ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 43' 41.9866"
13.7283296
Longitude : E 101° 12' 28.3226"
101.2078674
No. : 114372
วัดโพธิ์บางคล้า
Proposed by. - Date 20 September 2011
Approved by. ฉะเชิงเทรา Date 4 July 2012
Province : Chachoengsao
0 648
Description

วัดโพธิ์ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2286 ตั้งอยู่เลขที่ 236 ถนนประชาเนรมิต ตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์นิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2495 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางประกง สันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางเดินทับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน อาณาเขต ทิศเหนือจดแม่น้ำบางประกง ทิศใต้จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกจดถนนประชานิรมิต ทิศตะวันตกจดถนนประชานิรมิต มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2540

วัดโพธิ์บางคล้า มีมณฑปทรงจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ และเป็นวัดที่มีค้างคาวแม่ไก่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ค้างคาวแม่ไก่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่บินได้ มีลักษณะหน้าตาคล้ายสุนัขจิ้งจอก จมูก ใบหูเล็ก ตาโต ขนสีน้ำตาลแกมแดง ปีกสีดำเป็นพังผืดบาง ๆ ซึ่งอยู่ระหว่างนิ้ว นิ้วของค้างคาวจะยาวเกือบเท่าความยาวของลำตัว มีนิ้วหัวแม่มือสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ เล็บหัวแม่มือแหลมคม และโค้งได้อย่างเล็บเหยี่ยวมีไว้สำหรับจับหรือยึดกิ่งไม้ โตเต็มที่เวลากางปีกจะยาวประมาณ 3 ฟุต ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เวลานอนจะห้อยหัวลง และจะนอนในเวลากลางวัน พอพลบค่ำจะออกหากินตามป่า ตามสวน อาหารที่ชอบมาก ได้แก่ ลูกและใบอ่อนของต้นไทร ต้นโพธิ์ ต้นนุ่น และผลมะม่วงแก่ ฝรั่งแก่ ฯลฯ โดยกัดเคี้ยวและกลืนเฉพาะน้ำ ส่วนกากจะคายทิ้ง จึงทำให้มีการถ่ายมูลเป็นของเหลว พอรุ่งสว่างจะบินกลับมาที่เดิม โดยอยู่เป็นกลุ่มเฉพาะบริเวณวัดโพธิ์ ไม่ว่าแดดจะร้อนจัด หรือฝนตกก็จะไม่หลบหนีไปไหน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ 1.พระฉิน 2.พระจ้อย 3.พระผำ 4.พระคล้อย 5.พระเช้ง 6.พระพอก 7.พระแฉ่ง 8.พระครูสุตาลงกต (พระอาจารย์ต่วน ธมฺมโชโต) 9.พระครูโพธิ์คุณวัตร (แฉล้ม ยโสธร) 10.พระครูโพธิญาณวัตร

Category
Religious place
Location
วัดโพธิ์บางคล้า
Tambon บางคล้า Amphoe Bang Khla Province Chachoengsao
Details of access
Reference กระทรวงวัฒนธรรม
Organization กระทรวงวัฒนธรรม
Road ถนนบรมราชชนนี
Tambon บางบำหรุ Amphoe Bang Phlat Province Bangkok ZIP code 10700
Tel. 1765
Website www.m-culture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
Attapong 14 March 2013 at 16:34
นิราศปราจีน(แต่งก่อนขุดคลองแสนแสบ)เรียกบริเวณนี้ว่า นคราท่าทองหลาง
พระอุโบสถ หลังเก่าเป็นแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 (แบบที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ )คล้ายๆเก๋งจีนอ่ะครับ (ผมมีรูปอยู่)
พระวิหารพระนอน สมัยก่อนมีวิหารคต มีพระนั่งล้อมรอบ ประมาณ9องค์
พอรื้อวิหารคตออก ก็ได้นำพระเอามาไว้ในศาลา
ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 4องค์ อีกจำนวนหนึ่งน่าจะอยู่ที่วัด คุ้งกร่าง (มาจากบันทึกความทรงจำ)
ส่วนเรื่อง พระเจ้าตากก็แล้วแต่จะเชื่อ ครับไม่ว่ากัน



Attapong 14 March 2013 at 16:21
อันนี้ที่จำได้น่ะ ครับผู้ที่สนใจลอง เอาชื่อหนังสือที่กล่าวไว้แล้วลองหาข้อมูลดูครับ น่าสนใจมากๆๆ



Attapong 14 March 2013 at 16:16
ที่วัดโพธิ์ ผมได้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมศิลป์เข้าไปทำการอนุรักษ์แล้ว แต่พอดีช่วงนี้งานที่สำนักเขาเยอะเลยยังขึ้นทะเบียนไม่หมด
ผมได้แยกเอกสารโบราณไว้เป็นหมวดหมู่แล้ว
1.จดหมายเหตุ 3 เล่ม กฎหมายในครั้งอยุธยา ม.ศ.1565 -กฎหมายในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ - ตราสารเจ้าเมืองจันทบุรี ถึงเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา
2.ตำรายา (มีหลายเล่ม จำไม่ได้)
3.โหราศาสต์ เทพจร กามจร ฤกษ์ยาม
4.วรรณกรรม นิราศพระบาท(ฉบับ ลายมือไม่สมบูรณ์ )พระเจ้าเข้านิพาน
สมุดภาพพระมาลัยสูตร (ชำรุดแต่ สวยมาก)ในร.3



ccsao 5 March 2013 at 14:42
ในการร่วมแบ่งปันข้อมูลดี ๆ ถือว่าเป็นเรื่องดีต่อส่วนรวมและต่อหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งเป็นกระบวนการบูรณาการความหลากหลายของภาคส่วน ดังนั้น ในชั้นต่อไปข้อมูลนี้ควรเข้าสู่กระบวนการชั้นกลั่นกรอง อาจดำเนินการโดยระดับพื้นที่หรือ จว.และเข้าสู่คณะทำงานกลั่นกรองของจังหวัด เพื่อพิจารณาที่จะอนุมัติเผยแพร่ต่อไป ดังนั้น หากเผยแพร่ได้ ก็ควรปรับรายการอ้างอิงให้เป็นระดับเจ้าของข้อมูลที่อ้างอิงได้



ccsao 24 Febuary 2013 at 02:19
เรียน จนท.และหัวหน้างานศูนย์ข้อมูลกลาง (ฉช)
จากการแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ ไม่ทราบว่าทางผู้รับผิดชอบมีแนวปฏิบัติในการติดตามตรวจสอบความเห็นเป็นระยะ ๆ หรือไม่ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลจากการร่วม share ของผู้รู้ ไปพิจารณาทบทวน เปรียบเทียบ ตรวจสอบ และนำไปสู่การปรับปรุงให้สอดคล้องหรือถูกต้องแล้วแต่กรณีต่อไป โดยขอแนะนำให้ จนท.ได้ตรวจสอบทุกสัปดาห์ และนำไปพิจารณาดำเนินการ เพื่อปรับปรุงข้อมูลหรือไม่ อย่างไร ต่อไป



ccsao 24 Febuary 2013 at 02:02
ขอบคุณ คุณ attapong เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ช่วยนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ ประเด็น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงข้อมูลที่สอดคล้อง น่าเชื้อถือ หรือมีแหล่งอ้างอิงมากยิ่งขึ้น



Attapong 21 Febuary 2013 at 21:11
ตอนนี้ทางสำนักศิลปากร ภาค5 กำลังสำรวจและขึ้นทะเบียนวัตถุโบราณ ภายในวัดอยู่ ทางวัฒนธรรมจังหวัดลองเข้าไป หาข้อมูลดู คิดว่าน่าจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ปรากฏครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่