ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 48' 53.3974"
14.8148326
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 21' 45.0572"
100.3625159
เลขที่ : 115877
ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เสนอโดย สิงห์บุรี วันที่ 28 กันยายน 2554
อนุมัติโดย สิงห์บุรี วันที่ 25 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สิงห์บุรี
1 489
รายละเอียด

ชื่อประเพณีประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เทศบาลตำบลโพสังโฆ และสภาวัฒนธรรมอำเภอค่ายบาระจัน

ตำบล โพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ช่วงเวลาที่จัดช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปี จำนวน ๓ วัน

ประวัติความเป็นมา

คนไทย มีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์อยู่กับ สายน้ำ ธรรมชาติ และ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ เป็น พื้นฐานของศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต การสร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างชุมชน แต่โบราณกาลจะเลือก ทำเล ที่มี แม่น้ำ ลำคลอง และ แหล่งน้ำ เป็นสำคัญเพื่อใช้ใน การอุปโภค บริโภค การสัญจร การเกษตรกรรม และ ยังชีพ แห่ง ชีวิต และ ชุมชน สายน้ำ จึงเปรียบเสมือน สายโลหิต ของชีวิตคนไทย มาแต่ อดีต จวบจน ปัจจุบัน ถึง อนาคต เพราะ น้ำ คือ ชีวิต น้ำ ยังนำมาซึ่ง คติธรรม ในการดำเนิน ชีวิต ของชาวไทย ให้เข้าใจถึงสัจจธรรมในธรรมชาติของชีวิต แม่น้ำ ลำคลอง เป็น เส้นทางสำคัญในการสัญจรติดต่อไปมา ค้าขาย ซึ่งกันและกัน ของมนุษย์ ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์ อยู่กับ สายน้ำ มาแต่บรรพกาล เรือ จึงเป็น พาหนะสำคัญในวิถีชีวิตของชาวไทยที่เกิดจาก ภูมิปัญญาของบรรพชน มาแต่บรรพกาล ประดิษฐ์ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการ สัญจร ติดต่อ กันและกัน ระหว่าง บ้าน หมู่บ้าน และ ชุมชน ด้วยความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ เป็น พื้นฐานของศิลปวัฒนธรรม และ วิถีชีวิตอันดีงาม ของชาวไทยในฤดูน้ำหลาก เว้นว่างจากการเพาะปลูก ปักดำนาในเทศกาลงานบุญประเพณี บุญผ้าป่า งานปิดทองไหว้พระ บุญออกพรรษา เทโวโรหณะ งานบุญชักพระ ลากพระ บุญกฐิน เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก ซึ่งเป็น เอกลักษณ์ประจำชาติไทยก่อให้เกิด ประเพณี และ การละเล่นทางน้ำ อาทิ เล่นเพลงเรือ การแห่เรือ ในขบวนพยุหยาตรา-ชลมารค ใน การพระราชพิธี และ พิธีต่าง ๆ และ การแข่งขันเรือยาวประเพณี ซึ่ง เป็น กีฬาชาวบ้านใน ชุมชนชนบทไทย ซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของการพัฒนาชาติ ขึ้น ในทุก ลุ่มน้ำ อันเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสยามน้ำ สยามประเทศ มาจวบจน ทุกวันนี้จังหวัดสิงห์บุรีเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำ ๓ สายไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย เทศบาลตำบลโพสังโฆมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านซึ่งแม่น้ำน้อยเป็นสายน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิต อีกทั้งเป็นแหล่งกำเนิดขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การคมนาคมของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำน้อยในอดีตส่วนใหญ่จะใช้เรือเป็นพาหนะ ในการสัญจรไปมา โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเข้าพรรษาน้ำเหนือจะไหลบ่า ซึ่งวัดต่างๆที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย จะใช้เรือเป็นพาหนะในการบิณฑบาต วัดไหนมีพระภิกษุสงฆ์ เณร จำนวนมากเรือที่ใช้ก็จะยาว เรือในสมัยก่อนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ชาวบ้านไม่นิยมเป็นเจ้าของ ในการทำเรือชาวบ้านจะช่วยกันขุดเรือจนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้ถวายให้แก่วัด ในการจัดงานประจำปีของวัดต่างๆที่อยู่ริมแม่น้ำน้อยจึงมักจะนำเรือมาแข่งขันกัน ซึ่งในกาลต่อมาได้เป็นประเพณีการแข่งขันเรือยาวการแข่งขันเรือยาวนั้น ฝีพายแต่ละคนจะต้องใช้ความแข็งแกร่งของร่างกาย พละกำลังจิตใจ และจังหวะผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของวัดในแถบลุ่มแม่น้ำน้อย โดยเฉพาะการแข่งขันเรือยาวที่วัดกลางท่าข้าม ถือเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมากว่าร้อยปี โดยถือเอาช่วงเทศกาลกฐิน ตั้งแต่แรม๑ ค่ำเดือน๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากและเทศกาลออกพรรษา ซึ่งทางวัดกลางท่าข้ามได้จัดให้มีการแข่งขันเรือยาวสืบทอดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๓๐ ด้วยสภาพเศรษฐกิจบีบรัด ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของวัดกลางท่าข้ามได้ขาดช่วงหดหายไปสิบกว่าปี และกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งโดยนายประเสริฐ ธรรมศิริกาชัย นายกเทศมนตรีตำบลโพสังโฆ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นจึงได้เริ่มฟื้นฟูจัดการแข่งขันเรือยาวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔และในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นายประเสริฐ ธรรมศิริกาชัย นายกเทศมนตรีตำบลโพสังโฆ ได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยกำหนดว่าเรือลำใดที่ชนะเลิศติดต่อกัน ๓ ปีซ้อน จะได้รับถ้วยรางวัลเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ พระราชทานถ้วยรางวัลเป็นรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี เทศบาลตำบลโพสังโฆ จำนวน๒ ถ้วยรางวัลคือ รางวัลชนะเลิศ ประเภทเรือยาวใหญ่ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๘/๓๐๔๘ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ และรางวัลชนะเลิศ ประเภทเรือยาวเล็ก ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๘/๔๔๗๗ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ จังหวัดสิงห์บุรีโดยอำเภอค่ายบางระจันเทศบาลตำบลโพสังโฆสภาวัฒนธรรมอำเภอค่ายบางระจันและประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำน้อย ร่วมกันจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีเทศบาลตำบลโพสังโฆประจำปี ๒๕๔๗ ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ สนามแข่งขันลำแม่น้ำน้อยหน้าวัดกลางท่าข้ามอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ เทศบาลตำบลโพสังโฆ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ พระราชทานถ้วยรางวัลเป็นรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี เทศบาลตำบลโพสังโฆ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๒ ถ้วยรางวัลคือ รางวัลชนะเลิศ ประเภทเรือยาวกลางและ รางวัลชนะเลิศ ประเภทเรือยาวจิ๋ว ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๘/๔๐๖๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๗ โดยจัดการแข่งขันเรือยาวทั้งสิ้น ๔ ประเภทคือ ประเภทเรือยาวใหญ่ เรือยาวกลาง เรือยาวเล็ก และเรือยาวจิ๋ว การแสดงแสง เสียง กลิ่น และสื่อผสม ชุดแม่น้ำน้อยสายน้ำแห่งนิจนิรันดร์ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์และแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมบนผืนฝั่งแม่น้ำน้อย ตลอดจนการก่อเกิดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น, การประกวดกองเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ ฯ ซึ่งการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณี ประจำปี ได้ดำเนินการจัดแข่งขันตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

ความมุ่งหมายของประเพณี

๑) เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ตลอดไป

๒) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมของชุมชน

๓) เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปเกิดความรัก ความสามัคคีและหวงแหนศิลปะ

ศาสนาและวัฒนธรรมของบ้านเมือง และประเทศชาติ

๔) เพื่อส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าผลผลิตในชุมชน

๕) เพื่อนำมิติทางวัฒนธรรมเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและพัฒนาจิตใจอย่างมีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิต

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

แม่น้ำ ลำคลอง เป็น เส้นทางสำคัญในการสัญจรติดต่อไปมา ค้าขาย ซึ่งกันและกัน ของมนุษย์ ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ผูกพัน อยู่กับ สายน้ำ มาแต่บรรพกาล เรือ จึงเป็น พาหนะสำคัญในวิถีชีวิตของ ชาวไทยที่เกิดจาก ภูมิปัญญาของบรรพชน มาแต่บรรพกาลประดิษฐ์ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการ สัญจร ติดต่อ กันและกันระหว่าง บ้าน หมู่บ้าน และ ชุมชน เรือ เป็น พาหนะ ที่มี คุณสมบัติลอยอยู่ได้เหนือผิวน้ำ ที่มีบทบาท สำคัญใน วิถีชีวิต มาแต่ อดีต จวบจน ปัจจุบันทั้ง การยังชีพการคมนาคม - ขนส่ง -ค้าขาย และ การสงคราม ตลอดจนก่อให้เกิด เป็น วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามบนสายน้ำ ในฤดูกาล ต่าง ๆ ของ สยามประเทศ จนกลายเป็น มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ มาจวบจนทุกวันนี้ด้วยนิสัยรักสนุก ซึ่งเป็น เอกลักษณ์ประจำชาติไทยก่อให้เกิด ประเพณี และ การละเล่นทางน้ำ อาทิ เล่นเพลงเรือ การแห่เรือ ในขบวนพยุหยาตรา-ชลมารค ใน การพระราชพิธี และ พิธีต่าง ๆ และ การแข่งขันเรือยาวประเพณี ซึ่ง เป็น กีฬาชาวบ้านใน ชุมชนชนบทไทย ซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของการพัฒนาชาติ ขึ้น ในทุก ลุ่มน้ำ อันเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสยามน้ำ สยามประเทศ มาจวบจนทุกวันนี้

คุณค่าของประเพณี

ด้วยความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ เป็น พื้นฐานของศิลปะวัฒนธรรม และ วิถีชีวิตอันดีงาม ของชาวไทยในฤดูน้ำหลาก เว้นว่างจากการเพาะปลูก ปักดำนาในเทศกาลงานบุญประเพณี บุญผ้าป่า งานปิดทองไหว้พระ บุญออกพรรษา เทโวโรหณะ งานบุญชักพระ ลากพระ บุญกฐิน เป็นต้น ด้วย นิสัยรักสนุก ซึ่งเป็น เอกลักษณ์ประจำชาติไทยก่อให้เกิด ประเพณี และ การละเล่นทางน้ำ อาทิ การเล่นเพลงเรือ การแห่เรือ ในขบวนพยุหยาตรา-ชลมารค ใน การพระราชพิธี และ พิธีต่าง ๆ และ การแข่งขันเรือยาวประเพณี ซึ่ง เป็น กีฬาชาวบ้านในชุมชนชนบทไทย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาชาติขึ้น ในทุก ลุ่มน้ำ อัน เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสยามน้ำ สยามประเทศมาจวบจนทุกวันนี้

การสืบทอดประเพณี

เรือยาว เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เป็นกีฬาชาวบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงาม แห่งความผูกพันธ์ระะหว่าง สายน้ำ กับ ชีวิต เรือ กับ ชีวิต บนพื้นฐานของ ความศรัทธา เลื่อมใส ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันนำมาซึ่งความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของ บวร ซึ่งแปลว่า ประเสริฐ อันได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่ง เป็น องค์กรพื้นฐานของชุมชนชนบทไทย และเป็น หัวใจสำคัญของ การพัฒนาชาติ ความล้มเหลวในการพัฒนาชนบท นำมาซึ่งปัญหาสังคมนานับประการ ชนบทไทย คือ หัวใจของชาติ เรือยาวประเพณี มีวิวัฒนาการมาจาก วิถีชีวิต มาสู่ ประเพณีอันดีงาม และ การกีฬา จากการแข่งขัน ระดับคุ้มบ้านคุ้มวัด บ้านใกล้เรือนเคียง ด้วยการนำเอา เรือ ซึ่งเป็น สมบัติของ วัด และ ชุมชน ไปขึ้นแรง แข่งขันสืบสานประเพณีในเทศกาลงานบุญประเพณีในเทศกาลต่างๆ เป็นประจำทุกปี มีรางวัล เป็น ผ้าแพรผ้าห่มพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เพื่อนำไปประดับโขนเรือที่ชนะ บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ทีมเรือและคุ้มบ้านคุ้นวัดที่ได้รับเป็นยิ่งนัก หรือ วิวัฒนาการมาเป็น ผ้าขาวม้า นาฬิกา น้ำมันก๊าดแต่โบราณ จนกลายมาเป็น ขันน้ำพานรอง และ ถ้วยเกียรติยศ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโล่ และ ถ้วยพะราชทานเป็นเกียรติยศสูงสุดของการแข่งขัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่ กีฬาชาวบ้าน เป็นยิ่งนัก

สถานที่จัดณ สนามแข่งขัน ลำแม่น้ำน้อยหน้าวัดกลางท่าข้ามอำเภอค่ายบางระจัน

จังหวัดสิงห์บุรี

สถานที่ตั้ง
เทศบาลตำบลโพสังโฆ
ตำบล โพสังโฆ อำเภอ ค่ายบางระจัน จังหวัด สิงห์บุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เทศบาลตำบลโพสังโฆ
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลโพสังโฆ
ตำบล โพสังโฆ อำเภอ ค่ายบางระจัน จังหวัด สิงห์บุรี รหัสไปรษณีย์ 16130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่