ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 19' 51.9226"
17.3310896
Longitude : E 104° 20' 0.7541"
104.3335428
No. : 119835
ประเพณีเส็งกลอง
Proposed by. adaydesign Date 16 December 2011
Approved by. สกลนคร Date 29 September 2021
Province : Sakon Nakhon
0 1174
Description

กลองเส็งในที่นี้คือกลองที่ขุดด้วยไม้ ลักษณะปากกว้างก้นเล็ก ใช้หนังวัวหรือหนังควายแล้วแต่ความนิยมขึงหน้ากลองและก้นกลอง การเร่งให้หนังกลองตึงทำโดยการเร่งหรือคลายเชือกหนังที่ร้อยโยงแผ่นหนัง ส่วนวิธีการแข่งขันนั้นใช้วิธีนำกลองทั้งคู่ขึ้นไม้ขาหยังหันก้นกลองทั้งคู่เข้าหากัน ใช้ไม้โหมกระหน่ำด้วยแรงข้อและแขน ด้วยเหตุนี้กลองนี้ จึงแตกต่างจากกลองเส็งที่กลองหรือวางกลองโดยการนอนกับพื้นแล้วใช้ฆ้อนหรือ มือตีหน้ากลอง กลองเส็งดังกล่าวเท่าที่พบเห็นในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียงมี ๓ ขนาดคือ
1. กลองกิ่ง หรือ บางแห่งเรียกว่ากลองจิ่ง เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ หน้ากลองกว้าง ประมาณ ๕๐ ซม. ก้นกลองกลองกว้างประมาณ ๒๐ ซม. กลองชนิดนี้นอกจากจะใช้ตีแข่งขันแล้ว ยังนิยมวางกลองนอนกับพื้นแล้วตีท่าทางต่างๆ ว่าลายกลอง
2. กลองแต้บ หรือ กลองแตบ หรือบางแห่งเรียกว่ากลองแต้ เป็นกลองขนาดกลางหน้า ประมาณ ๓๐ ซม. ก้นกลองกว้างประมาณ ๑๐ – ๑๕ ซม.
3. กลองแตบ หรือ กลองแซ่ เป็นกลองที่มีขนาดเล็กกว่ากลองแต้บ ไม่นิยมนำมาเส็งเท่า กลองแตบ

การเส็งกลอง
คำว่า “เส็ง” แปลว่าการแข่งขัน การเส็งกลองคือการแข่งขันหรือประกวดตีกลองนั่นเอง กีฬาเส็งกลองในปัจจุบันจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญไม่มากนัก หากไม่สนับสนุนฟื้นฟูขึ้นมาแล้ว กีฬากลองเส็งก็อาจหมดไปเช่นเดียวกับกีฬาพื้นบ้านหลายสิบชนิดที่มีเขียนไว้ในหนังสือเก่า
โดยข้อเท็จจริงการเส็งกลองช่วยสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวบ้านเป็นอย่างดี เพราะต้องมีการฝึกซ้อมและเข้าแข่งคณะหรือทีละหลายคน ในด้านสุขภาพร่างกาย ผู้ตีกลองเส็งต้องมีกำลังแขน ข้อมือและความทรหดอดทนเป็นเลิศจึงสามารถเอาชนะคูต่อสู้ในแต่ละรอบได้ นอกจากนี้การเส็งกลองยังช่วยให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และมีเพื่อนฝูงต่างหมู่บ้านอีกด้วย
สนามเส็งกลอง มักจะจัดในบริเวณที่กว้างขวาง เช่น ลานวัดหรือสนามกีฬา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมการแข่งขันได้สนุกสนานและเชียร์ฝ่ายที่ตนสนับสนุน ผู้จัดการแข่งขันจะทำไม้ขาหยั่งสามขา ที่เรียกว่า “ขาดุ่ง” ตั้งไว้สำหรับกลองเส็ง ๒ คู่ ที่ทำการแข่งขัน ความสูงของขาหยั่งนี้สูงพ้นศีรษะพอที่จะให้ยืนตีกลองได้ถนัดมือ การแต่งกายของผู้เส็งในสมัยโบราณแต่งตัวรัดกุม นุ่งผ้าเตี่ยวเหน็บชายผ้า ปล่อยให้เห็นลายสักที่ขาเป็นรูปสัตว์หรือลวดลายพฤกษา ไม่สวมเสื้อเพื่ออวดกล้ามเนื้อที่แผ่นอกและลำแขน บางคนโพกผ้ายันต์หรือผ้าขาวม้า แต่ในปัจจุบันผู้เส็งกลองเพียงแต่งตัวให้รัดกุมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าเส็งกลองมักจะเป็นผู้ที่ได้ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี มีกำลังแขนและกำลังข้อมือเพราะการสปริงข้อมือเป็นสิ่งสำคัญ

ไม้ตีกลองเส็ง
ใช้ไม้เหนียวไม่แตกง่ายหักง่าย ไม้ที่มีคุณภาพเช่นนี้ เช่น ไม้มะขาม ไม้เหมือดแอ่ ไม้เค็ง ไม้เหล่านี้นามาเหลาให้กลมขนาดปลายนิ้วก้อย ยาวประมาณ ๑ ศอก ทุกคณะต้องเตรียมไม้สำรองไว้หลายคู่ ปลายที่ใช้มือจับต้องพับผ้าให้แน่นเพื่อมิให้เจ็บมือ หรือหลุดมือในขณะตีกลอง ส่วนไม้ตีกลองกระแตบหรือกลองแต้นั้นนิยมหุ้มตะกั่วที่ปลายไม้เพื่อให้เกิดเสียงหวีดหวิวเล็กแหลม แต่ก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ยืนชมรอบๆ ได้ถ้าไม้หัก

การเข้าน้ำกลอง
ก่อนที่จะนำกลองเส็งของตนเข้าแข่งขัน เจ้าของจะต้องนำกลอง ทั้ง ๒ ลูก ไปเข้าน้ำก่อน การเข้าน้ำ หรือการให้น้ำ คือการนำกลองมาวางที่รางไม้ไผ่ ๒-๓ ลำ เพื่อให้เกิดความสะดวกเมื่อกลิ้งกลอง
การเข้าน้ำกลองโดยทั่วๆ ไป คือการทำให้หนังหน้ากลองนุ่ม มีความยืดหยุ่นไม่ขาดง่ายและในขณะเดียวกันเมื่อหนังเริ่มแห้งหนังจะรัดตัวหน้ากลองจะตึงเสียงกลองจะดังแหลมสูงขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม การเข้าน้ำกลองก็มีเทคนิคมากมายไม่แพ้การทำตัวกลอง เช่น ถ้าเข้าน้ำมากเกินไปหนังกลองจะนุ่มเสียงกลองก็จะทุ้ม แต่ถ้าเข้าน้ำน้อยเสียงกลองก็จะแข็ง หนังกลองอาจฉีกขาดได้ เมื่อตีแรงๆ ในกลุ่มชาวข่าโซ่ ซึ่งนิยมกีฬากลองเส็งในเขตการแห่งานบุญตามเทศกาลทางศาสนา หรือ การตีเพื่อประกอบจังหวะฟ้อนต่างๆ เช่น ฟ้อนภูไทยสกลนคร ดังนั้นจังหวะกลองจึงช้าสง่างาม สอดคล้องกับการฟ้อนร่ายรำ และผู้ฟ้อนรำก็ยังสามารถนับจังหวะกลองได้ขณะที่นักดนตรีตีจังหวะพื้นฐานนั้น อาจตีจังหวะสอดแทรกได้หลายแบบทำให้เกิดเสียงกลองเป็นจังหวะย่อยๆ ขึ้น พร้อมกันนั้นก็อาจแสดงท่าทางที่เรียกว่า “ลายกลอง” ประกอบไปด้วย เช่น
1. เสือลากหาง ผู้ตีกลองจะส่งแขนทั้งสองไปด้านหลังขณะที่เอี้ยวตัวพร้อมกับตีไปที่หน้ากลองพร้อมกัน
2. ไม้ลอดขา ในขณะที่ตีกลองอาจพลิกแพลงยกแข้งยกขาข้างหนึ่งขึ้นและส่งไม้ตีกระทบกันในจังหวะว่าง
3. ไก่เลียบครก ผู้แสดงจะหมุนตัวรอบกลองแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องตีให้ถูกหน้ากลองลูกใดลูกหนึ่ง นับว่าเป็นท่าแสดงยากที่ต้องใช้ความชำนาญ
4. กาเต้นก้อน เป็นท่าเลียนแบบการกระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ผู้แสดงลายกลองจะแยกกลองสองลูกออกจากกันขณะที่ข้ามกลองลูกหนึ่งในท่ากระโดดมือก็จะต้องตีกลองทั้งสองลูกพร้อมกัน
5. กวางเหลียวเหล่า ผู้แสดงจะยื่นไม้ลักษณะไขว้กันไปข้างหน้า พร้อมกับหันหน้าไปตามทิศทางของไม่ในท่ากวางระวังภัยเมื่อย่างออกจากป่าละเมาะที่อาศัย
6. นกเขากระพือปีก ผู้เล่นลายกลองจะย่อตัวในท่านั่งตีกลองในจังหวะแทรกให้มีเสียงดังแตกต่างจากตีหน้ากลอง
7. เคาะหลังงูสิง ผู้แสดงลายกลองจะใช้ไม้เคาะที่ตัวกลองในจังหวะแทรกให้มีเสียงดังแตกต่างจากตีหน้ากลอง
8. ลิงไขว้หลัง ในท่านี้ผู้ตีกลองจะส่งไม้ไปข้างหลังตีกระทบกันให้มีเสียงดังในจังหวะที่ต่อจากจังหวะพื้นที่ลงหน้ากลอง
ลายกลองของชาวโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในปัจจุบันได้มีศิลปินชาวโส้ประดิษฐ์ท่าทางหรือลายกลองในขณะที่ตีกลองและแบ่งลายกลองออกเป็น 2 ชนิด คือ
ลายใหญ่ หรือ ลายหลัก มี 4 ลาย คือ ลายเสือลากหาง ไม้ลอดขา ไก่เลียบครก กาเต้นก้อน ลายย่อย หรือ ลายสลับ มี 4 ลาย ได้แก่ กวางเหลียวเหล่า นกกระพือปีก เคาะหลังงูสิง ลิงไขว้หลัง การเล่นลายกลอง “ไม่มีหลักเกณฑ์ว่าผู้ตีกลองจะเริ่มจากลายใดก่อน” และจะต้องแสดงด้วยลายใด “ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงาม” การเล่นลายกลองนี้ผู้เล่นอาจแสดงลายกลองพร้อมกัน 2 คนก็ได้ แต่ อาจต้องละเว้นลางลาย เช่น ไก่เลียบครก กาเต้นก้อน เพราะการเล่น 2 คนไม่อาจหลีกเลี่ยงการชนได้ในขณะที่แสดง การแสดงของชาวโส้มิใช่แสดงโดยทั่วๆ ไป แต่จะมีเฉพาะในงานที่ชาวโส้จัดขึ้น เช่น งานเทศกาลโส้รำลึก ที่มีชาวโส้และหมอเหยามาร่วมชุมนุมจำนวนมากที่บริเวณหน้าอำเภอกุสุมาลย์ ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ก่อนที่นักฟ้อนชาวโส้จะฟ้อนท่าต่างๆ เมื่อดนตรีบรรเลงขึ้นนักแสดงลายกลองก็จะแสดงลวดลายตีกลองให้ประชาชนในงานได้ชมความสามารถและลีลา
การแต่งกายของผู้แสดงลายกลอง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวปล่อยชายเป็นหาง ที่เรียกว่านุ่งผ้าแบบเสือลากหาง ไม่สวมเสื้อแต่ในปัจจุบันแต่งกายแบบพื้นบ้านทั่วๆ ไป เมื่อดนตรีบรรเลงทำนองชาวโส้แล้ว ผู้แสดงลายกลองก็จะก้มกราบรำลึกครูบาอาจารย์แล้วถือไม้ที่ตีกลองกิ่ง 2 ลูก ตีหน้ากลองพร้อมกันเป็นสัญญาณเริ่มแสดงลายกลองตามแบบฉบับของตน
ประเพณี “เส็งกลอง” เป็นหนึ่งในหลากหลายประเพณีที่ชาวอีสานในบางท้องถิ่นยังคงปฏิบัติ ยึดมั่นเป็นเกมกีฬาสร้างความบันเทิง และความสามัคคีให้เกิดกับสังคมตัวเอง เช่นเดียวกับประเพณีแข่งเรือ การแข่งขันชักว่าว การแข่งขันวิ่งควาย ฯลฯ
คำว่า “เส็ง” เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหมายว่า ประลอง หรือ แข่งขัน ประเพณี “เส็งกลอง” มักจะนิยมเล่นหลังจากเก็บพืชแล้วในแต่ละปี ส่วนมากจะประมาณตั้งแต่ เดือนสามถึงเดือนหก โดยจัดให้มีการเส็งในงานบุญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุญเดือนสาม ตรุษสงกรานต์ จนกระทั่งบุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหก
กลองที่ใช้เส็งส่วนมากทำด้วยไม้ประดู่ หน้ากลองที่ห่อหุ้มด้วยหนังควายที่มีความเหนียวเฉลี่ยอายูควายประมาณ 10 ปีขึ้นไป ขนาดของกลองสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ไม้สำหรับตีนั้นค่อนข้างจะทำกันอย่างพิถีพิถัน ส่วนใหญ่จะทำจากไม้มะขาม หรือเชือก เพราะมีความเหนียวและคงทนใช้ผ้าพันรอบถักเป็นลวดลายด้วยเชือกรอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการตีแล้วไม้หักจะได้ไม่ต้องกระเด็นไปถูกคนดูให้เกิดอันตรายและป้องกันไม่ให้เกิดเจ็บมือ ปลายของไม้จะหุ้มด้วยการหลอมตะกั่วให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่าไข่ไก่ ความยาวและขนาดของไม้ส่วนมากจะทำให้เหมาะมือของผู้ใช้เอง
ตามความเชื่อก่อนที่จะนำขบวนเส็งกลองไปเส็ง ณ ที่ใดก็ตาม หัวหน้าพร้อมลูกทีมจะต้องยกครู บูชาครู นิยมใช้ธูป 5 คู่ เทียน 5 คู่ และดอกไม้ 5 คู่ คนไนท้องถิ่นเรียกว่า “ขันห้า” จากนั้นก็จะยกขบวนเซ่นไหว้ปู่บ้านเมื่อก่อนการคมนาคมไม่สะดวกก็มักเดินด้วยเท้ามีขบวนกลองยาว พิณ แคน แห่แหนไปอย่างสนุกสนาน แต่ทุกวันนี้บางท้องถิ่นใช้รถอีแต๋นซึ่งมีทุกหมู่บ้าน
การเส็งกลองจะมีการแข่งขันกันเป็นคู่ๆ จะเอาทีมที่ชนะในแต่ละคู่ไว้เพื่อแข่งขันในรอบต่อไป การวัดว่าทีมใดเสียงดังที่สุดก็โดยการใช้ชามอ่างขนาดใหญ่ใส่น้ำจนปริ่มแล้วใส่ขันน้ำขนาดใบเล็กๆ ใส่น้ำพอประมาณ เมื่อเริ่มเส็งจะวางขันน้ำไว้ตรงกลางระหว่างทีมเข้าแข่งขัน ด้วยแรงสียงดังจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนขันน้ำในชามอ่างจะลอยไปตามแรงกระเพื่อมของน้ำ ถ้าขันน้ำใบนั้นลอยไปชิดของอ่างด้านใด ถือว่าทีมนั้นแพ้ แต่ทุกวันนี้หลายท้องที่นิยมใช้เครื่องวัดความดังของเสียงมาวัดเพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงมากขึ้น
กลองมีความผูกพันกับชาวอีสานและชาวไทยมาตั้งแต่โบราณกาล เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีนาฬิกาจะใช้กลองเพลตีให้สัญญาณ ส่วนกลองอีกหลายชนิดใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะท่วงทีต่างๆ เช่น รำเซิ้ง รำกลองยาว ฟ้อนกลองตุ๊บ หรืออื่นๆ ยังมีกลองอีกประเภทหนึ่งใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะในการแห่บั้งไฟ หรือบุญเดือนหก และใช้ตีแข่งขันกัน หรือเส็งกลองในงานบุญบั้งไฟให้งานบุญบั้งไฟมีสีสันและทวีความคึกคักขึ้น

Location
อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
Amphoe Kusuman Province Sakon Nakhon
Details of access
http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/kongseng.html
Reference นายเฉลิมชนม์ สมณะ Email tastsuya_desktop@hotmail.com
Organization คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Tambon ขามเรียง Amphoe Kantharawichai Province Maha Sarakham ZIP code 44150
Tel. 0880593436
Website www.it.msu.ac.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่