ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 8° 42' 28.9202"
8.7080334
Longitude : E 98° 26' 23.9348"
98.4399819
No. : 120026
หมวกใบร่มข้าว
Proposed by. อ้อย Date 21 December 2011
Approved by. พังงา Date 11 September 2022
Province : Phangnga
0 1035
Description

ประวัติความเป็นมาของ “หมวกใบร่มข้าว”

ย้อนไปเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ชาวบ้าน “ปลายพู่” หรือ “ปากพู่” หมู่ที่ ๔ ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ในปัจจุบัน ได้พบต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ใบรวบข้าว” หรือ “ใบร่มข้าว” นับเป็นไม้หายากเฉพาะถิ่น พบได้ตามป่าดิบชื้นในพื้นที่บริเวณเชิงเขาและหุบเขา ใบร่มข้าวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปหอก ใบติดกับกิ่งเป็นวงรอบกิ่ง ยาวประมาณ ๖๕ – ๑๐๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๔ - ๓๐ เซนติเมตร มีลักษณะพิเศษคือ ใบหนา ยาว ทนแดดทนฝน ชาวนาใช้ใบร่มข้าวในการประกอบพิธีรับขวัญข้าวก่อนเก็บเกี่ยวโดยใช้ส่วนของใบร่มข้าวหลายใบรวบข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อความเป็นสิริมงคลและเชื่อว่าจะสร้างความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งแก่วงศ์ตระกูลต่อไป

ต่อมาชาวบ้านปากพู่เลิกอาชีพทำนาเพราะได้ค้นพบทรัพยากรล้ำค่ามหาศาลในพื้นที่ คือ “แร่ดีบุก” จึงหันเหวิถีชีวิตไปประกอบอาชีพทำเหมืองแร่แทน ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้อพยพมาตั้งรกรากเพื่อทำเหมืองแร่ดีบุกในพื้นที่อำเภอกะปง ได้เล็งเห็นถึงคุณสมบัติของใบร่มข้าวที่มีความทนแดดทนฝน จึงได้นำมาประยุกต์คิดประดิษฐ์ร่วมกับหมวกจีนโดยใช้ใบร่มข้าวสานเข้ากับไม้ไผ่และเรียกหมวกนี้ว่า “หมวกใบร่มข้าว” ที่มีอายุการใช้งานได้นานถึง ๓ ปี แตกต่าง จากการใช้ใบไผ่มีอายุการใช้งานเพียง ๘ - ๑๐ เดือน เท่านั้น ซึ่งมีผู้สืบทอดรุ่นแรก คือ นางวิ้น อ๋องพู่ นางเอ๋า นางนุ้ยและนางแจ๋ม และเมื่อลูกหลานของบุคคลเหล่านี้ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปากพู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา จึงได้ถ่ายทอดการทำหมวกใบร่มข้าวให้เป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวแก่ นางจีน ตีเพ่ง, นางปีด ทิพย์รงค์, นางกุ่ย แซ่ตัน, นางยุพา บางพิเชษฐ์, นางหั้ง อ๋องพู่, นางสมจิตร บางพิเชษฐ์, นางยุพดี สร้อยสิงห์, นางต่วน ทิพย์รงค์, นางอุบล ทิพย์รงค์ และได้กลายเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบทอดสู่รุ่นลูกหลานจวบจนถึงปัจจุบันและได้รับการพัฒนา จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยอีกหนึ่งอย่างของจังหวัดพังงา

ปัจจุบันชุมชนบ้านปากพู่และชุมชนใกล้เคียงได้ถ่ายทอดการเรียนรู้วิธีการทำหมวกใบร่มข้าว โดยมีภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ นางต่วน ทิพย์รงค์ และนางสาวอุบล ทิพย์รงค์ เป็นผู้ฝึกอบรมให้แก่กลุ่มแม่บ้านจากหลายหมู่บ้าน กลุ่มนักเรียน และผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง เพื่อให้มรดกภูมิปัญญานี้คงอยู่คู่อำเภอกะปงสืบไป

ขั้นตอนการผลิต “หมวกใบร่มข้าว”

ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

๑. ใบร่มข้าว : เลือกใบที่มีลักษณะสวยงาม นำใบร่มข้าวมาตากแดดให้ได้ ๓ แดด จากนั้นลอกกาบให้เรียบร้อย

๒. ไม้ไผ่ : ตัดไม้ไผ่ให้ได้ขนาด นำมาจิกเป็นตอกเล็กๆ แล้วเหลาให้เรียบเสมอกันทั้งเส้น

๓. หวาย : หวาย ๑ เส้น มาผ่าให้ได้ ๔ เส้น แล้วเหลาให้เรียบเสมอกันทั้งเส้น

ขั้นตอนการทำ “หมวกใบร่มข้าขั้นตอนว”

๑. นำใบร่มข้าวที่ตากแดดจนแห้งสนิทแล้วมาตัดแต่งให้ได้รูปร่างสวยงามแล้วนำไปเข็ดน้ำ

๒. สานตอกไม้ไผ่ให้เป็นโครงหมวกตามแบบ นำใบร่มข้าวมาสอดในโครงด้านในและด้านนอก จากนั้นจึงขึ้นโครงขอบด้านข้างแล้วสานไม้ไผ่เก็บขอบให้เรียบร้อย

๓. สานหวายกับจอมหมวกให้เรียบร้อย

๔. ปัจจุบันนิยมนำแลคเกอร์มาเคลือบทับเพื่อความสวยงามและเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น

บทเพลง

บ้านปลายพู่ ถิ่นอยู่ของคนทำกิน

เดิมขุดลอกหน้าดิน สินแร่นำไปขาย

ทำเหมืองภูเขา ชาวจีนสร้างบ้านเรียงราย

คิดทำหมวกใช้ เหลือไว้แทนคุณแผ่นดิน

ภูมิปัญญา จัดหาได้บังฝนแดด

เมืองฝนแปด ปกบังจากถิ่นแหล่งหิน

ตากใบร่มข้าว ไผ่ไว้จักสานทำกิน

แร่หมดในดิน เหลือคู่ถิ่นคือหมวกที่สาน

ขึ้นลายใช้ตอก จากจอมสลอมปีกมา

สองชั้นหนีบใบไม้ป่า คุ้มค่าใช้ได้ทนนาน

ถักผูกยอดจอม สวยพร้อมด้วยหวายพื้นบ้าน

ถักรอบขอบนั้น ขายนั้นราคากันเอง

กลุ่มจักสาน งานหมวกใบร่มข้าว

ปากพู่ถิ่นเรา ยินดีต้อนรับขับเพลง

จากเดิมทำใช้ สอนให้ฝึกทำกันเอง

ร้อยเป็นบทเพลง กะปงหนึ่งผลิตภัณฑ์

Location
บ้านปากพู่
Moo 3
Tambon ท่านา Amphoe Kapong Province Phangnga
Details of access
สวนป้านุช - ลุงเปีย
No. 3/2 Soi โกะกะ-บางเ
Tambon ท่านา Amphoe Kapong Province Phangnga ZIP code 82170
Tel. 06 2805 3797, 09 703
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่