วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ/ผลิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน
๑.ไม้สักแผ่นบาง(วีเนีย)
๒.กระดาษแข็งสี
๓.กาวร้อน,กาวลาเท็ค
๔.ไม้บรรทัด
๕.คัตเตอร์
๖.กรรไกรซิกแซก
๗.เลื่อยฉลุ
๘.ผ้ากำมะหยี่สี่เขียว
ไม้ที่ใช้ทำเสาบ้าน ไม้ที่ได้ประกอบเป็นชิ้นส่วนของบ้าน เช่น ฝาบ้าน ประตู หน้าต่าง บันลมกระดาษแข็งที่ใช้ทำหลังคา ตัดด้วยกรรไรซิกแซก มาตราส่วน ๑:๑๐๐ ของบ้านเรือนไทยย่อส่วน
ขั้นตอน/วิธีทำ/ผลิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
๑.ตีผังรูปแบบแปลนโดยให้เส้นตัดระหว่างเสาห่างกัน ๓ ซม. ลงบนแผ่นไม้ อัดขนาด ๗ นิ้ว×๗ นิ้ว×๑๐ มม. ที่เตรียมไว้
๒.นำเสาเรือนไทย (A) จำนวน ๓ ต้น มาติดอะเส(คาน) ด้านหน้าระยะความสูงเท่ากับ ๒.๗๐ ซม. แบบรูปด้านเรือนไทย (พักรอไว้ให้กาวแห้ง)
๓.นำเสาเรือนไทย (A) จำนวน ๓ ต้น มาติดอะเส (คาน) ด้านหลังเสาระยะความสูงเท่ากับ ๒.๗๐ ซม. แบบรูปด้านเรือนไทย และติดอะเสระดับระเบียงให้มีความต่างระดับกัน (๓ มม.) อยู่ด้านหน้าเสาสูง ๒.๔๐ ซม. และเพิ่มเสาลูกกรง (C) จำนวน ๑ ต้น (พักรอไว้ให้กาวแห้ง)
๔.นำเสาระเบียงเรือนไทย (B) จำนวน ๓ ต้น มาติดอะเสด้านหลังเสาระยะความสูงเท่ากับ ๒.๔๐ และเพิ่มเสาลูกกรง (C) อีก ๑ ต้น ติดอะเสระดับชานเรือนด้านหน้าเสาสูง ๒.๑๐ ซม. (พักรอไว้ให้กาวแห้ง)
๕.นำเสาชานเรือน (C) จำนวน ๓ ต้น มาติดอะเสด้านหลังเสาความสูง ๒.๑๐ ซม.ระดับชานเรือน (พักรอไว้ให้กาวแห้ง)
๖.นำเสาต่างๆ ที่ติดอะเสเป็นแถวมาตั้งติดกาวให้ตรงจุดตัดของผังรูปแบบแปลนไล่เรียงจากเสาเรือนไทย (A) เสาระเบียง (B) และเสาชานเรือน (C) (แถวที่ ๑-๔)
๗.เมื่อกาวแห้งดีแล้ว เริ่มวางตงระดับชาน, ระดับระเบียงและเรือนไทยโดยวางตงบนอะเสให้ติดกับเสาในแต่ระดับก่อน ส่วนตงระหว่างห้องให้แบ่งระยะเท่า ๆ กันวางตงห้องละ ๒ ตัว ๘.เมื่อวางตงทั้งหมดแล้ว นำชิ้นงานที่เป็นพื้นมาติดกับตง
๙.เมื่อติดพื้นเสร็จแล้ว นำชิ้นส่วนที่เป็นฝาชนิดต่างๆ พร้อมเจาะช่องหน้าต่างก่อนติดฝา
๑๐.ติดแปหัวเสาของเรือนไทย (A) ด้านความยาวและติดจั่วบนยอดเสาโดยให้ลงระหว่างช่องของแปหัวเสา พร้อมทั้งติดแปหัวจั่วและแปด้านข้างของจั่วตามลำดับ ๑๑.ติดจันทันระเบียงฝาระเบียงซ้าย-ขวา และจันทันตัวกลางยึดติดกับเสาเรือน (A) กับวางบนเสาระเบียง (B) ให้มีความลาดตามระดับของฝาระเบียง ซ้าย – ขวา และติดแประเบียงกับจันทันระเบียง
๑๒.ติดค้ำยันเชิงชายเรือนไทย และค้ำยันกันสาดพร้อมทั้งติดเชิงชายโดยรอบ ของเรือนไทย และกันสาด พร้อมทั้งเชิงชายระเบียงมุมตัดหักเหของระเบียงให้เท่ากับเชิงชายเรือนไทย
๑๓.ติดปั้นลมเรือนไทยให้อยู่ในระยะของเชิงชายเรือนไทย
๑๔.ติดแผ่นหลังคา เริ่มจากหลังคาปีกนก ซ้าย-ขวา หลังคาระเบียงหลังคากันสาด ซ้าย-ขวา หลังคากันสาดด้านหลังและหลังคาเรือนไทย
๑๕.ติดครอบหลังคาและติดปั้นลมระเบียงซ้าย-ขวา ให้อยู่ในเดียวกับปั้นลม เรือนไทยมาจดปลายชายคาระเบียง
๑๖.ติดบันไดทางขึ้นตรงจุดลูกกรง ช่องประตู และเก็บงานในส่วนต่างๆ ให้เรียบร้อยหรือจำทำรั้วและส่วนประกอบต่างๆ บริเวณรอบพื้นบ้านก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล
เทคนิคการทำ/ผลิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ต้องวางผังก่อนลงมือปฏิบัติจริงทุกครั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.เป็นแบบจำลองก่อนสร้างบ้าน (โมเดล) ๒.เป็นของฝากของที่ระลึก