พิธีกรรมสืบทอดผีฟ้า ไทยกูย หรือพิธีรับขัน หมายถึง การสืบทอดการเป็นร่างทรงของผีฟ้าจากมารดา ในความเชื่อของชาวไทยกูยบ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัวอำเภอวชิรบารมี เมื่อร่างทรงผีฟ้าถึงแก่กรรมไปบุตรหญิงคนใดคนหนึ่งจะถูกผีฟ้าเลือกให้ "สืบทอด" หรือ เรียกว่า "รับขัน" หากไม่รับขัน จะมีอันเป็นไปเช่นเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้
ประวัติตำนาน พิธีกรรมนี้ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ชาวกูยรับการถ่ายทอดต่อเนื่องกันมา จากรุ่นสู่รุ่น ตามความเชื่อ ดวงวิญญาณผีฟ้าจะต้องมีร่างทรงเพื่อลงมาทำพิธี “รำผีฟ้า” หรือเรียกว่า “แกลนมอ” ภาษาเขมร เรียกว่า “โจลมะม๊วด”
สาระสำคัญ เพื่อเป็นร่างทรงผีฟ้าและสืบทอดผู้กะทำพิธี "รำผีฟ้า"ในหมู่บ้าน
กลุ่มคนเชื่อ ไทยกูย บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
เวลา เมื่่อร่างทรงผีฟ้าคนเดิมถึงแก่กรรม ผู้ที่ผีฟ้าเลือกจะต้องทำพิธีรับขันต่อ
รูปแบบความเชื่อ ไทยกูยมีความเชื่อเรื่องผีฟ้าและวิญาญเมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะต้องทำพิธีกรรม "รำผีฟ้า" เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย และในหมู่บ้านจะมีร่างทรงผีฟ้าหากผู้ที่เป็นร่างทรงถึงแก่กรรมไปจะต้องมีผู้สืบทอด ผู้ที่ถูกผีฟ้าเลือกจะมีอาการเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้ จนกว่าจะทำพิธีรับขัน หรือสืบทอดผีฟ้า หากทำพิธีรับขันแล้วอาการเจ็บป่วยก็จะหายไป
สิ่งของประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เครื่องเซ่นไหว้ หมากพลู เหล้าขาว อาหารคาวหวาน กล้วย ขนม ผ้าถุง ดอกไม้ ธูปเที่ยน ฯลฯ
ปราชญ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน นางเมิ้ง สาลีจันทร์
การเรียนรู้และการถ่านทอด วิธีการถ่ายทอดนำบุตรหลานเข้าร่วมพิธี ถ่ายทอดด้วยพิธีกรรม และการรับฟังจากปราชญ์ผู้รู้