้วเป็นยุคการเผยแพร่ของพระพุทธศาสนาและมหาสงครามของประเทศเพื่อนบ้าน และยุคมหาสงครามไทยสยามใต้กับ พวกชวากะ (สลัดชวา) โจรแขกที่บุกเข้าโจมตีจับ เอาทรัพย์สินและ ชาวเมืองไปเป็นเชลยต่างผลัดกับรบชนะและแพ้สลับกัน ไปราษฎรต้องพากันอพยพ หลบหนีภัยสงครามที่ยกโจมตีบรรดาเมืองต่าง ๆ แตก พร้อมกับต้อนชาวเมืองเป็นเชลยศึก ส่วนที่พากันหลบหนีเข้าไปในป่าพากันส้องสุมรวมตัวต่อสู้ศัตรูในการดักซุ้มโจรตีทำลายข้าศึก บ้างก็พาลูกเมียข้าทาสบริวารหลบหนีไปหลบซ่อนอยู่ในดินแดนภาคใต้ ซึ่งในจำนวนนี้มีเศษรฐีกรงมาศได้รำภรรยาพร้อมด้วยข้าบริวารหลบหนีภัยสงครามไปตั้งรากฐานแปลงบ้านสร้างเมืองอยู่บนภูเขาร่อนนา(หรือในพื้นที่กรุงมาศ) ปัจจุบันเป็นที่กั้นน้ำทำนบสองของเมืองแร่หนองเป็ด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ในปัจจุบัน เมื่อท่านเศรษฐีกรงมาศได้สร้างบ้านเรือนขึ้นมาก็ได้มีชาวบ้านที่หนีภัยสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้นมาตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ครั้นหลายปีต่อมาท่านเศรษฐีแห่งหมู่บ้านกรงมาศก็ได้ทายาทบุตรีจากภรรยาคนหนึ่ง และเมื่อกุมารีเจริญวัยเติบโตขึ้นก็มีผิวพรรณงดงามเหมือนทองคำ ท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นบิดาและมารดา ตลอดจนข้าทาสบริวารต่างรักใคร่ ท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นพ่อและแม่ต่างทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรีดังแก้วตาดวงใจ จนกุมารีเจริญวัยได้ 16 ปีวันหนึ่งได้ชวนพี่เลี้ยงไปเล่นน้ำที่โตน (คือฐานน้ำตกบนภูเขา) และในขณะที่บุตรีท่านเศรษฐีกรงมาศ กับพี่เลี้ยงเล่นน้ำกัน อย่างสนุกสนานก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อบุตรีท่านเศรษฐีกรงมาศกับพี่เลี่ยงได้ลื่นเสียหลักตกลงจากหน้าผาน้ำตก ปรากฏว่า ทั้งสองหายสาบสูญไปกับกระแสน้ำ อันเชี่ยวกราดและเมื่อถึงเวลาตะวันใกล้ค่ำท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นพ่อพร้อมภรรยาไม่เห็นหน้าบุตรีและพี่เลี้ยง บังเกิดความเป็นห่วงและสังหรณ์ใจ เลยนำบ่าวไพร่ออกติดตามค้นหาและพบเสื้อผ้า เครื่องประดับแต่งกายของบุตรและพี่เลี้ยงกองอยู่บริเวณนั้น ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและภรรยาต่างโศกเศร้าเสียใจและสลดใจในการจากไปของบุตรสาวเป็นอย่างมาก และคิดว่าศพของบุตรสาวและพี่เลี้ยงคงถูกกระแสน้ำพัดจมอยู่ในโตน (วังน้ำตก) นี้เป็นแน่ ท่านเศรษฐีกรงมาศจึงตั้งรางวัลด้วยทองคำแท่งหลายร้อยชั่ง ใครก็ตามสามารถงมศพของบุตรสาวและศพพี่เลี้ยงเจอจะมอบทองคำแท่งให้เป็นรางวัล ซึ่งมีชาวบ้านและข้าทาสบริวารต่างพากันงมศพค้นหาจนแทบพลิกแผ่นดินก็ไม่มีใครพบศพบุตรสาวของท่านเศรษฐีและพี่เลี้ยงเลย ยังมีความโศกเศร้าเสียใจแก่ท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ ตลอดจนข้าทาสบริวารยิ่งนักท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นพ่อจึงคิดปั้นรูปต่างตัวของบุตรสาวและพี่เลี้ยง จึงได้ประกาศให้บรรดาผู้ที่มีความสามารถปั้นรูปเหมือนของบุตรีและพี่เลี้ยงแต่ปรากฏว่าบรรดาช่างจากสถานที่ต่าง ๆ ทราบข่าวต่างพากันเดินทางสมัครปั้นรูปเหมือนบุตรี จะปั้นให้เหมือนรูปบุตรีและพี่เลี้ยงได้ คือปั้นแล้วปรากฏว่าไม่เหมือนกันเลย เพราะช่างเหล่านั้นขาดความชำนานทางศิลป์เลยพากันปั้นไม่ได้เรื่องได้ราว เรื่องของเรื่องเลย ถึงองค์อัมรินทร์จอมเทพสรวงสรรค์ (พระอินทร์) ทรงตรัสเรียก พระวิษณุกรรมและได้มอบหมายหน้าที่ในการสร้างพระรูปเหมือนในการปั้นรูป เหมือนบุตรีและ พี่เลี้ยงตามเจตนารมณ์ ของท่านเศรษฐีกรงมาศได้ทำการอธิษฐานมา ซึ่งพระวิษณุกรรมเมื่อรับบัญชาจากพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์แล้ว ได้แปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าเข้าไปรับอาสา ท่านเศรษฐีกรงมาศสร้างรูปเหมือน บุตรสาว และพี่เลี้ยงให้ โดยพราหมณ์เฒ่าได้ทำเบ้าหล่อรูปเหมือนแล้วเคี่ยวหลอม ละลายทรัพย์สินเหล่านั้นเทลงในเบ้าและเมื่อแกะเบ้าออกมา ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปสวยงามมาก เป็นที่สบอารมณ์ชื่นชนของท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นพ่อ ตลอดจนข้าทาสบริวารเป็นยิ่งนักที่รูปหล่อของบุตรีซึ่งดูเหมือนมีชีวิตจริง ๆฝ่ายพราหมณ์เฒ่าเมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรีและพี่เลี้ยงเสร็จแล้วก็หายตัวไปเฉย ๆฝ่ายท่านเศรษฐีกรงมาศกับภรรยาเมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรสาวกับพี่เลี้ยงคล้ายทองคำสวยไม่มีที่ติแล้ว ท่านเศรษฐีกรงมาศผู้เป็นบิดากับภรรยาผู้เป็นมารดาได้นำพระพุทธองค์นั้นไปที่วังน้ำโตนที่บุตรีกับพี่เลี้ยงเสียชีวิต พร้อมกับพากันอธิษฐาน ว่าถ้าหากว่าบุตรสาวที่เสียชีวิตพร้อมกับพี่เลี้ยงได้ไปเกิดที่แห่งหนตำบลใดก็ขอพระพุทธรูปองค์นี้ได้ไปอยู่ที่นั้น แล้วท่านเศรษฐีกรงมาศกับภรรยาได้ทิ้งพระพุทธรูปทั้งองค์ลงในวังน้ำตกโตนแห่งนั้นและต่อมาปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์นั้นได้มาผุดที่วัดคีรีวงศ์ (หนองตะเคียง)วัดร่อนนาปัจจุบันจนกระทั่งได้มีเด็กเลี้ยงควายได้นำควายไปเลี้ยงและเอาเชือกไปล่ามไว้กับเกศของพระพุทธรูป ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตอไม้และตกกลางคืนเด็กคนนั้นเกิดเจ็บท้องและได้ฝันว่าที่ตนเอาเชือกไปล่ามควายนั้นไม่ใช่ตอไม้แต่เป็นเกศของพระ จึงได้เล่าเหตุการณ์ที่ตนฝันพร้อมกับปวดท้องให้พ่อแม่ฟัง รุ่งเช้าพ่อแม่พร้อมด้วยชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นได้พาไปสู่ทุ่งร้างที่เด็กเลี้ยงควายนำเชือกควายไปผูกกับเกศพระ ซึ่งพ่อแม่เด็กและชาวบ้านพากันขุดพบเกศพระ และลึกลงไปพบองค์พระแต่ไม่สามารถขุดเอาพระพุทธรูปขึ้นมาได้ และจู่ ๆ ที่ชาวบ้าน กำลังขุดพระพุทธรูปอยู่นั้นเด็กเลี้ยงควายก็สั่นขึ้น พร้อมกับมีเสียงพูดเป็นเสียงผู้ใหญ่ว่าถ้าต้องการนิมนต์พระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชานั้น ให้จัดพิธีพราหมณ์ ทำพิธีกรรมอัญเชิญพระสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์โดยชาวบ้านได้ช่วยกันจับด้าย 7 สี ดึงเบา ๆพระพุทธรูปองค์นั้นก็เคลื่อนขึ้นมาจากพื้นดินอย่างอัศจรรย์ ท่านกลางพระสงฆ์สวดพุทธมนต์ กล่าวว่านับเป็นเหตุมหัศจรรย์ท้องฟ้าเดือน 5 เปลวแดดร้อนจ้า กลับปรากฏการณ์ที่พื้นดินแห้งแล้งมาช่วง 2 เดือน ท้องฟ้ามืดครึ้มลงแล้วฝนตกลงมา เมื่อองค์พระพ้นพื้นดินฝนได้ชำระล้างดินที่องค์พระพุทธรูปจนสะอาดฝนจึงหยุดแสงแดดกลับส่องจ้าอันเป็นน่านมหัศจรรย์ยิ่งนัก ชาวบ้านได้พากันปิดทองกราบไหว้ และพราหมณ์ได้ทำพิธีอัญเชิญนิมนต์พระแม่เศรษฐีตามร่างทรงได้บอกเล่าความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้ ในพิธีซึ่งพระแม่เศรษฐีท่านได้รับนิมนต์ชาวบ้านที่นิมนต์ท่านให้มาเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ณ วัดร่อนนา ตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาจึงเป็นพระที่พึ่งของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชตลอดมา แต่ละวันจะมีประชากรทั้งใกล้และไกลเดินทามากราบไหว้บนบานต่อพระแม่เศรษฐีซึ่งจะสำเร็จไปทุกวันเมื่อประสบความสำเร็จที่บนบานเอาไว้ ชาวบ้านผู้ที่บนบานจะนำดอกไม้ธูปเทียนปิดทองคำเปลวและจุดลูกประทัดแก้บนจนเสียงดังสนั่นจนเป็นกิจประจำวันไปเสียแล้วด้วยพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาท่านเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีงานประเพณีต่างๆ ท่านจะถูกนิมนต์ไปเป็นองค์ประธานทุกครั้งไป ทราบเรื่องราวความเป็นมาของพระแม่เศรษฐีที่เล่ามาก็พอได้ประวัติย่อ ๆ ของท่านพอสังเขป ส่วนอภินิหารของท่านนั้นชาวร่อนพิบูลย์รู้ดี ไม่เฉพาะชาวร่อนพิบูลย์เท่านั้นที่เชื่อปาฏิหาริย์เกิดขึ้นจริง แต่ทุกครั้งที่มีประเพณีชักพระประจำปีของชาวร่อนพิบูลย์จะมีผู้คนที่หลังไหลกันมา เพื่อจะต้องชักพระแม่เศรษฐีให้ได้งานประเพณี "ลากพระ งานชักพระ หรืองานแห่พระ"เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ ที่พุทธศาสนิกชนอนุรักษ์ และสืบทอดมายาวนานแล้ว โดยเฉพาะอำเภอร่อนพิบูลย์นั้น ในปีหนึ่งๆ จะจัดขึ้นถึง 1 ครั้งเท่านั้น โดยจะจัดขึ้นเป็นการลากพระ จะมีการตกแต่งเรือพระให้สวยงามเพื่อประกวดกัน แล้วชักลากจากหมู่บ้านหรือวัด ที่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน แล้วมาชุมนุมกันในตัวที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์ในช่วงสาย หลังจากนั้นก็จะเข้าไปในวัดทำบุญกัน ที่ยังคงมีปฏิบัติสืบทอดกันอยู่ในทุกๆ ปีหรือจะจัดขึ้นหลังวันออกพรรษา 1 วัน หรือหลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งมีการเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนานว่า เนื่องจากวันนี้ จะเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จกลับสู่มนุษย์โลกทางบันไดทิพย์ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปมาแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์ จนสืบทอดมาเป็นประเพณีลากพระในท้องถิ่นทางภาคใต้สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับการลากพระ และไปเสียไม่ได้ก็คือ การทำต้ม หรือการนำข้าวเหนียวที่ผัดด้วยกะทิมาห่อด้วยใบพ้อ ซึ่งเป็นใบไม้ที่มีเฉพาะทางภาคใต้ จากนั้นจะทำเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วนึ่งให้สุก เพื่อเอามาใส่บาตร นำมาผูกรวมเป็นพวง พวงละ 3-5 ลูก เพื่อเอามาไว้ใส่บาตร ใช้ประดับเรือพระ หรือเป็นอาหารระหว่างการละเล่นในประเพณีลากพระ จนเป็นที่มาของคำโบราณที่พูดติดปากว่า "เข้าหน้าตอก ออกหน้าต้ม" ซึ่งมีความหมายคือ ในเวลาเข้าพรรษาชาวพุทธจะถวายตอกส่วนในเวลาออกพรรษา ชาวพุทธจะถวายต้ม ทั้งนี้ จะมีการอาราธณาพระพุทธรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ หรือปางอุ้มบาตร ในวัดร่อนนาจะเป็นพระแม่เศรษฐี ขึ้นมาประดิษฐานบนบุษบก หรือเรือพระ มีการทำพิธีอันเชิญพระเด็ดก่อนทุกครั้งมีการจัดการตีโพนก่อนวันลากทั่วตลาดร่อนพิบูลย์ การลากพระแม่เศรษฐีลากด้วยฐานไม่ธรรมดา ไม่มีล้อลากเหมือนวัดอื่นๆ การลากพระแม่เศรษฐี สมัยก่อนยังไงปัจจุบันยังคงเหมือนเดิม แต่เมื่อก่อนลาก 5-7 คน ฐานลากเป็นไม้ก็สามารถลากไปได้ แต่ปัจจุบันคนนับร้อยพันมีความศรัทธาเมื่อถึงประเพณีชักพระทุกคนมีความตั้งใจมาเพื่อลากพระแม่เศรษฐี สำหรับวัดอื่นๆ ก็จะหาช่างฝีมือที่มีความชำนาญ ช่วยกันตกแต่งให้สวยงาม เพื่อนำเข้าร่วมประกวดแข่งขัน นอกจากนั้น พุทธบริษัทในละแวกวัดที่จะช่วยกันทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ โดยบางวัดอาจใช้เวลาตกแต่งนานเป็นแรมเดือน และใช้งบประมาณนับหมื่นนับแสนบาทเลยทีเดียวปัจจุบันได้มีการดัดแปลงจากเรือ มาเป็นรถ หรือล้อเลื่อน เพื่อความสะดวกในการชักลากมาตามถนนหนทาง แล้วนิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นๆ ขึ้นนั่งประจำเรือพระ จากนั้นก็จะมีการลากพระเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธได้ออกมาร่วมกันทำบุญและถวายต้ม โดยจะมีพุทธศาสนิกชน และศิษย์วัดเดินตามมาด้วย พร้อมกับบรรเลงเครื่องดนตรีประโคมไปตลอดทาง มีทั้งทับโพน กลอง ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง และฉาบ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ทั้งนี้ นอกจากจะมีการประกวดแข่งขันเรือพระแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย รวมทั้งการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ที่สำคัญก็คือ การประกวดทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น การเล่านิทานพื้นบ้าน การแต่งโคลง กลอน การร้องเพลงกล่อมเด็ก การขับบทหนังตะลุง และการแสดงบนเวทีของนักเรียนโรงเรียนต่างๆนอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว ได้เดินทางมาเที่ยวชมเรือพระซึ่งเข้าร่วมการประกวด ที่มีจำนวนมาก ซึ่งได้นำมาจอดรวมกันที่บริเวณที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์

Location
พระแม่เศรษฐี
No. 29/1 Moo 2 Soi - Road -
Tambon ร่อนพิบูลย์ Amphoe Ron Phibun Province Nakhon Si Thammarat
Details of access
-
Reference คุณยายสวาท อภิวันท์บงกช (ยายตา)
Organization -
No. 29/1 Moo 2 Soi - Road -
Tambon ร่อนพิบูลย์ Amphoe Ron Phibun Province Nakhon Si Thammarat ZIP code 80130
Tel. - Fax. -
Website -
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่