ที่ตั้ง วัดบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ระยะทาง เดินทางไปได้สองทาง ทางหนึ่งจากอำเภอห้วยทับทันไปทาง
ทิศเหนือ ไปยังบ้านปราสาท ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร
สภาพทั่วไป
ปรางค์ก่อด้วยอิฐสามหลังเรียงตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง
เดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันมีลักษณะผิดแปลกไปจาก
ปรางค์ขอม เนื่องจากมีการดัดแปลงให้เป็นธาตุเจดีย์ในสมัยหลัง ปรางค์องค์
กลางยังคงสภาพสถาปัตยกรรมขอมเฉพาะส่วนที่เป็นประตูทางเข้าคือ มี
ทับหลังหินทรายตั้งอยู่บนกรอบประตู ทับหลัง ดังกล่าวจำหลักเป็นภาพ
หน้ากาล หรือเกียรติมุข ภาพเหนือเกียรติมุขภาพลบเลือน ด้านข้างทั้งสอง
ของทับหลังเป็นภาพบุคคลยืนแยกเข่าอยู่ภายในซุ้มปรางค์ด้านข้างอีกสององค์ ถูกดัดแปลงโดยการก่ออิฐปิดประตูทึบทั้งสี่ด้าน แล้วทำพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ด้านหน้า ส่วนยอดถูกดัดแปลงเช่นเดียวกัน คงทิ้งชิ้นส่วนทับหลังศิลาทรายตกกระจัดกระจาย ชิ้นส่วนบางชิ้นมีภาพจำหลัก ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นภาพเล่าเรื่องการกวนเกษียรสมุทรส่วนกำแพงก่อด้วยศิลาแลงล้อมทั้งสี่ด้าน มีโคปุระอยู่ทางทิศใต้ และทิศตะวันออกเท่านั้น
อายุปราสาท สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ศิลปะแบบบาปวน สร้างต่อเติมในสมัยอยุธยาตอนปลายตามลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้างสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บกระดูกของผู้ครองเมือง ชาวบ้าน เรียกว่า "ธาตุ" บ้านที่ตั้งปราสาทชาวบ้านเรียกว่า บ้านโนนธาตุ อพยพมา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒