ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 4' 7.4971"
16.0687492
Longitude : E 102° 44' 8.8771"
102.7357992
No. : 122309
งานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่
Proposed by. arunsak_2502 Date 2 Febuary 2012
Approved by. Date 24 March 2012
Province : Khon Kaen
0 4011
Description

งานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่

“เถิงเมื่อยามเดือนยี่เข่า ให้พวกเฮาฟ่าวฟั่ง นำเข้าถวายพระสงฆ์ เอาแท่หมู่บุญ

กุศลสินำค้ำหมู่เฮาทุกมื่อค่ำ หากธรรมเนียมจังซี่ มีแท่แต่นานเด้อ พี่น้องเอ๊ย”

คำผะหยา ข้างต้น บ่งชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น “ไทอีสาน”

ที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมาแต่โบราณกาล จนถือเป็น “ฮีต”(ฮีต หมายถึง จารีต

มาจากศัพท์บาลีว่า จาริตต แปลว่า ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน) ฮีต ของคนอีสานจึงมีครบทั้งสิบสองเดือน เรียกว่า ฮีตสิบสองและยังมี คองสิบสี่ ด้วย (คอง หรือ คลอง มาจากศัพท์ ครรลอง แปลว่า แนวทาง,แบบฉบับ ภาษาพูดอีสานมักจะไม่มีตัวควบกล้ำ) การยึดมั่นในคำสอน

และการกระทำความดี จึงเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติตลอดมา

บุญเดือนยี่ หรือ บุญคูนลาน หรือ บุญคูนข้าว และ บุญกุ้มข้าวใหญ่ ถือเป็นฮีตหนึ่งที่ต้องปฏิบัติในเดือนยี่ บุญคูนลาน จะเป็นเรื่องส่วนตัวของเจ้าของนา ที่จะเซ่นไหว้ ทำขวัญข้าว ต่อแม่โพสพ ในนาข้าวหรือลานข้าวตามประเพณี ส่วนบุญกุ้มข้าวใหญ่ จะเป็นเรื่องส่วนรวมของประชาชนในหมู่บ้าน ที่จะร่วมทำบุญตามประเพณี ให้กว้างขึ้น เพราะบางคนบางครอบครัว ไม่ได้ปลูกข้าว บางครอบครัวยังมิได้มีการทำบุญโดยส่วนตัวที่ลานข้าว ก็จะได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีพร้อมเพรียงกัน โดยทุกครอบครัวจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวไว้แล้ว ออกมาทำบุญให้ทานที่วัด โดยนำมากองรวมกันที่บริเวณลานวัด เป็นกองใหญ่ ที่กองข้าวนั้นจะนำลำต้นไม้คูน (ชัยพฤกษ์) มาปักตรงกึ่งกลางกองข้าว แล้วโยงด้ายสายสิญจน์รองกองข้าว ส่วนประกอบอื่นเช่น บายศรีบนยอดเสา เครื่องเซ่นไหว้แม่โพสพ จะมีเครื่องคาวหวาน วางโดยรอบกองข้าวนั้น (คูน ในความหมายของไทอีสาน คือ ค้ำคูน ถือเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงปรากฏใบคูน นำมาประกอบพิธของชาวอีสานตลอดมา) เมื่อประกอบพิธี จะนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์เย็น พระสงฆ์รูปหนึ่ง จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับปัญญาบารมี ๑ กัณฑ์ ส่วนมากนิยมจัด ๓ คืน รุ่งเช้า จะมีการถวายอาหารบิณฑบาต จากนั้น พระสงฆ์อนุโมทนา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ประชาชนก็จะขอน้ำพระพุทธมนต์ส่วนหนึ่ง นำไปประพรมที่บ้าน เพื่อเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ ข้าว นา วัว ควาย ตลอดจนที่พักอาศัย ถือว่าจะมีแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้า

เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ ก็จะเป็นพิธีสู่ขวัญข้าว ผู้ประกอบพิธีหรือหมอสูตรขวัญ จะต้องแต่งกายชุดขาว กล่าวคำบูชาพระพุทธคุณ กล่าวอัญเชิญเทวดา กล่าวบูชาสรรเสริฐพระคุณของแก่โพสพ พระคุณของข้าว เสร็จแล้ว นำเอาน้ำพระพุทธมนต์ประพรมกองข้าวตามสมควร แล้วมีการถวายข้าวเปลือกแก่วัด (เพื่อให้วัดได้เก็บไว้บริโภคเมื่อยามขาดแคลน หรือข้าวเปลือกเหล่านี้ ก็จะได้แจกจ่ายให้ความช่วยเหลือแก่คนยากจน เมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ มิให้วัดนำข้าวนี้ไปขายเพื่อแปรสภาพเป็นปัจจัย) ในการนี้ พี่น้องประชาชนก็จะมารวมตัวกันร่วมทำพิธีจนเสร็จ

๓ ความมุ่งหมายของประเพณี

๑. เพื่อเป็นการอนุรักษ์จารีตประเพณีที่ดีงามสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษ

๒. เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ แก่ผู้ประกอบอาชีพหลักของชาวอีสาน และ

ผู้ประกอบอาชีพอื่น ว่าข้าวมีคุณแก่เรา ควรจะเห็นความสำคัญของข้าว

๓. เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อข้าว

๔. เพื่อแสดงออกถึงความร่วมรักสามัคคีประกอบการทำบุญตามประเพณี

๕. เพื่อเก็บข้าวเปลือกส่วนหนึ่งไว้ในวัด เมื่อมีความจำเป็นของหมู่บ้าน ย่อม

จะสามารถนำออกมาใช้ ช่วยเหลือแก่ผู้ที่เดือนร้อนได้

๔ ขั้นตอนปฏิบัติงานหรือพิธีกรรม

การประกอบพิธีงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ เริ่มจากจากในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านว่าจะทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำไปประชาสัมพันธ์แต่ละหมู่บ้านให้ประชาชนบริจาคข้าวเปลือกตามศรัทธา แล้วนำข้าวเปลือกมารวมกันเป็นกองใหญ่ ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ ในวันเปิดงาน แต่ละตำบล/ อบต. จัดทำปราสาทข้าว,พานบายศรี,และขบวนของดีในท้องถิ่น ประกอบขบวนแห่ไปตามถนนในตลาดอำเภอบ้านไผ่ ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

- การแห่ปราสาทข้าว ,พานบายศรี และ ขบวนแห่ของดีแต่ละตำบล

- เจริญพระพุทธมนต์เย็น (นิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป)

- ถวายอาหารบิณฑบาต (พระสงฆ์ชุดเดิม)

- ถวายจตุปัจจัย ไทยธรรม

- พระสงฆ์รูปหนึ่งแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับปัญญาบารมี ๑ กัณฑ์

(มีกัณฑ์เทศน์ ตามศรัทธา)

-พราหมณ์ (หมอสูตรขวัญ) อ่านโองการและสู่ขวัญข้าว (ผูกแขนพราหมณ์)

เครื่องบูชา

(บายศรี,เครื่องเซ่นไหว้ในกระทงตอง มีคาวหวาน)

-จัดทำบายศรี ตั้งวางบนส่วนยอดเสาไม้คูณ (ชัยพฤกษ์) กิ่งกลางกองข้าว

-ซวยใบตอง ๔ อัน

-เหล้าก้อง ๑ ขวด (เหล้าสี่สิบดีกรี)

-ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง

-น้ำเต็มเต้า ๑ เต้า

-ข้าวเต็มก่อง

-เผือกต้ม ๒ หัว

-มันต้ม ๒ หัว

-ขมิ้นขึ้น ๕ หัว

-ข้าวต้มตีนงัวตีนควาย(ข้าวต้มโคมธรรมดา) ๑ คู่

-ใบไม้มงคล (ใบคูณ ใบยม ใบยอ) อย่างละ ๕ ใบ

-ผลไม้ตามฤดูกาล ๕ ผล

-ธูป ๕ คู่ เทียน ๕ คู่

-ดอกไม้ขาว ๕ คู่

-ทั้งหมดจัดใส่พานหรือภาชนะ ตั้งวางล้อมรอบเสาไม้คูณ

-ด้ายสายสิญจน์ โยงจากปลายเสาลงมายังฐานกองข้าวเปลือกโดยรอบ

๕ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

ในการทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ มีความเชื่อว่า การนำข้าวจากทุ่งนามาสู่บ้านเรือนตน ควรจะมีการสู่ขวัญข้าว เพื่อสรรเสริญและขอบคุณแม่โพสพ จะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของนา ความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัวและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา ความเชื่ออีกอย่างก็คือ ในครั้งพุทธกาล ได้มีการนำข้าวไปทำบุญ ถือว่าเป็นกุศลสูงสุดแก่ผู้ทำบุญด้วยข้าวนั้น ชาวอีสาน มีความเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์ของข้าว เช่นเดียวกับคนไทยโดยทั่วไป ได้รับการสั่งสอนจากบรรพบุรุษว่า ไม่ให้เหยียบข้าว ไม่ให้เทข้าวทิ้ง ตลอดจนให้รู้จักใช้ข้าวอย่างประหยัด เมื่อกินข้าวอิ่มแล้วให้ยกมือไหว้ข้าวหรือขอบคุณแม่โพสพ นั่นแสดงให้เห็นถึงการรู้จักบุญคุณของข้าวซึ่งเป็นอาหารของเรานั่นเอง

๖ คุณค่าของประเพณี

ในการจัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ของอำเภอบ้านไผ่ เป็นจารีตประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาช้านานของชาว “ไทอีสาน”มาแต่โบราณ”จนถือเป็น “ฮีต”(จารีต)

ซึ่งเกิดจากคติตามความเชื่อที่ว่า การนำข้าวจากทุ่งนามาสู่บ้านเรือนตน ควรจะมีการสู่ขวัญข้าว เพื่อสรรเสริญและขอบคุณ แม่โพสพ จะก่อให้เกิดความสิริมงคลแก่เจ้าของนา

ความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัว และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา

๗ การสืบทอดประเพณี

ในการจัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ของอำเภอบ้านไผ่ ได้เห็นคุณค่าของประเพณีสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และมาเริ่มจริงจั้งเมื่อปี ๒๕๔๒ และถือว่าเป็นงานที่พี่น้องชาอำเภอบ้านไผ่ ทุกหมู่เหล่าจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจในอำเภอบ้านไผ่ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจอำเภอบ้านไผ่(กรอ.บ้านไผ่) และ สภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านไผ่ ร่วมรับผิดชอบและดำเนินการจัดงาน

๘ สถานที่จัด

การจัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ และหอประชุมอำเภอบ้านไผ่ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๒ มกราคม ของทุกปี

Location
งานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่อำเภอบ้านไผ่
Moo ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ ถนน เจนจบทิศ
Province Khon Kaen
Details of access
Reference นายอรุณศักดิ์ ศรีบุดดา Email arunsak2502@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบ้านไผ่
Moo ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ ถนน เจนจบทิศ
Province Khon Kaen ZIP code 40110
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่