ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 25' 57"
16.4325000
Longitude : E 103° 30' 22"
103.5061111
No. : 119136
การสักเลกเมืองกาฬสินธุ์ในอดีต
Proposed by. อดิศรกาฬสินธุ์ Date 29 November 2011
Approved by. mculture Date 21 March 2016
Province : Kalasin
3 8139
Description

การสักเลกเมืองกาฬสินธุ์ในอดีต

การสักเลกเลก หมายถึง ชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ 2.5 ศอกขึ้นไป จนถึงอายุ 70 ปี การสักคือการเอาเหล็กแหลม แทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลังมือ

ทั้งหัวเมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.2392 มีเลกรวมทั้งสิ้น 4,387 คน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกการสักเลก โดยให้มีการสำรวจสำมะโนครัวแทนการเก็บส่วยส่วย หมายถึง สิ่งของหรือเงินที่เลกหัวเมืองส่งให้แก่ทางราชการ เพื่อทดแทนการที่เลกไปรับราชการหรือถูกเกณฑ์แรงงาน สาเหตุที่เลกเมืองกาฬสินธุ์ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพ ฯ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนต่อรัฐบาลในฐานะที่ได้รับการคุ้มครองจากทางกรุงเทพ ฯ ในเชิง "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" รวมทั้งการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ อำนาจและรางวัลจากทางกรุงเทพ ฯ การเกณฑ์ส่วยเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.2373 – 2375 ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งข้าหลวงคือขุนพิทักษ์ และหมื่นภักดีมาสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ เพื่อกำหนดเกณฑ์ส่วยสำหรับหัวเมืองกาฬสินธุ์ผูกส่วย ผลเร่ง (หมากเหน่ง) เงิน กระวานและสีผึ้ง ต่อทางราชการ ถ้าหาสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ก็จะต้องชำระเงินส่วยคนละ 4 บาทต่อปี ธรรมเนียมการเกณฑ์ส่วยได้ตั้งเกณฑ์สำหรับเลกแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไว้เป็นอัตราที่แน่นอน เช่น กำหนดให้เลก 5 คน ต่อผลเร่งหนัก 1 หาบ ซึ่งคิดเป็นเงินได้ 5 ตำลึง ต่อมาในปี พ.ศ.2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงิน ค่าราชการ แต่สำหรับมณฑลอีสานยังคงเก็บจากเลกคนละ 4 บาทเช่นเดิม จนถึงปี พ.ศ.2468 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงินรัชชูปการ ซึ่งก็ยังคงเรียกเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม ครั้นถึงปีระกา เบญจศก ศักราช 1235 พ.ศ. 2416 พระยาไชยสมุทรหนูและกรมการเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกขอเพียคำมูล คนเมืองมหาสารคาม มาเป็นเจ้าเมือง โดยขอบ้านทันทาง แขวงเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมือง จึงโปรดเกล้าตั้งเพียคำมูล ขึ้นเป็นที่พระประทุมวิเศษ เป็นเจ้าเมืองขนานนามบ้านกันทางเป็นเมืองกันทะวิไชย(กันทรวิไชย)ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ครั้นถึงปีจอ ฉะศก ศักราช 1236 ราวพ.ศ. 2417 เจ้าคุณมหาอำมาตย์ชื่นขึ้นมาชำระ(ทวง-ถาม) เงิน ส่วย (ภาษี) เมืองอุบลราชธานี พอถึงปีกุล สัปดศก ศักราช 1237 ราวพ.ศ. 2418 ก็เกิดราชการทัพ(เกิดศึก)อ้ายฮ่อ ขึ้นที่เมืองหนองคาย เจ้าคุณมหาอำมาตย์ชื่น พาหัวเมืองทั้งปวงยกขึ้นไปตีทัพอ้ายฮ่อ ณ เมืองหนองคาย เมื่อเสร็จราชการแล้ว ก็จัดราชการอยู่เมืองหนองคายแล้วโปรดตั้งหลวงจุมพลพนาเวศมุง ให้ว่าที่ประชาชลบานเจ้าเมืองษาหัศขัน(สหัสขันธ์) ครั้นอยู่ถึงปีชวด อัฐิศกศักราช 1238 ราว พ.ศ. 2419 พระราษฎรบริหารเจ้าเมืองกระมาลาไสย(กมลาไสย) ถึงแก่อสัญกรรมเป็นเจ้าเมืองอยู่ได้ 11 ปี

Category
Etc.
Location
พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์
Road กาฬสินธุ์
Tambon กาฬสินธุ์ Amphoe Mueang Kalasin Province Kalasin
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
Reference สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ Email m.culture.ks@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ Email m.culture.ks@gmail.com
Road กาฬสินธุ์
Tambon กาฬสินธุ์ Amphoe Mueang Kalasin Province Kalasin ZIP code 46000
Tel. 043815805-6 Fax. 043811394
Website http://www.ksculture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่