ถ้ำเบื้องแบบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทำเนียบ ถ้ำเบื้องแบบเป็นเพิงผาและถ้ำในเขาหินปูนลูกโดด สูงประมาณ๕๐ เมตร แหล่งโบราณคดีอยู่ห่างจากคลองมะเลาะประมาณ ๑๓๐ เมตร โพรงถ้ำและเพิงผาพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มีอยู่ ๓ จุด คือ ๑. ถ้ำบน (ถ้ำเบื้องบน) เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด หลังคาถ้ำสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๒ เมตร ๒. ถ้ำล่าง (ถ้ำเบื้องแบบ ๒) เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๒ เมตร ถ้ำหลังเขา (ถ้ำเบื้องแบบ ๓) เป็นเพิงผาเพดานต่ำสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๕ เมตร ถ้ำเบื้องแบบทั้ง ๓ ตำแหน่งพบหลักฐานการอยู่อาศัยประกอบกิจกรรมสองช่วงสมัย จากร่องรอยการทับถมของชั้นดินและโบราณวัตถุที่พบคือชั้นดินผิวหน้าพบหลักฐานของสมัยประวัติศาสตร์(รัตนโกสินทร์)และชั้นร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอยเศษภาชนะดินเผาหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำลายเชือกทาบ ประเภทหม้อก้นกลม หม้อสามขา หม้อมีสัน ภาชนะรูปจอกปาก
ผาย แท่นผิงด้วยรูปเขาสัตว์ แท่นรองหม้อ ลูกกระสุนดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียน เครื่องมือสะเก็ดหินแบบใบมีดขนาดเล็ก แกนหินรูปแท่งสี่เหลี่ยม ค้อน ทั่ง หินลับเครื่องมือขวานหินขัด ขวานหินยาว สิ่วหินขัด หินทุบเปลือกไม้เพื่อทำผ้า กำไลหินและถ่าน มีอายุประมาณ๖,๕๐๐-๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว ขวานหิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุคหินใหม่อาวุธหรือเครื่องมือที่ใช้จะทำด้วยหินและที่นิยมทำกัน คือขวานหิน ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กันและรูปร่างส่วนใหญ่เป็นขวานหินที่มีรูปเรียวปลายผายแบบหนึ่งหับแบบที่เรียกว่าขวานหินมีบ่า